เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

พระอาการวัตตาสูตร ผูก 1
วัดบางช้างเหนือ พระอาการวัตตาสูตร ผูก 1
NPT006-028พระอาการวัตตาสูตร ผูก 1
ธรรมคดี

ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕ คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่นๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตามระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้ ปกลานจารเป็นอักษรขอมและอักษรไทยว่า “พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ 2458 พรรษา ข้าฯ แม่อิ่ม มีใจศรัทธาสร้างหนังสือนี้ ไว้ในพระพุทธศาสนา ขอให้สำเร็จแก่พระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้นเทอญ”

พระอุณหิสสวิชัย
วัดบางช้างเหนือ พระอุณหิสสวิชัย
NPT006-027พระอุณหิสสวิชัย
ธรรมคดี

ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์ภาย ใต้ต้นปาริกชาติ ณ ดาวดึงสพิภพ ตรัสพระสัทธรรม เทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา ท้าวอมรินทร์ได้พาสุปติฏฐิตาเทพบุตรที่เศร้าโศกเนื่องจากต้องจุติจากสวรรค์ไป ดังนั้นท้าวอมรินทร์จึงกราบ ทูลให้พระองค์ทรงแสดงพระสัจธรรมเทศนาอันจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ช่วยชีวิตเทพบุตรองค์นี้ไว้ไม่ให้ตายลงภายใน 7 วันนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเทศนาคาถาอุณหิสสวิชัย เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้ามเสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่ ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้งหลายท่านจงมีความสุขเถิด

พุทธโฆษะเถระ ผูก 5
วัดใหม่นครบาล พุทธโฆษะเถระ ผูก 5
RBR003-322พุทธโฆษะเถระ ผูก 5
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๕” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ประวัติพระพุทธโฆสะ ผูก ๕” ท้ายลาน ระบุ “พุทฺธโฆสเถรํ นิฏฺฐิตํ กล่าวยังนิทานแห่งเจ้าพุทธโฆสเถร ไปม้างสิงหลภาษาหื้อเป็นมคธภาษาทั้งมวลแล้วก็นำมาตั้งไว้ในชมพูทวีป ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลกาลเท่านี้ก่อนแล ๛๛ จุลศักราชได้ ๑๑๗๗ ตัว ปีดับใค้ เดือน ๑๐ ข้า ข้าเขียนยามเมื่ออยู่สติ (สถิต) สำราญวัดราชภิ ปากล่องหางเกาะ วันนั้นแล บัญญัติว่า กัญจนรัสสภิกขุ ıı๏ เหมือนยุงตีกันแล ะ๛ อักขระบ่สม แลบล้วนเลิงหลายพอแลนา ตัวปลายอยู่ถ้อยเถิงนั้นแล ๛ ” (ตัวเอียงจารขึ้นทีหลัง / ตัวขีดเส้นใต้ ไม่ทราบความหมาย)

พุทธโฆโส
วัดใหม่นครบาล พุทธโฆโส
RBR003-341พุทธโฆโส
ธรรมคดี

ท้ายลาน ระบุ “พุทธโฆโสผูกเดียวแลแล ๚ แล้วยามบ่ายสองโมงแล พร่ำอังคารแล ทุพี่เหย ๚ ขออย่าลายมือกับศาสนาพระตถ[า]คต พร่องแด่เทอะ ข้อขอกุศ[ล]นา[บุญ] อันไป[รอด]บิดามารดา ข้าจิ่มเทอะ ขอหื้อไปรอดญาติกาครูบาอาจารย์ข้าแด่ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ข้อขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ปุญฺญกฺเขตฺตํ ปิตฺตกตยํ นิพฺพาน ปจฺจโย อหํ สาสเน เมตฺเตยฺยสฺสสุนาติธมฺมํ นิจฺจํ นิจฺจํ ı นิพฺพาเนติ ฯฯ ” / “หน้าทับเค้า หนังสือพุทธโฆโส รัสสภิกขุมากดำมอย บ้านแจงดอน ทุพี่องค์ใดเราขอใส่จิ่มเนอ ทุพี่เหยเพราะบ่เคยกำเหล็กจาคำเทื่อ” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย “พุทธะโฆโสผูกเดียว”

พุทธตำนาน
วัดใหม่นครบาล พุทธตำนาน
RBR003-338พุทธตำนาน
ธรรมคดี

RBR_003_338 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “พุทธตำนาน หนังสือวัดท่งต้นตาล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “พุทธตำนาน” และสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙” ท้ายลาน ระบุ “ก็บังคมสมเร็จเสด็จบรมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้วเดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๖ จุลศักราชได้ ๒ พัน ๔๐๐ ๔ สิบ ๙ พระวัสสา ตนข้าน้อยผู้ชื่อว่า รัสสภิกขุ อาริยะพุทธะอัตติ เขียนบ่งามสักหยาด เหมือนปูยาดคันนา ข้าขออย่านินทาขวัญข้าจิ่มเทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ๛” หน้าปลาย “หนังสือตำนานพระยาอินทา หนานภิว สร้างไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้านี้ ข้า [ขอ] สุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงทุกอันแด่เทอะ”

พุทธตำนาน
วัดใหม่นครบาล พุทธตำนาน
RBR003-337พุทธตำนาน
ธรรมคดี

RBR_003_337 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” ท้ายลาน ระบุ “สมเร็จเสด็จบรมวลกาลควรเท่านี้ก่อนแล ๛ เขียนเดือน ๗ แล้วเดือนแปด ขึ้น ๑๕ ค่ำ ซ้ำใช้ปลาย่างไปนอนกับแมว ซ้ำใช้ลูกไก่นอนกับแหลว ซ้ำใช้แมวไปนอนกับหมา ใช้ลูกกาไปนอนกับไก่ ใช้หน่อไม้ไปนอนในในหม้อ ใช้ปลาก่อไปนอนในเขียง เขียงครัวปลา ใช้อีหล้าไปนอนในเรือน ใช้เดือนไปนอนกับตาวัน ใช้มดแดงคันไฟนอนในหม้อตาล ฯ๏ฯ” จบแต่เท่านี้แล ๚ นายเหย หน้าต้น หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับเค้า พุทธตำนาน ข้อยเขียนบ่ช่างสักหน้อย ปัน (ปาน) หนึ่งปูยาดคันนา ปัน (ปาน) หนึ่งปลาบ้วนอยู่ในน้ำเป็นพวกเป็นฝูงแลนายเหย ภิกขุแก้วปางเมื่ออยู่วัดดอนแจงแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย ข้าขอกุศลไปไปรอดฮอดพ่อฮอดแม่ ข้าจิ่มตัวข้าจิ่มเนอ”

พุทธตำนาน
วัดใหม่นครบาล พุทธตำนาน
RBR003-336พุทธตำนาน
ธรรมคดี

RBR_003_336 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับ พุทธตำนานแลนายเหย บ่านาค น้องพี่อร อ้ายน้อยยอด” หน้ารอง หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า พุทธตำนานเหย” / หน้าหลัง เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานพญาอินทร์” ท้ายลาน ระบุ “เสด็จแล้ววันศุกร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ ข้าเขียนพุทธตำนานนี้ ข้าขอส่วนกุศลนาบุญอันี้ไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องวงศาทั้งมวลนั้นเทอะ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ ข้าขอพระปัญญามาปันหื้อข้าพร่องแด่เทอะ หน้าทับเค้าพุทธตำ[นาน]แล เขียนตัวบ่ดีไปด่าข้าเนอ อยากใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเฮย ข้อยรัสสภิกขุ อิ ดอนซาด ปางเมื่ออยู่วัดดอนแจงแลนายเหย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐”

พุทธตำนาน
วัดใหม่นครบาล พุทธตำนาน
RBR003-113พุทธตำนาน
ธรรมคดี

หน้าทับเค้าระบุ “ฯı เขียนยามเมื่ออุปสมบทอยู่วัดดอนแจง ฯ ฯı หน้าทับเค้าพุทธตำนานแลท่านเหย ฯ๛๛ฯ ฯı ตัวบ่ดีสักน้อยเหมือนปูน้อยยาดหัวคันนา ฯ”, “เป็นที่ระลึก” และ “๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ครั้นว่าตายไปตกที่ร้ายขอหื้อ ฯı๛ ๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ยกย้ายขึ้นสู่ที่สูงแด่เทอะฯ๛” ท้ายลานระบุ “จบราทธนาเทศน์เท่านี้ก่อนแลท่านทั้งหลายเหย ฯı๛” หน้าทับปลายระบุ “หน้าปลายพุทธตำนานแลท่านเหยนายเหย ฯı๛ พระเวียนเขียนยามเมื่ออยู่วัดดอนแจงนี้แล ฯı๛”, “เป็นเป็นที่พระระลึก” และ “เสด็จแล้ววันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ๓ โมงเช้า ฯı ปีวอก พระพุทธศักราชได้ ๒๔๖๗ ฯı๛”