Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูก ๒ แลนายเหย ฯฯ๛” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูก ๒” ท้ายลานระบุ “ปทุมกุมาร ผูกถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛”
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูก ๓ แลนายเหย ฯฯ๛” เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “นิมนต์นั่งหัตถบาส องค์ที่บ้านบํอ_นิมนต์ให้ธรรมเป็นทานด้วย วัน ๑๔ ๓ [ค่ำ]” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูก ๓” หน้าทับต้นด้าน ๒ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “หนังสือของนางมาก” ท้ายลานระบุ “ปทุมกุมาร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูกต้นแลนาย ห ฯฯ” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูกที่ ๑” ลานเปล่าทับหน้า เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “วัน ๑๒ ๔ ค่ำ เทศ วัน ๑๓ ๔ ค่ำ สวดมนต์ วัน ๑๔ ค่ำ นั่งหัตถบาส มาในเมรุ วัน ๑๕ ๔ ค่ำ สวดพระธรรม ๔ รูป ” (ตัวอักษรเอียง เขียนด้วยอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “ปทุมกุมารํ นิฏฺฐิตํ || กิริยาอันกล่าวยัง ปทุมกุมาร ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” ลานเปล่าทับหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “หนังสือนี้ของนายวุ่น หนังสือนี้ของนายวุ่น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” หน้าปกลาน “หน้าทับเค้าปทุมกุมารผูกถ้วน ๔ ปลายหมู่แลนายเหย” อักษรไทย ปากกาลูกลื่นน้ำเงินเขียนว่า “หน้าตับเก่า เล่มปายและนายเหย“ ท้ายลาน ระบุ ปทุมฺมชาตกํ นิตฺถิตํ กริยาอันกล่าวสังวรรณนาวิเศษเทศนาหอแหดปุทมชาดกก็สมเร็จสรเด็จเท่านี้ก่อนแล ๛
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “หน้าต้น บัวหอม ผูก ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ผู้ข้าตนชื่อว่า อุตรภิกขุ สร้างหนังสือบัวหอม ไว้ค้ำชูพุทธศาสนา ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพานเป็นยอดแด่เทอะ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูกท้วนสอง” และดินสอ “นายสกาแก้ว เขียนแล้วอยู่บ้านหินหน่อ”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1-6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอมผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วยามแถจักใกล้ค่ำ พร่ำว่าได้ปีขาล เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๑ แลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีบ่งาม ใหม่แล เหตุใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ตกกับผิดเสียแควนหลาย ขออย่าไปด่าจาขวัญข้าแท้เนอเจ้าเนอ นายเนอ ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อย บ่เสมอแท้แล ๛ ข้าขอกุศลบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดาครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ เอ้ย(เอื้อย) อ้าย น้อง ข้า จิ่มเทอะ” หน้าทับปลาย ระบุ “เขียนเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ร.ศ.๑๐๙ เขียนเมื่ออยู่วันดอนตะโกและ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอ
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าก่อนทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “บวัหอม ผูก ๓” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูก ๓ แล ฯฯ๛” / “ศรัทธาอาวหนานจันดี กับภริยา ชื่อว่า อาเภียร มีศรัทธาสร้างธรรม ชื่อว่า อภิธรรม ๓ ไตร กับบัวหอม ขอหื้อไปรอดลูกผู้ ๑ ชื่อว่า หนานปาน ลูกเขยผู้ ๑ ชื่อว่า รอด นอกกว่านั้นทั้งปิตามารดาชุผู้ชุคนแด่ แด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ จุ่งมีแก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“บวัหอม ผูก ๓” และ “สร้างในพุทธศักราช ๒๔๔๒ พ.ศ.๒๔๔๒” (อักษรตัวเอียง เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน) ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนายังปทุมคันธะกัณฑ์ถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลควรแก่กาลเท่านี้แล แลนายเหยฯ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “บัวหอมผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกัณฑ์ถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จ || || บัวระมวลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้ววัน ๒ ยามงัวตอบตีนบ้าน เดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม สภศก(นพศก?) ตกเข้ามาใน สันตฤดู เมื่อบ้านเมืองเหี่ยวแห้งเต็มทีแล เจ้าเฮย ยังมีน้าฅำอ้ายกับนางสวย อยู่บ้านป่ารวก ก็อุบายขงขวายหาได้” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “พระฮอมเทศน์เมื่อกลางพรรษาที ๑ ผูกนี้”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอม ผูก ๔ สร้างจุลศักราช ๑๑๘๖ แล ผูกนี้ สร้างในสมัย ร. ๒-๓ เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ วันพุธ ปีวอก ในฤดูฝนยามบ่าย พ.ศ. ๒๓๖๗ แล” (คำว่า “แล” ใช้อักษรธรรมล้านนา) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกันถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ ※ จุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัว ในวอกฉนำกัมโพชกรอมพิสัย ไทยภาษาว่าปีสัน เข้ามาในอุตุฤดูฝน เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๔ ยามตูดช้าย ก็มีวันนั้นแล || ข้าเรียนเขียนใหม่บ่งามสักหน้อยแล ตกที่ใด ขอหื้อใส่เสียจิ่ม พี่ทุพี่พระเหย ขออย่าด่าข้าพร่องเทอะ ธรรมผูกนี้ชื่อว่า ปทุมบัวหอม ผูกสี่ ※ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ โวหารตนข้าชื่อว่า คันธิยะ รัสสภิขุเขียนบ่งาม ใหม่แล” หน้าทับปลาย เขียนดินสอ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯหน้าทับเค้าปทุมบัวหอมผูก ๔”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ บัวหอมผูก ๔”และ “สร้างพ.ศ. ๒๔๔๒ ปีกุน”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีดำ “บัวหอม ผูก ๕”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้า ปทุมบัวหอม ผูกปลาย มีกับกัน ๕ ผูก แลเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พ.ศ. ๒๔๓๓” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันมาแก้ไขเทศนายังโคนะบุตรชาดก ยกแต่เค้าตราบต่อเท่าเถิงผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บัวหอมผูกปลายแล พ่ออย่าได้ไปนินทาจาขวัญข้อยแด่เทอะ ทุพี่พระทุพี่เหย เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มที่เหตุว่าบ่ช่างดีหลายแลนายเหย ขอหื้อนาบุญไปรอดไปเถิงครูบาอาจารย์พ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียนแล ตกกับผิดเสียแควนหลาย ตัวก็บ่เสมอกัน พ่อยังยายอยู่ถ้อยจิ่มเพิ่นทั้งนั้น มะยูงกูงกิง เหมือน ๑ ปูเขี่ยขอบนาท่งองนั้นแล ใจมันบ่ตั้งเพราะว่าเจ็บหลังเจ็บแอวเต็มทีแลนายเหย ผูกถ้วน ๕ แล ผู้ใดได้เล่านิมนต์พิจารณาผ่อหื้อถี่ถี่ ไม้อันใดตัวอันใดหู ผ่อหื้อถี่ถี่ดูเทอะ ที่ไหนตกนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะเนอทุพี่เหย ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดดอนมะโกแก้วกว้าง บริบูรณ์เสด็จแล้ว ตะวันพาดปลายไม้แล้ววันศุกร์ ปีขาล เดือน ๑๐ ขึ้นหกค่ำ พร่ำว่าได้วันศุกร์แลนายเหย๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันที่ 19 วันศุกร์ เดือนกันยายน ขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าบัวหอมผูกต้นแลฯฯ๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และ “สร้าง พ.ศ.๒๔๔๒ ปีกุน”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจาง “นายทองอ่านหนังสือราว(ลาว)หัวนี้ยังบ่จบเตื่อบ่ได้อย่าจบเต้” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หน้าต้นบัวหอม ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมชาดก ยกแต่เค้าปลายเป็นนิยายอันมากมาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้ว ตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาด นักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนา ปทุม ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววันอาทิตย์ ยามค่ำ เดือน ๖ ออก ๖ ค่ำ ปีวอก รัสสภิกขุจันทไช เขียนหาทางงามบ่ได้ เหมือนปูยาดคันนา อย่าไปไคร่หัวขวัญข้าเทอะ ตกที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่ม ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ธุวํ ๆ ป[จฺ]จโย โหตุ เม แก่ข้าน้อยแด่เทอะ อหํ อันว่า ข้า จักปรารถนาเอาแก้วดวงเดียวเป็นที่เพิ่ง รัสสภิกขุเหลียร(เหรียญ)ได้แต้มได้เขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงนางแมะข้าจิ่มเทอะ”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1 – 6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๕๑ (ผูกต้นแล) โคนะบุตรชาดก” ในวงเล็บเขียนอักษรธรรมล้านนา / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมมาบัวหอมผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมมชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายเป็นนิยายอันมาก มาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้วตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาดนักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนายังปทุมผูกต้น ก็สมเร็จเส็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ปทุมบัวหอมผูกต้นแล เสด็จแล้ว ตะวันบ่ายน้อย ๑ แล ปีขาล เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ พร่ำว่าได้วันจันทร์ แก่ข้าน้อยแลเจ้าเหย ข้าเขียนย่ดีบ่งาม ใหม่แล เจ้าตนใดได้เล่าได้เรียน ขออย่าไปด่าพาพ่อพาแม่ข้าแด่เทอะ ตกก็ตก ผิดก็ผิดแล ลางตัวก้ใหญ่ลางตัวก็หน้อย บ่เสมอ ข้าขอสุข ๓ ผะการ มีนิพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียน บ่ดีใหม่แลเจ้าเหย เพราะว่าใคร่ได้บุญเต็มที ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เดิือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ปีขาล วัดดอนมะโกและ ตรงกับวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล” หนัาทับปลาย ระบุ “หน้าท้บเค้าบัวหอมนายเหย มีกับกัน ๕ ผูก เท่าอี้แล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมมุกขกุมาร” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณปทุมมุกฺขกุมารชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเ[ท]ศนายังปทุมมุกขกุมารชาดก ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛ จุลศักราชล่วงไปได้ ๒๐๐๐ ๔๐๐ ๖๐ ๗ วัสสา เสด็จแล้วปีมะเมีย ฉศก ตกเข้าในวสันตฤดู เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ วัน ๓ ยามตูดเพลแล้วน้อย ๑ ศรัทธาโยมมูร โยมดา ยังอุบายขงขวายหาได้ยังใบลานมาหื้อภิกขุฅุ้มเขียนปางเมื่ออยู่วัดทุ่งหญ้าคมบางทางงาม หาบ่ได้สักหน้อย พอหยาดเป็นถ้อย ติดตามใบลาน โยมมูร โยมดา กับผู้เขียน ขอหื้อมีสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด น ปจฺเจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ (ควรเป็น นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ) แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กุมาร ผูก ๘ กุมาร ผูก ๘”
ปรมัตถพินทุ แปลภาษาบาลีแบบยกศัพท์เป็นภาษาพม่า ปรมัตถพินทุเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา ศักราช จ.ศ.1203 (พ.ศ.2384) เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสาร อักษรพม่า 38 ทีมาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา