เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

มหาราช
วัดเจ็ดริ้ว มหาราช
SKN001-168มหาราช
วรรณคดี

กัณฑ์มหาราช เป็น กัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุง ขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานคร สีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/

มหาราช
วัดเจ็ดริ้ว มหาราช
SKN001-169มหาราช
วรรณคดี

กัณฑ์มหาราช เป็น กัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุง ขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานคร สีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/

มหาวงศ์ ผูก 10
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 10
RBR003-261มหาวงศ์ ผูก 10
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน อยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๑๐ มีอยู่สิบผูกกับด้วยกันแล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๑๐”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์ ผูกที่ ๑๐” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๑๐ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันเทศนามหาวงศ์ผูกถ้วนสิบ ก็สมเร็จเสด็จบรมวลด้วยประการดั่งนี้เป็นห้องก่อนและ ฯ เจ้าเหย” หน้าปลาย ระบุ “๚ หน้าปลายมหาวงศ์ ผูกถ้วนสิบแล เจ้าเหยตัวบ่ใคร่งามเต็มทีเนอ คล่องแล้วตามสบับ” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)

มหาวงศ์ ผูก 1
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 1
RBR003-252มหาวงศ์ ผูก 1
ธรรมคดี

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า มหาวงศ์ ผูกต้น แลนายเหย ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๑” และสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” ท้ายลานระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคฺคตฺถายาปริจฺเจท ถ้วน ๒ ชื่อ มหามสมตฺตวงฺสปริจฺเจท ในมหาวงศ์อันแต่งเพื่อหื้อได้ประสาทะศรัทธาแล สะดุ้งหมายวัฏสงสารก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล จบแล้ววัน ๕ แก่ข้าแด่เทอะ ข้าเขือน (ควรเป็น เขียน) ตัวบ่เสมอกันแลท่านเหย นิมนต์พิจารณาดูตรงถี่ ๆ เทอะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มหาวงศ์ ผูกต้นแล ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺ ผุกต้น วัดดอนแจ่ง”

มหาวงศ์ ผูก 2
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 2
RBR003-253มหาวงศ์ ผูก 2
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ตัวบ่ใคร่ละเอียดเนอฯ ฯะ ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” และสีแดง “ผูกที่ ๒” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๒ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลานระบุ “ธมฺมโสกาภิเสฺกกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ สวณฺณนา แก้ไขในมหาวงศ์ห้องอภิเษก ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่ม พ.ศ.๒๔๖๓ ปีวอก เดียน ๓ ออกใหม่ ๙ ค่ำ ยามนั้นแล ๚ อหํ นาม ชื่อว่า ผู้ใหญ่คำ บ้านนาโป่ง หมู่ที่ ๕ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก เป็นลิขิตหื้อปู่ใจ เมืองราทธี มีใจบุพเจตนาบ่แล้ว ๚ ผ่องแผ้วยินดี แม่นว่า เกิดมาในชาติใดๆ ก็ดี ขอให้มีพี่แก้วน้องแก้วมิตรสหายแก้วอันยิ่งโยชน์ในพระศรีอริยเมตไตรยภายในฝ่ายก้ำหน้าแด่เทอะ ตัวอักษรข้าเจ้าก็บ่ใคร่งามเต็มทีเนอ พ่อลุงเหย ฯ อายุ วณฺโณ สุข พลนฺติ สาธุ สาธุ แด่เทอะ” (ตัวเอียงจารด้วยอักษรไทย) หน้าปลาย ระบุ “๚ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ๚ ปริปุณณะ ฯฯ” วันเวลาที่จารเสร็จ สันนิษฐานว่าตรงกับตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464(2463 เป็นปีที่ยังถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันปีใหม่)

มหาวงศ์ ผูก 4
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 4
RBR003-255มหาวงศ์ ผูก 4
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ศรัทธาปู่หลวงแม่ป้าเภียร สร้างไว้ค้ำชูศาสนาศาสนา” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๔ ” และสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” ท้ายลานระบุ “สาธุสุชนปสาทสํคตฺถายกต มหาวงฺสปริเจท อันถ้วน ๗ ชื่อว่า วิชยาภิเษกปริเฉท อันนี้มีใน มหาวงฺสปกรณ อันอาจารย์เจ้าหากแต่งแปลงไว้เพื่อบังเกิดปสาทแลสังเวคญาณแก่สาธุชนทั้งหลายก็สมฤทธีบรมวลควรแก่กาลธรรมเทศนาเท้านี้ก่อนแล ๚ บริบุณณา แล้วยามบ่าย ๑ โมงแล เจ้าเหย นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แด่เทอะ ฯะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลายมหาวงศ์ผูกถ้วน ๔ แลเจ้าเหย ฯะ ท่องแล้วตามสบับเดิมเขาแล ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๔ วัดดอนแจ่ง”

มหาวงศ์ ผูก 5
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 5
RBR003-256มหาวงศ์ ผูก 5
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกด้วยกันแลเจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๕”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์” ท้ายลาน ระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคตฺถายก มหาวงฺเส ปริจฺเจท อันถ้วน ๑๑ ชื่อ เทวานํ ปิยติสฺสภิเสกปริจฺเจท อันมีในมหาวงศ์อันอาจารย์เจ้าแต่งแปลง เพื่อหื้อบังเกิดยังประสาทะศรัทธาแล บังเกิดสังเวคญาณ สะดุ้งตกใจกลัวในวัฏสงสารแห่ง[โส]ตุชนทั้งหลายก็บรมวลด้วยประการดั่งกล่าวมาเท่านี้ก่อนแล ๚ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แก่ข้าแด่เทอะ ๛” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกแล เจ้าเหย คล่องแล้ว คล่องแล้ว แล้ว แล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๕ วัดดอนแจ่ง”

มหาวงศ์ ผูก 6
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 6
RBR003-257มหาวงศ์ ผูก 6
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๖ แลเจ้าเหย ฯ ๚ คล่องแล้วตามสบับ” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๖”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๖ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันสังวรรณนาเทศนามหาวงศ์ ผูกถ้วน ๖ ก็สมเร็จเสด็จบรมวลกาลควรเท่านี้เป็นห้อง ๑ ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล ยาม ๕ โมงเช้า เวลาเที่ยง เจ้าข้า อายุ วณฺเณ สุขํ พลํ ดั่งนี้แด่เทอะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หนัารับปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วย ๖ เจ้าเหย”

มหาวงศ์ ผูก 7
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 7
RBR003-258มหาวงศ์ ผูก 7
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๗ แล เจ้าเหย ตัว[บ่]ใคร่ละเอียดเต็มทีเทอะ” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) ท้ายลาน ระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคฺคตฺถายกเต มหาวงฺเสปริจฺเจท อันถ้วนสิบ๙ ชื่อว่า มหาโพธิมนปริจฺเจท อันมีในคัมภีร์มหาวงศ์ปกรณ อัน[อา]จารย์แต่งแปลงไว้เพื่อหื้อบังเกิดประสาทะศรัทธาใสยินดีในศาสนาแล เพื่อบังเกิดสังเวคญาณอันหมายคล่ายในวัฏสงสารแก่โสตุชนสัปปุริสะทั้งหลายก็สมเร็จเสด็จบรมวลเป็นห้องเท่านี้ก่อนและ ๚ บริบูรณ์ ยามแลง เดือน ๙ ออกใหม่ ๕ ค่ำ พร่ำว่าได้[วัน] ๕ ปีวอก ยามนั้นแล เจ้าเหย อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ดั่งนี้แด่เทอะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้ารับปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๗ บริบูรณ์แล้ว ยามกองแลงแล” วันเวลาจารเสร็จ สันนิษฐานว่า ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีวอก หรือวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2463

มหาวงศ์ ผูก 8
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 8
RBR003-259มหาวงศ์ ผูก 8
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องมหาวงศ์ ผูกถ้วน ๘ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ เป็นห้อง ๑ ก่อนแล ฯ ปริปุณณาแล้ว จลอนว่าผิดเพี้ยนเปลี่ยนอักษรกลอนคำธรรมพระพุทธเจ้า สาธุ ใส่แปลงหื้อทานข้าเจ้าภ่องเทอะ อายุ วณฺโณ สุขํ ดั่งนี้แด่เทอะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯฯ หน้าปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๘ บ่ใคร่ละเอียดเต็มทีเนอ คล่องแล้ว” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๘” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๘ วัดดอนแจ่ง”

มหาวงศ์ ผูก 9
วัดใหม่นครบาล มหาวงศ์ ผูก 9
RBR003-260มหาวงศ์ ผูก 9
ธรรมคดี,ประวัติศาสตร์

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๙ แลเจ้าเหย ตัวบ่ใคร่ละเอียดเต็มที ฯฯ ท่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๙”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์ ผูกที่ ๙” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๙ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลาน ระบุ “มหาวงศ์ปรณ ผูกถ้วน ๙ ก็สมเร็จบรมวลเป็นห้อง ๑ ก่อนแล ฯ บริบุณณาแล้ว ยามบ่าย ๑ โมง เดือน ๑๑ วันพุธ ออกใหม่ ๓ ค่ำ ยามนั้นแล นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แด่เทอะ ฯฯะ๛” หน้าปลาย ระบุ “ฯ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๙ ตัวอักษรก็บ่ใคร่เลางามปานใดแล นายเหย ท่องแล้วทานแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)

มหาวิบาก
วัดใหม่นครบาล มหาวิบาก
RBR003-110มหาวิบาก
ธรรมคดี

หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวิบาก” หน้าทับเค้าคงนำใบลานเศษที่มีรอยจาร(กลับหัว)เนื้อหากล่าวถึงมหาโมคคัลลานเถรเจ้าแต่ไม่จบ, มีรอยเขียนอักษรไทยด้วยดินสอ เป็นตัวเลขไทยและคำต่างๆ (แจกสระ) มีรอยจารแก้ไขคำผิดมาก ท้ายลาน ระบุ “กล่าวมหาวิบากผูกเดียว ก็สมเร็จเสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ จบแล้ววันภะหัส เดือน ๑๐ ยามค่ำ ยามเจ้าบ้านมาฟังธรรม ข้าก็เขียนจบยามนั้นแล นายเหย ๛  เกิดมายังบ่เคยสักคำเทื่อ ไผอย่าด่าข้าเนอ ข้าฆ่าภ่องเขียน เขียนผูกเดียวนี้แล ครั้นมันผิดที่ไหน ใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ๛ กุศลนาบุญแห่งเขาไปรอดไปถึงบิดามารดาแห่งข้าเทอะ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดญาติกาวงศาพี่น้องทั้งหลายชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ หื้อข้าแด่เทอะ  หน้าทับเค้ามหาวิบากผูกเดียวนี้ ข้าเขียนไว้ตั้งแต่ปีมะเมีย เดือน ๑๐ วันพระหัส ยามเมื่อเจ้าบ้านมาฟังธรรมยามใกล้ค่ำแล ข้ากำลังหัดเขียนผูกหนทีคำเดียว ครั้นผิดที่ใดใส่”

มหาวิบาก
วัดใหม่นครบาล มหาวิบาก
RBR003-111มหาวิบาก
ธรรมคดี

หน้าทับเค้าเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “ไม่มีเปรตพระ” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามหาวิบากแลนายเหย ข้าเขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อไปรอดไปเถิงบิดามารดาครูบาอาจารย์ชุครูชุคนแด่เทอะ กับญาติพี่น้องแห่งข้าชุผู้ชุคนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะเนอ รัสสภิกขุฅุม บ้านให[ม่]เค้าม่วง ผิดที่ใดใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ข้าเขียนใหม่บ่เคยสักคำเทื่อ ลางตัวเท่าช้าง ลางตัวเท่าแมว แอวคาคอด” ลานแรกเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินที่ด้านซ้ายมือของลาน “มหาวิบาก” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวมหาวิบากผูกเดียวก็สมเร็จเสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้วฉันจังหัน | แล้วน้อย ๑ แลนายเหย ปีชวดแลนาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้แลก่อนแล เสด็จแล้ววันอาทิตย์แลนายเหย แรม ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์แลนายเหย หน้าทับเค้ามหาวิบากม่วนอาละแลนายเหย”

มหาวิบาก
วัดใหม่นครบาล มหาวิบาก
RBR003-112มหาวิบาก
ธรรมคดี

หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวิบาก บ่อมีเปรตพระ”,เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ไม่มีเปตพระ” เขียนอักษรธรรมด้วยปากกาน้ำเงิน “มหาวิบาก” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุดธัดส _________” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามหาวิบากแล๛ ครั้นผู้ใดได้ดูแล้ว ครั้นตกอยู่ที่ไหนเก็บไว้จิ่มเนอ” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องมหาวิบาก ตามอันย่อแคบ ก็สมมติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล” และ“หน้าทับปลายมหาวิบาก หนังสือวัดหนองบัวแล บ่งามเจ็บแอว มีอยู่สิบสองใบหน้าเท่านั้นแลท่านเหย มหาวิบากฉบับนี้ม่วนเต็มที ต้องพิจารณาดูหื้อถี่จิ่งจักรู้ที่ปองปูนอันเป็นบุญแลเป็นบาป” เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “หนังสือผูกนี้นายเรียมมันอ่านแจนจํบ(เจนจบ, จนจบ?)” “๑๖”

มหาวิบาก
วัดใหม่นครบาล มหาวิบาก
RBR003-103มหาวิบาก
ธรรมคดี

หน้าทับเค้าเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินระบุ “มหาวิบาก เรื่องเปรต ไม่มีภิกษุ” ท้ายลานระบุ “กล่าวห้องมหาวิบากตามอันย่อแคบ ก็สมมุติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ เสด็จแล้วตาวันรอแลงแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดี อย่าไปเล่าขวัญหัวข้าเนอ พ่อแม่ข้ามีศรัทธามาลาไปซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าน้อยเขียน พ่อชื่ออยู่ แม่ชื่อมาก มีใจศรัทธาซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าเขียนแลฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนดินสอสีฟ้า ระบุ “หนังสือนายมี(อักษรธรรมล้านนา) หนังสือนายมี(อักษรไทย)” มีการแก้ไขคำศัพท์และเพิ่มเติมวรรณยุกต์ด้วยปากกาลูกลื่น

มหาวิบาก ปฐมวัคค์ ผูก 1
วัดเจ็ดริ้ว มหาวิบาก ปฐมวัคค์ ผูก 1
SKN001-122มหาวิบาก ปฐมวัคค์ ผูก 1
ธรรมคดี

ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อมหาวิบาก เป็นคัมภีร์ที่นิยมใช้เทศน์โปรดผู้ป่วยหนักเชื่อว่าหากได้ “ฟังธัมม์” กัณฑ์นี้แล้ว ผู้ป่วยนั้นถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็จะตายโดยสงบ เรื่องย่อมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนา ความว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีเศรษฐีคนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีทรัพย์สมบัติถึง 80 โกฏิ แต่เขาเป็นคนที่ขี้เหนียวมาก ไม่ยอมใช้เงินซื้ออาหารดีๆ มากิน กินปลายข้าวด้มทุกวัน เสื้อผ้าก็ใส่เสื้อผ้าที่ทอด้วยป่าน เวลาจะเดินทางไปที่ใดก็จะนั่งเกวียนเก่าๆ ไม่ยอมทำบุญทำทาน เพราะกลัวว่าทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จะหมดไป ต่อมาไม่นานเศรษฐีก็ป่วยตาย หลังจากเศรษฐีตาย พระยาปเสนทิโกสละกษัตริย์ผู้ครองเมือง จึงได้สั่งให้ทหารไปขนทรัพย์สมบัติของเศรษฐีมาไว้ยังท้องพระคลังเพราะเศรษฐีไม่มีผู้สืบสกุล ซึ่งใช้เวลาถึง 7 วันจึงขนทรัพย์สมบัติมาไว้ในท้องพระคลังได้หมดวันต่อมาพระยาปเสนทิโกสละก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า และทรงเล่าเรื่องราวของเศรษฐีให้พระพุทธเจ้าฟัง แล้วทรงทูลถามว่าเหตุใดเศรษฐีจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติมากมายที่ตนเองมีได้ และทำไมเศรษฐีจึงไม่มีผู้สืบสกุล พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเทศนาถึงกรรมเก่าของเศรษฐีว่า ในชาติก่อนเศรษฐีเป็นกุฎมพีคนหนึ่งอยู่ในเมืองพาราณสีเขาเป็นคนไม่ชอบทำบุญทำทาน วันหนึ่งมีพระมาบิณฑบาตเขาก็ได้ตะโกนบอกคนทั้งหลายว่า มีพระมาบิณฑบาต ใครอยากทำบุญก็ให้รีบมา จากนั้นเขาก็มุ่งหน้าเข้าป่าไปไม่ได้สนใจที่จะทำบุญ เมียของนายกุฎมพีเป็นคนชอบทำบุญจึงได้จัดหาอาหารมาใส่บาตร นายกุฎมพีกลับมาเห็นเมียใส่บาตรจึงเกิดความเสียดายอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ชาตินี้เขาจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติที่ตนเองมีได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่มีผู้สืบสกุลเพราะได้ฆ่าลูกชายของพี่ชายตัวเองที่ไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่าตาย เพราะกลัวหลานจะแย่งทรัพย์สมบัติที่เคยเป็นของพ่อคืนเพราะก่อนออกบวชพี่ชายได้ยกทรัพย์สมบัติให้เขาหมดแล้ว แต่จากกุศลที่กุกุมพีได้ตะโกนให้ผู้คนรู้ว่ามีพระมาบิณฑบาดจึงส่งผลให้เมื่อตายไปก็ไปจุดิบนสวรรค์ถึง 7 ชาติ จากนั้นก็มาเกิดเป็นเศรษฐีอยู่เมืองสาวัตถี แต่บุญของเศรษฐีก็หมดในชาตินี้แล้ว “มหาวิบาก (คัมภีร์).” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 10. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 5061-5061.