Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูก ๓ แลนายเหย ฯฯ๛” เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “นิมนต์นั่งหัตถบาส องค์ที่บ้านบํอ_นิมนต์ให้ธรรมเป็นทานด้วย วัน ๑๔ ๓ [ค่ำ]” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูก ๓” หน้าทับต้นด้าน ๒ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “หนังสือของนางมาก” ท้ายลานระบุ “ปทุมกุมาร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูกต้นแลนาย ห ฯฯ” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูกที่ ๑” ลานเปล่าทับหน้า เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “วัน ๑๒ ๔ ค่ำ เทศ วัน ๑๓ ๔ ค่ำ สวดมนต์ วัน ๑๔ ค่ำ นั่งหัตถบาส มาในเมรุ วัน ๑๕ ๔ ค่ำ สวดพระธรรม ๔ รูป ” (ตัวอักษรเอียง เขียนด้วยอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “ปทุมกุมารํ นิฏฺฐิตํ || กิริยาอันกล่าวยัง ปทุมกุมาร ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” ลานเปล่าทับหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “หนังสือนี้ของนายวุ่น หนังสือนี้ของนายวุ่น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” หน้าปกลาน “หน้าทับเค้าปทุมกุมารผูกถ้วน ๔ ปลายหมู่แลนายเหย” อักษรไทย ปากกาลูกลื่นน้ำเงินเขียนว่า “หน้าตับเก่า เล่มปายและนายเหย“ ท้ายลาน ระบุ ปทุมฺมชาตกํ นิตฺถิตํ กริยาอันกล่าวสังวรรณนาวิเศษเทศนาหอแหดปุทมชาดกก็สมเร็จสรเด็จเท่านี้ก่อนแล ๛
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1-6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอมผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วยามแถจักใกล้ค่ำ พร่ำว่าได้ปีขาล เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๑ แลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีบ่งาม ใหม่แล เหตุใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ตกกับผิดเสียแควนหลาย ขออย่าไปด่าจาขวัญข้าแท้เนอเจ้าเนอ นายเนอ ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อย บ่เสมอแท้แล ๛ ข้าขอกุศลบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดาครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ เอ้ย(เอื้อย) อ้าย น้อง ข้า จิ่มเทอะ” หน้าทับปลาย ระบุ “เขียนเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ร.ศ.๑๐๙ เขียนเมื่ออยู่วันดอนตะโกและ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอ
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “หน้าต้น บัวหอม ผูก ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ผู้ข้าตนชื่อว่า อุตรภิกขุ สร้างหนังสือบัวหอม ไว้ค้ำชูพุทธศาสนา ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพานเป็นยอดแด่เทอะ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูกท้วนสอง” และดินสอ “นายสกาแก้ว เขียนแล้วอยู่บ้านหินหน่อ”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าก่อนทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “บวัหอม ผูก ๓” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูก ๓ แล ฯฯ๛” / “ศรัทธาอาวหนานจันดี กับภริยา ชื่อว่า อาเภียร มีศรัทธาสร้างธรรม ชื่อว่า อภิธรรม ๓ ไตร กับบัวหอม ขอหื้อไปรอดลูกผู้ ๑ ชื่อว่า หนานปาน ลูกเขยผู้ ๑ ชื่อว่า รอด นอกกว่านั้นทั้งปิตามารดาชุผู้ชุคนแด่ แด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ จุ่งมีแก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“บวัหอม ผูก ๓” และ “สร้างในพุทธศักราช ๒๔๔๒ พ.ศ.๒๔๔๒” (อักษรตัวเอียง เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน) ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนายังปทุมคันธะกัณฑ์ถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลควรแก่กาลเท่านี้แล แลนายเหยฯ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯหน้าทับเค้าปทุมบัวหอมผูก ๔”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ บัวหอมผูก ๔”และ “สร้างพ.ศ. ๒๔๔๒ ปีกุน”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอม ผูก ๔ สร้างจุลศักราช ๑๑๘๖ แล ผูกนี้ สร้างในสมัย ร. ๒-๓ เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ วันพุธ ปีวอก ในฤดูฝนยามบ่าย พ.ศ. ๒๓๖๗ แล” (คำว่า “แล” ใช้อักษรธรรมล้านนา) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกันถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ ※ จุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัว ในวอกฉนำกัมโพชกรอมพิสัย ไทยภาษาว่าปีสัน เข้ามาในอุตุฤดูฝน เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๔ ยามตูดช้าย ก็มีวันนั้นแล || ข้าเรียนเขียนใหม่บ่งามสักหน้อยแล ตกที่ใด ขอหื้อใส่เสียจิ่ม พี่ทุพี่พระเหย ขออย่าด่าข้าพร่องเทอะ ธรรมผูกนี้ชื่อว่า ปทุมบัวหอม ผูกสี่ ※ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ โวหารตนข้าชื่อว่า คันธิยะ รัสสภิขุเขียนบ่งาม ใหม่แล” หน้าทับปลาย เขียนดินสอ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “บัวหอมผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกัณฑ์ถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จ || || บัวระมวลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้ววัน ๒ ยามงัวตอบตีนบ้าน เดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม สภศก(นพศก?) ตกเข้ามาใน สันตฤดู เมื่อบ้านเมืองเหี่ยวแห้งเต็มทีแล เจ้าเฮย ยังมีน้าฅำอ้ายกับนางสวย อยู่บ้านป่ารวก ก็อุบายขงขวายหาได้” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “พระฮอมเทศน์เมื่อกลางพรรษาที ๑ ผูกนี้”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้า ปทุมบัวหอม ผูกปลาย มีกับกัน ๕ ผูก แลเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พ.ศ. ๒๔๓๓” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันมาแก้ไขเทศนายังโคนะบุตรชาดก ยกแต่เค้าตราบต่อเท่าเถิงผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บัวหอมผูกปลายแล พ่ออย่าได้ไปนินทาจาขวัญข้อยแด่เทอะ ทุพี่พระทุพี่เหย เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มที่เหตุว่าบ่ช่างดีหลายแลนายเหย ขอหื้อนาบุญไปรอดไปเถิงครูบาอาจารย์พ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียนแล ตกกับผิดเสียแควนหลาย ตัวก็บ่เสมอกัน พ่อยังยายอยู่ถ้อยจิ่มเพิ่นทั้งนั้น มะยูงกูงกิง เหมือน ๑ ปูเขี่ยขอบนาท่งองนั้นแล ใจมันบ่ตั้งเพราะว่าเจ็บหลังเจ็บแอวเต็มทีแลนายเหย ผูกถ้วน ๕ แล ผู้ใดได้เล่านิมนต์พิจารณาผ่อหื้อถี่ถี่ ไม้อันใดตัวอันใดหู ผ่อหื้อถี่ถี่ดูเทอะ ที่ไหนตกนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะเนอทุพี่เหย ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดดอนมะโกแก้วกว้าง บริบูรณ์เสด็จแล้ว ตะวันพาดปลายไม้แล้ววันศุกร์ ปีขาล เดือน ๑๐ ขึ้นหกค่ำ พร่ำว่าได้วันศุกร์แลนายเหย๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันที่ 19 วันศุกร์ เดือนกันยายน ขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีดำ “บัวหอม ผูก ๕”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1 – 6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๕๑ (ผูกต้นแล) โคนะบุตรชาดก” ในวงเล็บเขียนอักษรธรรมล้านนา / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมมาบัวหอมผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมมชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายเป็นนิยายอันมาก มาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้วตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาดนักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนายังปทุมผูกต้น ก็สมเร็จเส็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ปทุมบัวหอมผูกต้นแล เสด็จแล้ว ตะวันบ่ายน้อย ๑ แล ปีขาล เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ พร่ำว่าได้วันจันทร์ แก่ข้าน้อยแลเจ้าเหย ข้าเขียนย่ดีบ่งาม ใหม่แล เจ้าตนใดได้เล่าได้เรียน ขออย่าไปด่าพาพ่อพาแม่ข้าแด่เทอะ ตกก็ตก ผิดก็ผิดแล ลางตัวก้ใหญ่ลางตัวก็หน้อย บ่เสมอ ข้าขอสุข ๓ ผะการ มีนิพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียน บ่ดีใหม่แลเจ้าเหย เพราะว่าใคร่ได้บุญเต็มที ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เดิือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ปีขาล วัดดอนมะโกและ ตรงกับวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล” หนัาทับปลาย ระบุ “หน้าท้บเค้าบัวหอมนายเหย มีกับกัน ๕ ผูก เท่าอี้แล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าบัวหอมผูกต้นแลฯฯ๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และ “สร้าง พ.ศ.๒๔๔๒ ปีกุน”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจาง “นายทองอ่านหนังสือราว(ลาว)หัวนี้ยังบ่จบเตื่อบ่ได้อย่าจบเต้” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หน้าต้นบัวหอม ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมชาดก ยกแต่เค้าปลายเป็นนิยายอันมากมาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้ว ตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาด นักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนา ปทุม ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววันอาทิตย์ ยามค่ำ เดือน ๖ ออก ๖ ค่ำ ปีวอก รัสสภิกขุจันทไช เขียนหาทางงามบ่ได้ เหมือนปูยาดคันนา อย่าไปไคร่หัวขวัญข้าเทอะ ตกที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่ม ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ธุวํ ๆ ป[จฺ]จโย โหตุ เม แก่ข้าน้อยแด่เทอะ อหํ อันว่า ข้า จักปรารถนาเอาแก้วดวงเดียวเป็นที่เพิ่ง รัสสภิกขุเหลียร(เหรียญ)ได้แต้มได้เขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงนางแมะข้าจิ่มเทอะ”
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมมุกขกุมาร” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณปทุมมุกฺขกุมารชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเ[ท]ศนายังปทุมมุกขกุมารชาดก ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛ จุลศักราชล่วงไปได้ ๒๐๐๐ ๔๐๐ ๖๐ ๗ วัสสา เสด็จแล้วปีมะเมีย ฉศก ตกเข้าในวสันตฤดู เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ วัน ๓ ยามตูดเพลแล้วน้อย ๑ ศรัทธาโยมมูร โยมดา ยังอุบายขงขวายหาได้ยังใบลานมาหื้อภิกขุฅุ้มเขียนปางเมื่ออยู่วัดทุ่งหญ้าคมบางทางงาม หาบ่ได้สักหน้อย พอหยาดเป็นถ้อย ติดตามใบลาน โยมมูร โยมดา กับผู้เขียน ขอหื้อมีสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด น ปจฺเจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ (ควรเป็น นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ) แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กุมาร ผูก ๘ กุมาร ผูก ๘”
ปรมัตถพินทุ แปลภาษาบาลีแบบยกศัพท์เป็นภาษาพม่า ปรมัตถพินทุเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา ศักราช จ.ศ.1203 (พ.ศ.2384) เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสาร อักษรพม่า 38 ทีมาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา
คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1223 (พ.ศ. 2404) เดือน 12 ขึ้น 12 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทอง รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 19 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปักขคณนา” ฉบับนี้เป็นตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดค้นและนิพนธ์ขึ้น ปักขคณนา คือการนับปักษ์๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งเป็นวิธีการนับปักษ์ที่มีความแม่นยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมี ความคลาดเคลื่อนได้ภายในปี ไม่ว่าจะกําหนดอย่างไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําได้อย่างมากคือ คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดภายในปี ดังนั้นพระองค์จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นําการคํานวณปักขคณนานั้นไปใช้ทําปฏิทินพระทุกปี แทนที่ปฏิทินฆราวาส