เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

ขันธนาม ผูก 1
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 1
RBR003-305ขันธนาม ผูก 1
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า ขันธนาม ผูกต้นนิมนต์ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกองค์ นิมนต์ช่วยถนี่ถนอมชักสายสยองอย่างหนึ่งช่วยเก็บไว้จิ่ม ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วก็ขี้บ่ปานแลนา ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้องขันธนาม ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯะ เสด็จแล้วยามตาวันบ่าย ๓ โมงกว่า ฯะ ปีมะเมีย เดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์แลนา ยังมีศรัทธาโยมหลวงอิ่มเป็นเจ้าใบลาน ฯ ยังมีศรัทธารัสสภิกขุปุย วัดนาหนอง ไปนำเอามายังหนังสือลาวมาแต่กวงลาด มาคัดออกไว้ยังเป็นลาวกึ่งยวนกึ่งบ่สู้ชัดเจนแท้ดีหลาย ฯ แล ยังมีศรัทธารัสสภิกขุทำ บ้านหัวนาไปนำเอามาจากวัดท่งหญ้าคมบาง เพราะว่ามาจำพรรษาอยู่กับทุอาวบุตรวัดบ้านโค้งดอย เพราะว่าได้สอบซ่อมกับเพิ่น ข้าก็บ่แตกฉาน ฯ แท้ ปัญญาก็หน้อยแลนา คันว่า ตกบ่ใคร่เพราะ แล้วช่วยเพิ่มเติมหื้อจิ่มเนอ ๚ ข้ามีศรัทธาสร้างจิ่ม เขียนจิ่ม พร้อมไปด้วยญาติโยมพี่น้องชู่ผู้ชู่ตน ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงทุกอันเทอญ ฯะ ศาสนาล่วงไปได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๖ สิบ ๒ พระวัสสา” (ตัวเอียง จารไว้ขอบด้านขวาของหน้าลาน) หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูกต้น ผูกต้น มี ๗ ผูก”

ขันธนาม ผูก 3
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 3
RBR003-307ขันธนาม ผูก 3
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น ขันธนาม ผูก ๓ คันว่า ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน นิมนต์ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกองค์ ช่วยตระนี่ตระหนอมเก็บไว้หื้อดีจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเอย ผมได้หันมานัก คำเดียวผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วขี้บ่ปานแลนา นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ข้าเขียนบ่งาม ฯ ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๓” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้อง ขันธนโพธิสัตว์เจ้า ผูกถ้วน ๓ ก็แล้วเป็นห้องเท่านี้ก่อนแล ฯ จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สขํ พลํ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม อนาคเต กาเล ฯะ๛ รัสสภิกขุจันทสุวรรณ อยู่บ้านหัวนา มีศรัทธาสร้างเมื่อ ฯ ศักราชล่วงได้สองพันสี่ร้อยหกสิบสองแลนา ฯะ๛”

ขันธนาม ผูก 4
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 4
RBR003-308ขันธนาม ผูก 4
ธรรมคดี

RBR_003_305-311 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๔ ขันธนู ผูก ๑ – ๗ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ธมฺมฑำอีแภฺ่น ฯ หน้าต้น ขันธนาม ผูก ๔ คันว่า ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน นิมนต์ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกองค์ ช่วยตระนี่ตระหนอมเก็บไว้หื้อดีจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเอย ผมได้หันมานัก คำเดียว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วขี้บ่ปานแลนา นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ข้าเขียนบ่งาม ฯ ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้อง ขัทธนาม ผูกถ้วน ๔ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ะ จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลนฺติ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม อนาคเต กาเล ฯฯะ๛ ศักราชล่วงไปได้ สองพันสี่ร้อยหกสิบสอง ฯ ปีมะแม เดือน ๙ แรมสิบค่ำ วันพะหัส ฯฯ” หน้าปลาย ระบุ “หน้าต้น ขันธนแลนายเหยท่านทั้งหลาย”

ขันธนาม ผูก 5
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 5
RBR003-309ขันธนาม ผูก 5
ธรรมคดี

RBR_003_305-311 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๔ ขันธนู ผูก ๑ – ๗ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น ขันธนาม ผูก ๕ คันว่า ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน นิมนต์ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วผมขออภัยโทษทุกพระองค์ ช่วยตระนี่ตระหนอมเก็บไว้หื้อดีจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเอย ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วขี้บ่ปานแลนายเหย ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล ธุวํ ธุวํ อนิจฺจํ อนตฺตา แก่ข้าแด่เทอะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๕” และปากกาเมจิกสีเขียว “จำไว้แน” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวขัทธนาม ผูกถ้วน ๕ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯะ๛ จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม ı ปีมะแม เดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ วันภะหัส แลนา ฯฯ

ขันธนาม ผูก 6
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 6
RBR003-310ขันธนาม ผูก 6
ธรรมคดี

RBR_003_305-311 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๔ ขันธนู ผูก ๑ – ๗ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น ขันธนาม ผูก ๖ คันว่า ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน นิมนต์ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกพระองค์ ช่วยตระนี่ตระหนอมเก็บไว้หื้อดีจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเอย ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วก็ขี้บ่ปานแลนานายเหย ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้ว ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บ่ดีสักหน่อยเหมือนปูยาด ฯ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๖” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้อง ขันธนาม ผูกถ้วน ๖ ก็แล้วเท่านี้ ฯ ก่อนแแล แล แล ฯะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ฯ อย่าไปด่าข้าเนอ เพราะว่าใจบ่ดี ใบลานก็บ่ใคร่ดีบ่พอแลนา ฯ”

ขันธนาม ผูก 7
วัดใหม่นครบาล ขันธนาม ผูก 7
RBR003-311ขันธนาม ผูก 7
ธรรมคดี

RBR_003_305-311 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๔ ขันธนู ผูก ๑ – ๗ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๗ ผูก” หน้าก่อนหน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๗” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น ขันธนาม ผูก ๗ คันว่า ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกพระองค์ ช่วยตระนี่ตระหนอมเก็บไว้หื้อดีจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเอย ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วก็ขี้บ่ปานแลนานายเหย โอ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม อนาคเต กาเลน ฯฯะ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๗” / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “ไม่มีใครจะมาเอาไปให้แก่อะธิบาย” ท้ายลาน ระบุ “ขัทธนชาตกํ นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบรมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ จบ ฯฯะ โอ้โห้ จบแล้วแหน่ ฯ จบยามเมื่อฬกาตีห้าโมงค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ เดือน ๑๐ แหม ๑๑ ปีมะแม พุทธศักราชล่วงไปได้สองพันสี่ร้อยหกสิบสอง เขียนปางเมื่อมาจำพรรษาอยู่วัดเขาลอยมูลโค ı รัสสภิกขุปุย ไปนำเอาหนังสือลาวมาแต่วัดกวงลาด มาคัดไว้เป็นคำยวนแล้วยังมีศรัทธาทำไปนำเอามาแต่วัดท่งหญ้าคมบางมาม้างไว้ในพระศาสนา ๕ พันวัสสา พร้อมไปด้วยโยมทัง ๒ คือว่า พี่น้องชู่ผู้ชู่คน ข้าผู้เขียน ชื่อว่า จันทสุวรรณ ทำ อยู่บ้านหัวนา ı ขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นที่แล้ว กับเจ้าของใบลานโยมหลวงอิ่มได้หกผูก ผูก ๗ นี้ ของทุอาวบุตรเพิ่น นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ฯ เขียนบ่ดีสักน้อยเหมือนปูยาดคันนา”

คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ
บ้านหมอเห สายโกสินทร์ คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ
NPT007-015คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ
ตำราเวชศาสตร์

คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ หรือตำรายาเกร็ด เล่มนี้ ได้บันทึกสูตรยาสมุนไพรแบบต่างๆ หลากหลายรูปแบบ มีทั้งยาต้ม ยาดอง ยานัตถุ์ ยาเหน็บ ยาสวน น้ำมันนวด ยาธาตุ ยาหอม ซึ่งสามารถแก้โรคต่างๆ ได้สารพัด ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวกับตา โรคบุรุษ อัณฑะบวม หรือสารพัดไข้ต่างๆ คัมภีร์เกร็ดพระโอสถนี้ ประกอบไปด้วย ยาต้มแก้เลือดอยู่ไฟไม่ได้, ยาต้มปลายไข้, ลมสันนิบาต, ยาต้มแก้เชื่อม, แก้กาฬภายใน, แก้หลังแข็ง, แก้คลั่ง, แก้ไข้ตาแดง, ยาแก้ไข้ซางแดง, ยาต้มแก้ไข้เรื้อรัง, ยาต้มตัดไข้, ยาต้มแก้ไข้ 3 ฤดู, ยาต้มแก้ไข้ตรีกะตุก, ยาต้มแก้ฝีมดลูก, ยาต้มแก้ไข้ครั่ง, ยาต้มแก้ประดงไข้, ยาต้มตัดรากไข้เสนียด, ยาต้มแก้สันทฆาต, ยาขับเลือดที่ติดสันหลัง, ยาต้มแก้ตานซาง, ยามหาสงคราม, ยาต้มแก้ดีเดือดดีพลุ่ง, ยาต้มแก้ไข้เหนือ, ยาต้มแก้ไข้หลังแข็ง, ยาต้มตานขโมยลงท้อง, ยาต้มกระทุ้งไข้, ยาต้มคุดทะราดเด็ก, ยาแก้คุดทะราดผู้ใหญ่, ยานัตถุ์แก้สันนิบาต, ยาแผ้วอากาศ, ยาเทวดาชุบตัว, อีดำอีแดง, รากสาด, ยามหากาฬ, ยาเหลืองนพรัตน์, ยาเหน็บ, ยาดองแก้หืด, กล่อน, ยาดองแก้ริดสีดวงลงปาก, ยากระจายเขาพระสุเมรุ, ยาจักรนารายณ์, ยาจุดฝีกาฬ, ยาต้มแก้ไข้กำเดา, ยาเทพอุดม, ยากล่อมนางนอน, ยาฝีในหู, ยาเทพนิมิต, ยากัดลูกนิ่ว, ยาเขียวปทุมคงคา, ยาต้มบำรุงและขับเลือด, ยารุพยาธิเด็กในท้อง, ยาแก้บิดครรภรักษา, ยากัดหนองฝีในท้อง, ยาต้มสุวรรณสังหาร, ลูกตายในท้อง, ยาโรคสำหรับบุรุษ, ยาต้มฝีมะคำร้อย, เข้าขอออกดอก, หนองในฝีมะม่วง, ยามะเร็งกรามช้าง, ยาธาตุบรรจบ, ยาทิพพไสยาสน์, พระวิษณุกรรม, บรรณเมศวร, ยามหาสีสว่าง, ยาแก้ริดสีดวงจมูก, ยาแก้โป้ยซี, ยาหลวงลุงแช่ม, ยาประสะขาว, ยาประสะเกสร, ตำราพระยาหงส์, ยาแก้สะอึก, ยาแก้ฝีมุตกิต, ฝีมดลูก, ยาทองเสมอหนัก, ยาเบญจนารายณ์, ยาจักรนารายณ์, ยาเหลืองแท่งทอง, ยาฝนแสนห่า, ยาเทพลำจิต, ยาไฟประลัยกัลป์, ยาญาณไตรโลก, ยาไฟบรรลัยโลก, ยาเขียวมหาประสะ, ตำราท่านหลวงคำวัดหงษ์, อาจพระธรณี, การถ่ายยาตามกำลังเทพจร, ยาสุมกระหม่อม, น้ำมันนวด, อัณฑะบวม, ริดสีดวงจมูก, ยามหาวิเศษโส, ยาแปรฝีร้าย, ฝีดาษ, ยาถ่ายแก้กระษัย, ยาคุมธาตุ, ยาถ่ายนารายณ์สังหาร, ยามหาไวยน้อย, ยาหอมกลาง, ยาหอมแท่งทอง, ยาต้มตัดไข็, ยาต้มแก้แปรไข้รากสาด, ยาธาตุ, เบญจกูล, ยาสวนเด็ก, ยาธาตุบรรจบ, ยาเขียวอนันตคุณ, อุปทม, ยาต้มแก้ธาตุพิการ, ยาธาตุจำเริญอาหาร, ยาต้มแก้ตัวบวม, ยาต้มแก้ฝีมะคำร้อย, ยามะเร็งคุทราช, ยารุพยาธิ, ต้อ, ต้อแดด, ต้อนกยูง, ต้อหมอก, ต้อกระจก, ต้อเนื้อ, ต้อสลัก, ต้อลิ้นหมา, ยาเทพสังฆาต, ยาพระอินทร์ทรงขรรค์, ยาทิพพเนตรพระอินทร์, ยานัตถุ์ต้อ, ยาต้มตานขโมย

คัมภีร์เชิญขวัญ
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คัมภีร์เชิญขวัญ
NPH001-045คัมภีร์เชิญขวัญ
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม

ขวัญ หรือ ขวน คือสิ่งที่เป็นมิ่งมงคลสถิตอยู่กับชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ชาวไทยคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับขวัญมาก และมีพิธีกรรมในการเรียกขวัญ ปลอบขวัญอยู่ทุกขั้นตอนของรอบชีวิตหนึ่ง ๆ เช่น สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/45 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “สูดขวน (สู่ขวัญ) : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4782-4787.

คัมภีร์แต่งคายเสียเคราะห์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คัมภีร์แต่งคายเสียเคราะห์
NPH001-046คัมภีร์แต่งคายเสียเคราะห์
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม

“คาย” หรือ “ค่าคาย” นั้น หมายถึง เงินค่ายกครู รวมทั้งดอกไม้ธูปเทียน อุปกรณ์อาหารคาวหวาน ข้าวของเครื่องใช้ในพิธีกรรมนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละพิธีกรรมนั้นเจ้าพิธีจะเป็นผู้กำหนดเงินค่าครู และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งรวมเรียกว่า “คาย” หรือ “ตั้งคาย” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/46 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา อ้างอิง “คาย : เครื่องบูชา.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 669-670.

คัมภีร์ป่าวเทพยดา
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คัมภีร์ป่าวเทพยดา
NPH001-042คัมภีร์ป่าวเทพยดา
ตำราโหราศาสตร์

ป่าวเทวดา คือ คำประกาศเชิญเทวดามาชุมนุมในพิธีกรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่กระทำกิจพิธีมงคลหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สะเดาะเคราะห์ เจ้าพิธี (ได้แก่ พระสงฆ์ หรือ เจ้าพิธี) จะกล่าวประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเทวดาในสากลพิภพมาร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย ดังที่ชาวภาคกลางจะใช้คาถาชุมนุมเทวดา ที่เรียกว่า “สัคเค กาเม จ รูเป …ฯลฯ” เมื่อประกาศเชิญเทพชุมนุมแล้วจึงเริ่มพิธีกรรมนั้น ๆ ต่อไป ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/42 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “ป่าวเทวดา, คำ : บทสวด.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2666-2668.

คัมภีร์มรณญาณสูตร
วัดบางช้างใต้ คัมภีร์มรณญาณสูตร
NPT005-017คัมภีร์มรณญาณสูตร
ตำราเวชศาสตร์

หน้าปกสมุดไทยเขียนชื่อเรื่องว่า คัมภีร์มรณญาณ กับอีกเรื่องหนึ่งแต่หน้ากระดาษชำรุดข้อความขาดหายไป คัมภีร์มรณญาณเล่มนี้มีเนื้อหาแตกต่างจากคัมภีร์มรณญาณสูตรของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา(NPT004-032-คัมภีร์มรญาณสูตร) ที่เกี่ยวกับบอกวิธีสังเกตนิมิตของผู้ใกล้ตาย แต่ฉบับวัดบางช้างเหนือนี้กล่าวถึง โรคธาตุพิการในแต่ละฤดู และตำรายารักษษโรคธาตุพิการดังกล่าว เมื่อตรวจสอบกับคัมภีร์มรณญาณสูตร เล่ม 2 ในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงแล้วพบว่ามีความคล้ายกันอยู่ แต่ฉบับวัดบางช้างเหนือมีเนื้อหาที่พิสดารไปกว่ามาก