เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 59 pages , Total amount : 1,870 Records , Total amount : 2 Resources.

ชนสันธะ ผูก 4
วัดใหม่นครบาล ชนสันธะ ผูก 4
RBR003-367ชนสันธะ ผูก 4
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “ชนสันธะ ผูก ๔ แล” / ลานแรก หัวลาน ระบุ “ชนสันธะ ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “ชนสนฺธชาตกํ สมตฺตํ สํวณฺณนา ชนสนฺธชาตก อันมีในทวาทสนิบาต ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ:๛ รัสสภิกขุบุร (บุญ?) บ้านเค้าม่วงเขียน ปางเมื่ออยู่วัดน้อยแคทราย แลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อย บ่เท่ากันสักตัว แลนาท่านเหย ข้าขอกุศลนาบุญหื้อข้าจิ่มเทอะเนอ กับทั้งเจ้าของใบลานจิ่มเนอ แล้วอย่าไปด่าข้าอยากใคร่ได้บุญเต็มทีแลพี่น้องบ้านทั้งทั้งหลายทั้งศรัทธาตาปู่เหย เอาบุญกับข้าเนอ แล้วข้าขอแผ่ผายไปหาบิดามารดาข้าจิ่มเทอะ ๛ เสด็จปีมะเส็ง เดือน ๖ แรม ๖ ค่ำ วันสี่ ธงชัย แลนาท่านเหย หน้าทับเค้า ชนสันธะ ผูกถ้วน ๔ แแล นายเหย ๚ ๛ จบแล้วเท่านี้ก่อนแลนา”

ชนสันธะ ผูกต้น
วัดใหม่นครบาล ชนสันธะ ผูกต้น
RBR003-364ชนสันธะ ผูกต้น
ธรรมคดี

หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จะนะสันทะ ผูก ๑” หน้าต้น ระบุ “ ชนสันธะ ผูกต้น มี ๔ ผูกกับกัน หนังสือวัดหนองบัวแล ๛” ลานแรก หัวลาน ระบุ “ชนสันธะ ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “ชนสันธะ ผูกต้น ก็สมมุติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล ๚ ชนสันธะ ผูกต้น หนังสือวัดหนองบัวแลท่านเหย ถ้วนถี่อาละเนอ ต้องพิจารณาดูหื้อถี่ถ้วนจริง จักรู้ได้เล่าพู้นเล่าเพ้ บ่รู้เรื่องราวดอกท่านเหย เป็นคำสอนถ้วนถี่ นักปราชญ์ผู้รู้ว่าม่วนเต็มทีเป็นร้างเป็นสาวฟังบ่ม่วนสักน้อย เขาบ่ชอบใจเขานา ฯฯ” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “วัดหนามพุงดอ”

ชมพูปติสูตร
วัดเจ็ดริ้ว ชมพูปติสูตร
SKN001-121ชมพูปติสูตร
ธรรมคดี

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

ชมพูปติสูตร
วัดเจ็ดริ้ว ชมพูปติสูตร
SKN001-032ชมพูปติสูตร
ธรรมคดี

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

ชูชก
วัดเจ็ดริ้ว ชูชก
SKN001-172ชูชก
วรรณคดี

กัณฑ์ชูชก เป็น กัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า ------ เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/

ชูชก
หอวัฒนธรรมลาวเวียง วัดโบสถ์ ชูชก
RBR004-189ชูชก
ธรรมคดี

กัณฑ์ชูชก เป็น กัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า ------ เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/

ณรงคจิตรชาดก
วัดท่าพูด ณรงคจิตรชาดก
NPT001-007ณรงคจิตรชาดก
วรรณคดี

ณรงคจิตรชาดก เป็นกลอนสวดที่ไม่พบที่มาของเรื่อง เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งเลียนแบบชาดก โดยผู้แต่งเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องชาดก คือใช้ชื่อเรื่องเป็นชาดกและเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงผลของบุรพกรรมซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ในชาติปัจจุบัน ตัวละครเอกจะใช้คำว่า “หน่อศาสนา” และ “โพธิสัตว์” และตอนท้ายมีประชุมชาดก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะผู้แต่งต้องการให้เห็นว่าเรื่องที่ตัวเองแต่งมีความสำคัญ น่าเชื่อถือ และได้อานิสงส์อีกด้วย ณรงคจิตรชาดกในต้นฉบับเอกสารสมุดไทยดำฉบับวัดท่าพูดนี้ มีเนื้อเรื่องบางตอนสลับที่กัน โดยเปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องในภาคผนวกของณรงคจิตรชาดกฉบับที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์แล้ว และสันนิษฐานว่าเกิดจากการคัดลอกที่คลาดเคลื่อนไป เพื่อความสะดวกในการอ่านและความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เรียบเรียงจึงขอสลับเนื้อเรื่องบางตอนให้ตรงกับฉบับที่นำมาสอบทาน และขอแก้ไข เพิ่มเติมคำหรือความที่คาดว่าน่าจะเขียนตกหล่นไปโดยจะใส่คำหรือความเหล่านั้นไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ