เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

ป่าวเทพดาราธนาสังภาษและถวายข้าวทาน
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ป่าวเทพดาราธนาสังภาษและถวายข้าวทาน
NPH001-072ป่าวเทพดาราธนาสังภาษและถวายข้าวทาน
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม,ศาสนาพุทธ

ป่าวเทวดา คือ คำประกาศเชิญเทวดามาชุมนุมในพิธีกรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่กระทำกิจพิธีมงคลหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สะเดาะเคราะห์ เจ้าพิธี (ได้แก่ พระสงฆ์ หรือ เจ้าพิธี) จะกล่าวประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเทวดาในสากลพิภพมาร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย ดังที่ชาวภาคกลางจะใช้คาถาชุมนุมเทวดา ที่เรียกว่า “สัคเค กาเม จ รูเป …ฯลฯ” เมื่อประกาศเชิญเทพชุมนุมแล้วจึงเริ่มพิธีกรรมนั้น ๆ ต่อไป (ข้อมูลอ้างอิง : ธวัช ปุณโณทก. “ป่าวเทวดา, คำ : บทสวด.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2666-2668.) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/72 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานมาจากคนละผูก ชำรุดขาดแหว่ง 2 ใบ

ป่าวเทวดาฟังธรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ป่าวเทวดาฟังธรรม
NPH001-074ป่าวเทวดาฟังธรรม
ประเพณีและพิธีกรรม,ศาสนาพุทธ

ป่าวเทวดา คือ คำประกาศเชิญเทวดามาชุมนุมในพิธีกรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่กระทำกิจพิธีมงคลหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สะเดาะเคราะห์ เจ้าพิธี (ได้แก่ พระสงฆ์ หรือ เจ้าพิธี) จะกล่าวประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเทวดาในสากลพิภพมาร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย ดังที่ชาวภาคกลางจะใช้คาถาชุมนุมเทวดา ที่เรียกว่า “สัคเค กาเม จ รูเป …ฯลฯ” เมื่อประกาศเชิญเทพชุมนุมแล้วจึงเริ่มพิธีกรรมนั้น ๆ ต่อไป (ข้อมูลอ้างอิง : ธวัช ปุณโณทก. “ป่าวเทวดา, คำ : บทสวด.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2666-2668.) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/1 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

ปุณณนาคกุมาร
วัดใหม่นครบาล ปุณณนาคกุมาร
RBR003-358ปุณณนาคกุมาร
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “ıı หน้าทับเค้า หนังสือ ปุณณนาคกุมาร ม่วนดีมีผู้เดียวแล นายเหย ฯıı ๒๑ ล้าน อ้ายหนานสร้างไปหื้อ” (ตัวเอียง จารด้วยอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เรื่องทอดกฐิน บุนะคะกุมาร ปุณณกกุมาร” ท้ายลาน ระบุ “ปุณฺณนาคราชชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังปุณณนาคกุมารผูกเดียว ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯıı๛ เสด็จแล้วจับยามใกล้จักเพล เดือน ๑ กลางเดือน ตัวบ่ดีสักน้อย อย่าไปด่าข้อยเนอ เพราะฟั่งเขียน อยากใคร่สิกข์ เต็มที ıฯ โอ้ละหนอ จุ่นบุ่น แม่ทูนหัวเหย พี่คั่วทอด น้องกินข้าว ก็เป็นความสะมัก กินผักเดก็เป็นความสะท้อน ความย้อนทั้งเจ้าจ่มหาแกมดอกดูข้อย ขนครัวชูเป็นลูกเขย สู่อีแม่เจ้า ๚ ๛”

พรหมโสชาดก
วัดม่อนเรือ เมืองเชียงตุง พรหมโสชาดก
CMRU-CT-05-B-022พรหมโสชาดก
ชาดก

ในสมัยหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระญาพรหมโส ปกครอง้เมืองกุสุมภะนคร ปกครองด้วยทศราชธรรม แต่มีชาวเมืองจำนวนหนึ่งที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอกุสลกรรม ไม่ให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนาแต่อย่างใด..แม้พระญาเจ้าเมืองจะสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ผล... ..ร้อนถึงพระอินทร์ที่จะต้องมาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง จึงเนรมิตตนเป็นหมาตัวหนึ่ง และให้มาตลีเทวบุตรเนรมิตตัวเป็นหมาตัวใหญ่ (หมาหลวง) ลงมาส่งเสียงร้องก้องเมือง เป็นที่น่าสะพรึงกลัว.. ชาวเมืองทั้งหลายจึงหลบเข้าไปอยู่ในบ้าน ส่วนพระญาพรหมโสก็หนีไปอยู่บนปราสาทชั้นที่ ๗ แล้วเปิดหน้าต่างดู เมื่อเห็นหมาตัวใหญ่มาเห่าหอนก้องอยู่ จึงตรัสถามว่าเหตุใดจึงทำเช่นนั้น พระญาหมาก็บอกว่าหิว พระญาพรหมโสจึงให้บริวารนำข้าวสุกมาให้ หมาตัวนั้นก็ทำให้เป็นก้อนแล้วกลืนกินครั้งเดียวก็หมด ก็เห่าหอนอีก พระญาพรหมโสก็ตรัสถามอีกก็ได้คำตอบว่ายังไม่อิ่ม พระญาพรหมโส จึงให้ไปน้ำข้าวสุกจากชาวเมืองมาให้อีกแต่หมาตัวใหญ่นั้นก็ยังไม่อิ่ม เมื่อข้าวในเมืองหมดแล้วแต่หมาตัวนั้นยังไม่อิ่ม และเห่าหอนอยู่ พระญาพรหมโสจึงบอกว่าข้าวหมดแล้ว ท่านยังไม่อิ่มหรือ หมาตัวใหญ่นั้นได้บอกว่าอยากกินเนื้อมนุษย์ที่เป็นคนใจบาป เพราะเนื้อของคนที่ให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนานั้นไม่อร่อย แต่เนื้อของคนใจบาปที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือคนไม่มีศีลธรรมนั้นจะหวานอร่อยกว่า... พระญาพรหมโสจึงให้บริวารไปปล่าวหาคนที่ใจบาปอธรรมเพื่อมาให้หมากิน.. ชาวเมืองที่เคยเป็นคนบาปหนาทั้งหลายก็หวาดกลัวกันมาก จึงรู้สึกเสียใจและสำนึกผิด.... เมื่อชาวเมืองกลัวเกรงและสำนึกผิดแล้ว พระอินทร์จึงแสดงตัวให้พระญาพรหมโสและชาวเมืองทราบว่าตนคือพระอินทร์แปลงกลายมาสั่งสอนสัตว์โลกให้เกรงกลัวต่อบาป..แล้วเนรมิตต้นกัลปพฤกษ์ที่อุดมด้วยเงินทองและสิ่งของเครื่องใช้นานา แล้วบอกว่าหากผู้ใดหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาก็จะได้ครอบครองและบริโภคทรัพย์สมบัตินี้และมีความสุข...และเกิดมาพบกับพระพุทธศาสนา.อุปมาเหมือนคนยากจนไปตัดฟืนในป่าพบกับขุมทรัพย์ก็ย่อมทำให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก... เมื่อสั่งสอนชาวเมืองแล้วก็เหาะกลับไปยังสวรรค์ชั้นฟ้า... ส่วนพระญาพรหมโสที่ปกครองบ้านเมืองด้วยทศราชธรรม เมื่อสิ้นอายุขัยก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต...ชาวเมืองที่ทำความดีก็จะได้ไปเสวยสุขตามบุญสมพารที่ตนได้กระทำไว้... ท้ายของพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสโมธานว่า.. -พระอินทร์ที่มาสั่งสอนตักเตือนชาวเมืองนั้นคือพระอนุรุทธะในปัจจุบัน -มาตลีเทวบุตรที่เนรมิตเป็นหมาหลวง คือพระอานนท์ในปัจจุบัน -ชาวเมืองทั้งหลายที่ทำดีหรือกลับใจเป็นคนดี จึงได้เกิดมาบริษัทสี่จำพวกในปัจจุบัน -พระญาพรหมโส ที่ครองเมืองกุสุมภะนคร คือพระพุทธองค์เอง.. ------ (เรื่องนี้จะมีความสับสนระหว่างบทบาทของพระอินทร์กับมาตลีบุตร ที่เนรมิตเป็นหมา..ตอนต้นบอกว่ามาตลีเทวบุตรเนรมิตเป็นหมาหลวง พระอินทร์เนรมิตเป็นหมาอีกตัวหนึ่ง..แต่เวลาดำเนินเรื่องไม่ได้กล่าวว่าหมาที่เห่าหอนก้องเมืองนั้นคือใคร..แต่น่าจะเป็นหมาหลวง (ตัวเท่าม้า) คือมาตลีเทวบุตรมากกว่า)