เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

มังคลัตถทีปนี ผูก 5
วัดใหม่นครบาล มังคลัตถทีปนี ผูก 5
RBR003-281มังคลัตถทีปนี ผูก 5
ธรรมคดี

RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๕ แล ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน และดินสอ “ผูก ๕” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิสีน้ำเงิน “มงคลทิพปลาณี ผูกถ้วน ๕ แล่” ท้ายลาน ระบุ “โวหารมังคลทีปนี ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนและ ฯ ปริปุณณาแล้ว ยามเวลาเข้ายาม ๒ ทุ่ม เดียน (เดือน) สิบ ๒ ขึ้น สิบ ๓ ค่ำ วันจันทร์ ก็บริบูรณ์และ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๕ แล เจ้าเหย ฯะ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)

มัทรี ผูก 9
วัดใหม่นครบาล มัทรี ผูก 9
RBR003-107มัทรี ผูก 9
ธรรมคดี

หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามัทรีเชียวหละ เป็นโยมฅำ นางหล้า เป็น[ผู้]สร้างไว้ในพระศาสนาห้าพันวัสสา” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะทรีเจี่ยวหล่า” ท้ายลาน ระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนาอันประดับประดาด้วยพระคาถาว่าได้ ๙๐ ทัส ก็แล้วเท่านี้๛” หน้าทับปลาย ระบุ “หน้าทับเค้ามัทรีเชียวราม่วนอาละปูดีฟังแลนาห๚ หนังสือทุอาวอั้น บ้านใหม่ไผ่ล้อมไม่ไผ่อ้อม ๒ แฟร(ควรเป็น ๒ แคว) ผู้สาวนอนแล แม่ร้างนอนผ่อ บ้านอยู่จ่อม่อริมทาง ปากบางคางสวย เพิ่นสร้างมหาชาติกับนี้ ขอหื้อได้กุศลจิ่มเทอะ” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “นะโม นะมัดสะกาน ผู้ข้าไว้(ไหว้)”

มัทรีป่าเพียว
วัดใหม่นครบาล มัทรีป่าเพียว
RBR003-106มัทรีป่าเพียว
ธรรมคดี

หน้าทับเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มัทรีป่าเพียวเทศขัก” และเขียนปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” ท้ายลานระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนายังมัทรีปริเจทอันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่าได้ ๙๐ ทัส ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ ยามบ่ายโมง ๑ กับ ๒๕ ภินิด แลเจ้าเหย รัสสภิกขุอินธสอนเขียน บ่ดีขัด อาวชายเหือน กับภริยาชื่อว่า นางนา อยู่ดอนกอก ก็พร้อมกับด้วยลูกหญิงลูกชาย ก็อุบายหาใบลานหื้อภิกขุอินธอง สร้างหนังสือมัทรีฉบับป่าเภียว ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อผู้สร้างผู้เขียน สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ หมู่ผู้ข้าทั้งหลายได้สร้างธรรมเขียนธรรม หมู่ข้าน้อยทั้งหลายก็พาเอากันปรารถนาเอาสัพพัญญุตญาณสิ่งเดียวแลเจ้าเหย เขียนบ่ดี สติบ่ตั้ง เพราะสาวบ้านเค้ามะคร้อ ครั้นว่ามันมาวัด มันเหลียวมาผ่อแต่หน้า ครั้นข้าบ่ผ่อก็อดบ่ได้ ครั้นข้าผ่อไป มันบิดหน้าหนี อีสาวอัปรีย์ช่างผ่อหน้าทุแลนา ขอหื้อมีประหญาปัญญาอันเฉลียวฉลาดชูตัวธรรม อย่าหื้อเป็นกรรมเป็นเวรแก่ข้า ขอหื้อบุญอันเขียนตัวธรรมนี้ไปลูบ(ลบ)ตัวกรรมตัวเวรอันกระทำมาหื้อเสี้ยงแด่เทอะ [นิพฺพา]น ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ”

มุทิงคเภรี
วัดน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มุทิงคเภรี
CMRU-CM-06-A-001มุทิงคเภรี
ธรรมทั่วไป

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ภิกษุทั้งหลายทูลขอให้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยกลองวิเศษ ดังนี้ ในเมืองพาราณสีนั้นแบ่งพื้นที่เป็น ๑๐๐ ส่วน ทุก ๑๐ ส่วน มีพระราชาปกครองอยู่ ๑ องค์ จึงมีพระราชาทั้งสิ้นจำนวน ๑๐ องค์ จึงเรียกพระราชาเหล่านั้นว่า “ทสราชา” ขณะนั้นในหิมพานต์มีโขลงช้างหากินอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งมีปูยักษ์อาศัยอยู่ หากช้างตัวไหนไปกินหรือเล่นน้ำในสระก็จะถูกปูยักษ์คีบจนตายแล้วกัดกินเป็นอาหารจนทำให้ช้างลดจำนวนลงไปมาก บรรดาช้างที่เหลือจึงต้องคอยดูแลกันและกัน เมื่อมีลูกช้างเกิดมาใหม่ ช้างทั้งหลายจึงคอยดูแลและปกป้องตลอดเวลา ลูกช้างจึงถามแม่ของตนจนทราบเหตุผลที่ช้างทั้งหลายต้องคอยมาดูแลปกป้องตลอดเวลา แต่วันหนึ่งลูกช้างนั้นได้ไปเล่นน้ำในสระจึงถูกปูเอาคีมคีบเท้าไว้ ลูกช้างจึงร้องเสียงดังด้วยความเจ็บปวด บรรดาช้างทั้งหลายและแม่ได้ยินจึงรีบมาดู แม่ช้างเกิดความสงสารและเป็นห่วงลูกจึงอ้อนวอนขอต่อปูยักษ์ว่าอย่าได้ทำร้ายลูกของตนแต่ปูยักษ์ยอม จนในที่สุดลูกช้างได้ใช้เท้า งวง และงาของตนต่อสู้กับปูยักษ์จนหลุดรอดมาได้ โดยตัวปูยักษ์ก็แหลกเหลวไปเหลือแต่คีม ๒ ข้าง โดยข้างหนึ่งพระอินทร์ได้ลงมาดูแล้วนำไปไว้บนสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งคีมอีกข้างหนึ่งไว้ ต่อมาเมื่อถึงฤดูน้ำหลากมาก็ได้พับคีมปูยักษ์นั้นไหลตามน้ำมาจนถึงเมืองพาราณสี เมื่อชาวเมืองไปพบเข้าจึงไปแจ้งกับพระญาทสราชาๆ จึงให้คนทั้งหลายนำมาสร้างเป็นกลองมงคลประจำเมือง เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงลองตีกลองดังกล่าว ซึ่งเสียงกลองนั้นดังกึกก้องกังวานไปไกลถึง ๑๒ โยชน์ ชาวเมืองทั้งหลายจึงจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อตีกลองมงคลนั้นคราใดก็จะมีผู้คนหลั่งไหลมาประสุมชุมนุมกันอย่างมากมาย ต่อมาชาวเมืองได้เปลี่ยนสลักไม้ที่ยึดหนังกับคีมปูเป็นสลักเงินและทองคำ ครั้นเมื่อเสร็จแล้วลองตีดูก็พบว่าเสียงกลองไม่ได้ก้องกังวานไพเราะเสนาะหูเหมือนเดิมแต่อย่างใด พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่ากลองมงคลที่ทสราชาได้สร้างไว้แต่เดิมที ต่อมาเมื่อเปลี่ยนจากสลักไม้เป็นเป็นสลักเงินและทองคำ รวมทั้งประดับตกแต่งกลองมงคลคีมปูใหม่ ทำให้เสียงกลองนั้นไม่ก้องกังวานเหมือนเดิม เปรียบเหมือนพระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้แล้วเป็นมงคลและถูกต้องดีงามแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้คนทั้งหลายมาประสุมชุมนุมกันเพื่อรับฟังและนำไปปฏิบัติให้ตนเองพ้นจากทุกข์ แต่ภิกษุสามเณรบางกลุ่มนำไปดัดแปลงตกแต่งใหม่ ทำให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม หลังการพระธรรมเทศนาในครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปก็ได้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ ทั้งเป็นพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี และโสดาบัน ตามบุญสมพารของแต่ละรูปที่ได้บำเพียรมา ฯ