Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
หนังสือสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรขอมไทย เป้นภาษาบาลี เรื่อง พระอภิธรรมบริบูรณ์ ด้านหน้าปก เขียนด้วยอักษร และด้านหลังของสมุดเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ว่า “ข้าพเจ้าจีนเอี่ยมผัวแม่พลับเมียแม่จัันผู้แม่มีสัดทาพร้อมใจกัน สร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้ทันพระศรีอริยะไม้ตรี อันจะมาตรัษในพายภากน่า ขอให้ปันญาทรงพระไตรปิดกทุกข์ ๆ ชาดให้สมความปรารถหนานี้เทิษ”
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ คือ คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ไว้โดยย่อ เหมือนเป็นแบบเรียนเร็วพระอภิธรรม แบ่งเป็น 9 ปริจเฉท ปริจเฉทที่ 1 จิตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง เจตสิกปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมต่าง ๆ 6 หมวด คือ เวทนา เหตุ ทวาร กิจ อารมณ์ และวัตถุ ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดง วิถีจิต ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตที่พ้นวิถีและธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่พ้นวิถี ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดง รูปปรมัตถ์และนิพพาน ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกันได้ ปริจเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกันและแสดงบัญญัติธรรมด้วย ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐาน รวบรวมแสดง อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ คือ สมถะ และ วิปัสสนา
พระอภิธรรมมัตสังคหะ
สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง พระอภิธรรมสังคหะ โดยท้ายเล่มได้ระบุว่า “หนังสือพระธรรมเล่มนี้ ข้าพเจ้านายปานผู้ผัว อำแดงจูผู้เมีย กับ(ผู้ศรัทธา) สร้างถวายในพระศาสนา ขอให้ข้าะเจ้าลุโสดานาคาแลพระนิพพานเถิด ขอให้สำเร็จแก่ความปรารถนา ขอให้ข้าพเจ้าทันพระศรีอาริยะทุกชาติเถิด ขอเดชะบุญที่สร้างไว้ เกิดมาชาติใด ๆ ขื่อเข็ญว่าเข็ญใจ อย่าได้บังเกิดมีแก่ข้าพเจ้านี้เลย นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ
สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง พระอภิธรรมสังคหะ
สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง พระอภิธรรมสังคหะ ท้ายเล่มมีข้อความบอกว่า พระธรรมเล่มนี้เป็นของยายแพง
สมุดไทยบันทึกเรื่องธรรมคดี พระไตรปิฎก ในส่วนของพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระธรรมขั้นสูงสุด
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะทาส ๗ ประการ ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสได้มาข้างบิดามารดา ทาสมีผู้ให้ ทาสที่ได้ช่วยเมื่อต้องโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงดูมาในยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย และทาสสินไถ่ การตกเป็นทาสประเภทต่างๆ การตั้งค่าตัว การไถ่ถอน การปฏิบัติตน สิทธิหน้าที่ของทาสประเภทต่างๆ ระหว่างทาสกับนายเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ รวมทั้งกำหนดว่า ทาสคือ คนของพระมหากษัตริย์ ที่นายเงินจะลงโทษถึงตายไม่ได้
ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕ คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่นๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตามระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้ ปกลานจารเป็นอักษรขอมและอักษรไทยว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ 2458 พรรษา ข้าฯ แม่อิ่ม มีใจศรัทธาสร้างหนังสือนี้ ไว้ในพระพุทธศาสนา ขอให้สำเร็จแก่พระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้นเทอญ”
ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์ภาย ใต้ต้นปาริกชาติ ณ ดาวดึงสพิภพ ตรัสพระสัทธรรม เทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา ท้าวอมรินทร์ได้พาสุปติฏฐิตาเทพบุตรที่เศร้าโศกเนื่องจากต้องจุติจากสวรรค์ไป ดังนั้นท้าวอมรินทร์จึงกราบ ทูลให้พระองค์ทรงแสดงพระสัจธรรมเทศนาอันจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ช่วยชีวิตเทพบุตรองค์นี้ไว้ไม่ให้ตายลงภายใน 7 วันนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเทศนาคาถาอุณหิสสวิชัย เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้ามเสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่ ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้งหลายท่านจงมีความสุขเถิด
หนังสือพระอุปคุต
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/5 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
พื้นขุนบูรมราชาทิราด สะบับบูรานแท้ (พื้นขุนบรมราชาธิราช ฉบับโบราณแท้)
หน้าต้น ระบุ “๚ พุทธโฆสกเถร ผูกถ้วน ๒ แลนายเหย ıı ข้อยเขียนลางตัวก็ใหญ่เท่ากินค่อย (กิ่งก้อย?) ลางตัวก็น้อยเท่าหัวแม่มือ แลนายเหย” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “๒” หน้าแรก หัวลาน ระบุ “พุทธโฆสเถร ผูก ๒ แลนายเหย อ้ายน้อยธัศ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันมากล่าวยังพุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ก็สมเร็จเสด็จ ıı ıı บัวระมวล กาลก็ควรแล้วเท่านี้ก่อนแลฯฯะ๛”
หน้าต้น ระบุ “๚ พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ แล นายเอ๋ย ” (ตัวเอียงจารอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “๓” ลานแรก หัวลาน ระบุ “พุทธโฆสเถร ıı ผูก ๓ แล ıı” ท้ายลาน ระบุ “พุทฺธโฆสเถร นิฏฺฐิตํ กริยา อั[น]สังวรรณนายังพุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลควรกาลเท่านี้แล ฯ๛”
ใบแรก เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “พุทธโฆ ผูก ๔” หน้าต้น ระบุ “ ๏ı หน้าเค้า พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๔ แลนายเหย” / “หน้าต้น หน้าเค้า หน้าปลาย หน้ายอด ชื่อว่า พุทธโฆสเถร แลนายเหย นายฅรวะ เขียนเมื่ออยู่วัดแดงจอน แลนายเหย” ลานแรก หัวลาน ระบุ “พุทธโฆสเถร ıı ผูกถ้วน ๔ แล ıı” ท้ายลาน ระบุ “ปริเจทธรรมเทศนาอันถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลกาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛”
หน้าต้น ระบุ “พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๕” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ประวัติพระพุทธโฆสะ ผูก ๕” ท้ายลาน ระบุ “พุทฺธโฆสเถรํ นิฏฺฐิตํ กล่าวยังนิทานแห่งเจ้าพุทธโฆสเถร ไปม้างสิงหลภาษาหื้อเป็นมคธภาษาทั้งมวลแล้วก็นำมาตั้งไว้ในชมพูทวีป ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลกาลเท่านี้ก่อนแล ๛๛ จุลศักราชได้ ๑๑๗๗ ตัว ปีดับใค้ เดือน ๑๐ ข้า ข้าเขียนยามเมื่ออยู่สติ (สถิต) สำราญวัดราชภิ ปากล่องหางเกาะ วันนั้นแล บัญญัติว่า กัญจนรัสสภิกขุ ıı๏ เหมือนยุงตีกันแล ะ๛ อักขระบ่สม แลบล้วนเลิงหลายพอแลนา ตัวปลายอยู่ถ้อยเถิงนั้นแล ๛ ” (ตัวเอียงจารขึ้นทีหลัง / ตัวขีดเส้นใต้ ไม่ทราบความหมาย)
ท้ายลาน ระบุ “พุทธโฆโสผูกเดียวแลแล ๚ แล้วยามบ่ายสองโมงแล พร่ำอังคารแล ทุพี่เหย ๚ ขออย่าลายมือกับศาสนาพระตถ[า]คต พร่องแด่เทอะ ข้อขอกุศ[ล]นา[บุญ] อันไป[รอด]บิดามารดา ข้าจิ่มเทอะ ขอหื้อไปรอดญาติกาครูบาอาจารย์ข้าแด่ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ข้อขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ปุญฺญกฺเขตฺตํ ปิตฺตกตยํ นิพฺพาน ปจฺจโย อหํ สาสเน เมตฺเตยฺยสฺสสุนาติธมฺมํ นิจฺจํ นิจฺจํ ı นิพฺพาเนติ ฯฯ ” / “หน้าทับเค้า หนังสือพุทธโฆโส รัสสภิกขุมากดำมอย บ้านแจงดอน ทุพี่องค์ใดเราขอใส่จิ่มเนอ ทุพี่เหยเพราะบ่เคยกำเหล็กจาคำเทื่อ” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย “พุทธะโฆโสผูกเดียว”