Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
สองพระ หรือฉลองพระ เป็นวรรณกรรมอานิสงส์
ต้นฉบับเขียนว่า “ศุรามศุ 1166 มุสิกะสังวัจฉะระมาฆะมาศ” เลขทะเบียนเดิม 33 กฏหมาย
ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อ “ศุภมัสดุ 1904 ศก ชวดนักษัตร เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ จันทวาร” สมเด็จพระมาราธิบดีษรีจักรพรรดิราช (ชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณ) มีพระราชโองการให้ตราขึ้น ระบุถึงลักษณะโทษและกำหนดบทลงโทษของชายหรือหญิงใดที่กระทำผิด เช่น ถ้าชายใดทำชู้ด้วยเมียกลางทาษี ให้ไม่ได้พระราชกฤษฏีทำ 5 ส่วน ยักเสีย 3 ส่วน 2 หญิงอันร้ายให้เอาเฉลวแปะหน้า ทัดดอกชบาแดงทั้งสองหู ร้อยดอกชบาเป็นมาลัยใส่ศีรษะใส่คอ ให้นายฉํวงตีฆ้องนำประจาน 3 วัน เป็นต้น
กล่าวถึงพระวินัยบัญญัติเทียบกับกฎหมายบ้านเมือง
สมุดไทยบันทึกพระธรรมคดีเกี่ยวกับกรรมฐาน และตำราพยากรณ์ ทำนายต่าง ๆ เช่น พระกรรมฐาน, บทพิจารณาสังขาร, ตำราห่วง, ตำราอัคนิโรธ, ตำราฤกษ์ใหญ่, ตำรายาตรา, ตำราดูโชค, กาพย์พระมาลัย
ประกอบด้วยนิทานพื้นบ้าน จำนวน ๑๘ เรื่อง
กัณฑ์กุมาร เป็น กัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/
กัณฑ์จุลพน เป็น กัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญ ชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/
กัณฑ์ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร 10 ประการ คือ ให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่าผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือ กษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญ คือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้ ------------ เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/
กัณฑ์มหาพน เป็น กัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรม พระเวสสันดร ------------ เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/
กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ เมื่อพระนางผุสดี เทพอัปสรจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช ครั้นเจริญวัยก็มีสิริรูปงามสมตามที่ปรารถนาไว้ เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ก็ได้รับอภิเษกให้เป็นมเหสีของพระเจ้าสัญชัยสิวิรัฐนคร แคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ 10 เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร วันหนึ่งพระนางผุสดี ทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทาง ของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมี นั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์" พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ 4-5 ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง 9 ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ 9 ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อ และดวงหทัย เพื่อมุ่งพระโพธิญาณ ในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ ครั้นถึงวัย 16 พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา 18 แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์ และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึง ห่วงทองบริสุทธิ์ เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล 7 วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัยนาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง 8 พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุง บรรดาชาวนคร เห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง 8 คน แต่พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดรพระราชทานช้างให้พวกตนแล้ว เมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้น แต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด ---------- กัณฑ์หิมพานต์. จาก https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/mahachat/chadok_02.html
กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ เมื่อพระนางผุสดี เทพอัปสรจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช ครั้นเจริญวัยก็มีสิริรูปงามสมตามที่ปรารถนาไว้ เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ก็ได้รับอภิเษกให้เป็นมเหสีของพระเจ้าสัญชัยสิวิรัฐนคร แคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ 10 เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร วันหนึ่งพระนางผุสดี ทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทาง ของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมี นั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์" พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ 4-5 ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง 9 ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ 9 ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อ และดวงหทัย เพื่อมุ่งพระโพธิญาณ ในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ ครั้นถึงวัย 16 พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา 18 แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์ และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึง ห่วงทองบริสุทธิ์ เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล 7 วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัยนาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง 8 พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุง บรรดาชาวนคร เห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง 8 คน แต่พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดรพระราชทานช้างให้พวกตนแล้ว เมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้น แต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด -------------- กัณฑ์หิมพานต์. จาก https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/mahachat/chadok_02.html
กัปปิยะ หมายถึง สมควร ควรแก่สมณะบริโภค ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ กัปปิยะการก หมายถึง ผู้ที่ทำของสมควรแก่สมณะ ผู้ที่ทำหน้าจัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค ขุททสิกขา จัดอยู่ในคัมภีร์อนุฎีกา คือปกรณ์ที่พระอนุฎีกาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายคัมภีร์ฎีกาให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งอนุฎีกานี้เป็นหลักฐานชั้น 4 รองจาก พระไตรปิฎก อรรถกา และฎีกา ศักราช จ.ศ. 1241 (พ.ศ. 2422) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับมีจารึก ขอบลานมีลวดลายตัดแต่ง ฉบับลานดิบ มีการร้อยใบลานหลายใบติดกันให้หนาขึ้นเพื่อทำเป็นตัวแบ่งบท มีรอยปลวกกิน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 6 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ และวิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน)
หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า กาเผือก โทนแล มีอยู่ผูกเดียว มีอยู่ ๑๗ ใบหน้า ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวแก้ไขยัง เสตปญฺจอิสิรคนปุตฺตา อันสังวรรรณยังมูลสักขีประทีสตีนกา จาด้วยอันกดหมายชื่อแห่งสัพพัญญูพระพุทธเจ้า ก็บริบูรณ์บรมวลควรเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛”
หน้าแรก หัวลาน ระบุ “พระกายละคร” ท้ายลาน ระบุ “ลังสือไกรภูมิของหลวงตากา สร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้ได้ดังความปรารถนา ขอให้ กุสล กุศลอันนี้ ผู้ข้าได้สร้างพระไตรภูมินี้ จงไปเถิงลูกเมียญาติกาทั้งทั้งหลาย ขอให้ได้เข้าสู่นิพพานพร้อมกันทุกตนทุกตน ก็ข้าเทอญ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ıı กับทั้งข้าพเจ้าผู้ริจนาด้วยกัน ๔ คน ท่านมีใหญ่ องค์ ๑ ท่านมีน้อย องค์ ๑ ขอให้เป็นญาติติดกันทุกชาติ ๆ ทั้งชาตินี้แลชาติหน้า ตราบเท่าเข้าสู่นิพพาน ขอให้ได้พบพระศรีอาริยเมตไตยเจ้า องค์จักมาโปรดสัตว์นำเข้าสู่พระมหานครนิรพาน นิพฺพาน ปจฺจโย โห โห แล้วแล เจ้าข้าเอย ıı๛”
RBR_003_332 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ฯฯ หน้าทับเค้า กายพระนคร แแล ฯ ๛ ๏ รัสสภิกขุชม พร้อมกับด้วยโยมอยู่ โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแแล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พระยาจิตตราช” ลานแรก หัวลาน เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “วัดหน้า” และเขียนอักษรธรรมล้านนา “หน้า” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังธรรมเทศนาอันชื่อว่า กายนคร ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแแล ฯ ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเแด่เทอะ จบแล้วยามเมื่อบ่าย ๔ โมงค่ำ รัสสภิกขุชม สร้างไว้ปางเมื่อบวชเป็นภิกขุอยู่วัดดอนแจง ข้าขอกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดพ่อแม่ พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ เพราะว่า อยากได้บุญเต็มที่เขียนบ่ดีสักน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็หน้อย ทุพี่องค์ใดได้เล่าผิดก็ใส่หื้อจิ่มเทอะ ฯะ๛”
เอกสารโบราณฉบับนี้ลายมือสวยอ่านง่าย แต่ไม่ครบฉบับเนื้อหาขาดตอนต้นและตอนปลาย มีหน้าที่อักษรเลือนลางประมาณ 17 หน้า และหน้าสมุดไทยที่เขียนกลับหัว 5 หน้า