Total : 59 pages , Total amount : 1,870 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
พระสูตรว่าด้วยเรื่อง เทวทูต
พระสูตร เรื่องเทวทูต ผูก 5
เนกขัมมะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ปัญญาบารมี (การสำรวมในกามสมบูรณ์ด้วยการพิจารณาตามจริงด้วยปัญญา)
ปัญญาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย วิริยะบารมี (ปัญญาจะฉลาดึกซึ้งกว้างขวางด้วยการหมั่นพิจารณาหมั่นตั้งคำถามหมั่นศึกษา)
วิริยะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ขันติบารมี (ความเพียรพยายามจะต่อเนื่องได้เพราะอาศัยความอดทน)
อธิฏฐานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เมตตาบารมี (ทุกๆเป้าหมายในชีวิตต้องประกอบด้วยเมตตาธรรมไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด)
ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง
เมตตาบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีความเมตตาต่อผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งปวง
สัจจะบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีสัจจะ คือ ความตั้งใจจริง การทำจริง และการพูดคำสัตย์
อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้
สมุดไทยบันทึกเรื่อง เทศนาไตรลักษณ์ และเปตวัตถุ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๒ โชติกเสรฏฐี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๓ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “โชติกะเศรษฐี มี ๔ ผูก” ลานหน้าสุดท้าย ระบุ “กล่าวยังธนัญไชยเสฏฐี ผูกถ้วน ๔ ก็บอระมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ๛ รัสสภิกขุนวร เขียนแล้ว เตชะนาบุญ อย่าคลาดแคล้วเหยหาย นาบุญจุ่งผายแผ่ไปรอดพ่อแม่วงศา ทั้งอาวอาป้าปู่ครูบาอาจารย์หมู่พี่น้อง นาบุญจุ่งผายสอดไปรอดท้าวองค์อินทา ขอจุ่งเป็นสักขีพิงต่างตอ เมื่อมูลศรัทธาสร้างก่อสมภารบุญติดตามกำเนิด ครั้นได้เกิดแดนใดบุญเลื่อมใสไหลติดต่อไปหุ้มห่อกายาดับเสียยังโรคาเจ็บหูตาเมื่อยไข้ อย่ามีเป็นหิดเป็นฝี ปวดคู่ขยี่ไอ อันใดบ่เพิงใจ อย่าได้มาพาล ขออยู่สุขสำราญเที่ยงเท่า อย่าได้โศกเศร้าด้วยรังสีหางตาดีใสส่อง คิ้วค้อมก้องตาเขียว นิ้วมือเถียวรอดเหมือนดังขูดขัดเหลา แอวกลมเลากำรวม เป็นที่ครอบเมตตา คำมักคำปรารถนามีดังนี้แล้ว บารมีแก้ว หากบอระมวล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ๛”
สมุดไทยขาว อักษรมอญ ภาษาบาลี
ท้ายลาน ระบุ “พระ ธมฺมจกฺกกปฺปวตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯฯ๛”
หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธรรมดาสอนโลก” ลานแรก หัวลาน เขียนอักษรธรรมล้านนา ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธรรมดาสอนโลก” และอักษรไทย “ธรรมดาสอนโลก” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องธรรมดาสอนโลกอันตามอันย่ออันแคบ ก็แล้วเท่า[นี้]ก่อนแล กล่าวห้องธรรมดาสอนโลก ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ จบแล้วท่านเอย ปริปุณณา เสด็จแล้ว ฯ ฯ ฯ ” (ตัวเอียง จารด้วยอักษรขอมไทย)
พระธรรมเทศนา
เลขทะเบียนเดิม 1 กฏหมาย
สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง ๔ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ธัมมปทัฏฐกถาเป็นการอธิบายเนื้อหาเบื้องหลังพระธรรมบทบทต่างๆ รวมถึงแจ้งถึงผลแห่งการประกาศพระธรรมเทศนาอันเกี่ยวเนื่องกับพระธรรมบทบทนั้นๆ ว่า มีผู้ได้ผลแห่งการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เช่น ประกาศถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิต ไปจนถึงได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตผล มากน้อยเท่าไร นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายตำนาน การอธิบายศัพท์ที่สำคัญ และขยายความศัพท์ในเชิงไวยากรณ์และในเชิงธรรมนิยาม (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธัมมปทัฏฐกถา)