Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
เวสสันตรชาดก พระชาติสุดท้าย ในทศชาติชาดก ว่าด้วย พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1229 (พ.ศ. 2410) เดือน 12 แรม 6 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 32 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก
ปกหน้าจารอักษรไทยลงหมึกแดงว่า “ข้าพเจ้าพระทองศุขสร้างไว้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464 ขออุทิศกุศลอันนี้ไปให้แก่มารดา บิดา อันสู่ยังโลกโนนแล้ว นิพพาน ณ ปัจจะโยโหตุ ฯะ-ปีละกา” ต่อมามีจาร “พระทองศุข สร้างพระธรรมในศาสนา อุทิศกุศลไปให้แก่จีนบุญ นางสุด (บิดามารดา) และขอให้เป็นอุปนิสัยไปจนเข้าสู่พระนิพพาน”
สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเแปลยกศํพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1226 (พ.ศ. 2407) เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ วันจันทร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 23 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า สมภมิตร แลนายเหย ıı๛”,
วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถา ไตรภูมิวินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไตรโลกวินิจฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง เป็นต้น ปัจจุบันในวงการวรรณคดีเรียกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา เพื่อให้ต่างจากไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ช่วงเวลาที่มีการแต่งไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาขึ้นนั้นยังไม่พบไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ทั้งสองฉบับมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซึ่งหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เนื้อความของไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 8 ภาค คือ โอกาสวินาสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลกกถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา สภาพเอกสารชำรุดมากเหลือเพียงเล็กน้อยในส่วนที่เป็นภาพวาดเท่านั้น
สมุดภาพลายไทยต่าง ๆ ภาพสัตว์หิมพานต์ ลายแทงหยวก ฯลฯ
หน้าทับต้น เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีดำ “สมุทฺทโฆโสชาตกํ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สมุทฺทโฆโสชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังสมุทรโฆษชาดกก็แลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ หน้าทับเค้าพุทธโฆโส ผูกเดียวแล แลนายเหย รัสสภิกขุปูก เป็นศรัทธาเขียน ลลล รัสสภิกขุรีด เป็นศรัทธาใบลานถวาย พี่ปูกเขียนยามเมื่ออยู่วัดดอนมะโก ใจบ่ตั้ง มือบ่เที่ยง เพราะเพิ่งไปตอดห[า]ปลา ข้าพเจ้าหันสาวบ้านขอกฝายแลเหย อิเลยเคยคาย สาวบ้านเขาฝ้ายตกน้ำแม่ ขูดเงย บุญมาเงย บุญมีเงย ข้าเขียนบ่ดีตัวบ่งามสักหน้อยแลเจ้าที่ไหว้เหย ที่ตกก็ตกแล ที่ผิดก็ผิด รัสสภิกขุองค์ใดเทศนาก็ค่อยพิจารณาดูจิ่ม คันตกทัดใด ใส่หื้อจิมเนอ ๛ บ่เคยเขียนสักคำเทื่อเลย บ่เคยแท้แท้หนา XXXXX หนังสือพุทธโฆโสแลมาแต่บ้านวัดดอนทะโกแล ม่วนอาละแล ๛”
หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สัพพะสอน สัพพะสอน” ลานแรก หัวลาน ระบุ “สัะพะสอน” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้องสรรพสอน มีผูกเดียว ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ จบแล้วท่านเหย ยังมีศรัทธาชายจัน กับนางธอง (ทอง?) ก็พร้อมกับด้วยลูกเต้าชู่ผู้ชู่คน หาได้ยังใบลานมาหื้อภิกขุซึง เขียนก็ก็พร้อมกับด้วยญาติพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ขอเดชกุศลอันได้สร้างธรรมสรรพสอน กับนิพพานสูตร กับพระธรรมจอง กับอนุโลกศาสนา อันนี้หื้อเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานแก่ข้าพระเจ้าด้วยเถิด”
คำว่า “แจง” แปลว่า ขยายความ กระจายความ ใช้เรียกการเทศน์สังคายนาหรือเทศน์สอบทานพระธรรมวินัยโดยเฉพาะในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 นิยมเรียกการเทศน์ในลักษณะนี้ว่า “เทศน์แจง” ดังนั้น “การเทศน์แจง” คือการเทศน์เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา เนื้อหาของการเทศน์แจงคือขยายความข้อธรรมและข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อพอให้เป็นกริยาบุญ นิยมเทศน์ในงานศพของผู้ใหญ่ โดยถือว่าการเทศน์แจงเป็นบุญใหญ่ เป็นการรักษาพระธรรมวินัยไว้ เป็นการเลียนแบบการทำสังคายนาครั้งแรก ซึ่งมีผลทำให้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ “การสวดแจง” ก็คือการสวดสาธยายพระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรมโดยย่อโดยนิยมสวดในงานฌาปนกิจ อ้างอิง เทศน์แจง-สวดแจง. ข้อมูลจาก https://cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=776:2012-06-29-02-30-52&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=14 ภาพประกอบ : หน้าปกลงรักปิดทองลายดอกพิกุล ภาพวาดลงสีสวยงาม รหัสเอกสารเดิม : เลขทะเบียนเดิม 27