เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

นาม นิสสยะ
คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ นาม นิสสยะ
SAC001-023นาม นิสสยะ
ธรรมคดี

ว่าด้วยเรื่อง นาม แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ;นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป ศักราช จ.ศ. 1205 (พ.ศ. 2386) เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ วันศุกร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด, เส้นอักษรบาง ไม่ชัด ผิวใบลานสีไม่สม่ำเสมอ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 24 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

นาม นิสสยะ 11 เล่มรวม
คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ นาม นิสสยะ 11 เล่มรวม
SAC001-026นาม นิสสยะ 11 เล่มรวม
ธรรมคดี

ว่าด้วยเรื่อง นาม แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ;นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ 4 นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป หรืออาจเป็นเรื่องบาลีไวยากรณ์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 28

นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะกุ้ง
วัดใหม่นครบาล นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะกุ้ง
RBR003-325นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะกุ้ง
ธรรมคดี

RBR_003_325 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้าธาตุตะคู้ง มีผูก ๑ เสด็จแล้ว ปีซร (ฉลู?) ยามบ่ายแล เดือน ๑๐ แรม ๑ สาม ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ส ส ร ภิกขุน้อยเป็นผู้จาร ตัวบ่ดีสักน้อย หนังสือธาตุตะคูง มีผูกเดียว” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะกุ้ง” หน้ารองหน้าต้น ระบุ “โยมธิม (ทิม?) บ้านล่องโภงาม (ร่องโพธิ์งาม?) สร้างไว้ในศาสนาแลนายเหย ข้าขอกุศลนาบุญจิ่มเทอะ ขอหื้อไปถึงปิตตาและมาดาข้าแล” / ด้านหลัง ระบุ “หน้าทับเค้าธาตุตะกู้งมีผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะกู้ง ก็บังคมเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ธุวํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บ่ดีสักน้อยเพราะว่าบ่ชำนาญ ผิดที่ใดใส่หื้อจิ่มเนอ ทุพี่ทุอาวเหย”

นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะคุ้ง
วัดใหม่นครบาล นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะคุ้ง
RBR003-329นิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะคุ้ง
ธรรมคดี

RBR_003_329 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “พระธาตุตะคู่งมีผูกเดียว” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พระธาตุตะกุ้ง” หน้าหลัง หน้าต้น “๚ ห[น้]าทับเค้า ธาตุตะคูง มีผูกเดียวเท่า ฯıı นี้ เสด็จแล้วปีมะแม ยามบ่ายแล เดือนแปด แรมสี่ค่ำ พร่ำว่าได้วันทิตย์ หนังสือธาตุตะคู่งมี พรหมสุกฺขา ” (ตัวเอียง จารขึ้นทีหลัง) ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตะคู่ง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯııะ๛ ฯ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บ่ดีสักน้อยเพราะว่าบ่สะนาน (ชำนาญ) ผิดที่ใดใส่หื้อจิ่มเนอ ฯıı๛”

นิพพานมหานครสูตร
วัดท่าข้าม นิพพานมหานครสูตร
NPT009-009นิพพานมหานครสูตร
ธรรมคดี

ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในวิหารเวฬุวันว่า “นิพพานนี้เป็นสุข” พระอุทายีตั้งข้อสังกาว่า “นิพพานนี้ไม่มีเวทนา เป็นสุขได้อย่างไร” พระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า “นิพพานไม่มีเวทนานี้แลหะจึงเป็นสุข” พร้อมกับอธิบายถึงสุขที่เกิดขึ้นจากกามสุขทั้ง 5 และอธิบายว่า ถึงแม้ภิกษุที่บรรลุฌานชั้นต่างๆ ตั้งแต่ ปฐมฌานไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาตนฌาน ก็ไม่สามารถปราศจากทุกข์ได้ ต่อเมื่อบรรลุเนวสัญญาสัญญาตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายก็สิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา จึงรู้ว่านิพพานนี้เป็นสุขอย่างไร