เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

เมณฑกเศรษฐี ผูก 3
วัดใหม่นครบาล เมณฑกเศรษฐี ผูก 3
RBR003-134เมณฑกเศรษฐี ผูก 3
ธรรมคดี

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๒ โชติกเสรฏฐี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๓ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “โชติกะเศรษฐี มี ๔ ผูก” หน้าทับต้น “เมณฑกเสฏฐี ผูก ๓ แลท่านเอย๛”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาคอแร้ง “เมณถก่เสดถี” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอ “ดอนแจง” ท้ายลาน ระบุ “เมณฑกวตฺถํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสำแดงเมณฑกวัตถุผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนแล๛หน้าต้นหนังสือเมณฑกเสฏฐีแล ๏ ฯ เสด็จแล้วปีมะโรง จัตศก ตกอยู่ในคิมหันตฤดู เดือน ๗ แรมสิบ ๑ ค่ำ วัน ๒ แลเจ้าที่ไหว้ [นิพฺ]พาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่ ๛ มีรอยแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีดำ

โมคคัลลาหลงโลก
วัดใหม่นครบาล โมคคัลลาหลงโลก
RBR003-104โมคคัลลาหลงโลก
ธรรมคดี

หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงระบุ “โมคคัลลาหลงโลก” ลานแรกด้านซ้ายมือระบุ “โมคคราโหลงโลก” เขียนเลขไทยกำกับหน้าด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินด้านซ้ายมือของลานหน้าหงาย “๑ - ๑๖”, เขียนภาษาไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินกำกับชื่อบุคคลในเนื้อหา และเขียนแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีแดง ท้ายลานระบุ “มหาโมคฺคลฺลานชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาเทศนายังมหาโมคคัลลานเถรเจ้าอันไปหลงโลกอันออกมาในฏีกาธรรมบทก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ จบแล้วเจ้าศรัทธา ทุพี่ค่ำก็พร้อมกับโยมแลน้องสร้างไว้ค้ำชูพระศาสนาโคตมเจ้านี้ก็ขอหื้อมีสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดชู่ผู้ชู่คนแลเจ้าเหย บ่ใคร่ดีหลาย ทุพี่ค่ำเหย มันผิดทัดใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่เหยผ่อไปตามันช่างลายเสียแลนา ทุพี่เหย ๚๛”

ยโสธราพิมพา ผูก 1
วัดใหม่นครบาล ยโสธราพิมพา ผูก 1
RBR003-312ยโสธราพิมพา ผูก 1
ธรรมคดี

RBR_003_312-317 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๒ ยโสธรา พิมพา ผูก ๑ – ๖ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ๖ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ยโสธราพิมพา ผูกต้น / หนังสือหนานแจ้งสร้างไว้ในศาสนา ” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ยะโสธรา ผูก ๑” และ ดินสอ “แลวะ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง ยโสธรา ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อน ๆ แล ๛๛๛๛๛๛ เสด็จแล้วบ่าย ๒ โมงเศษ สะเล็กสะหน้อย” ๛๛๛๛๛๛๛๛ เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือนอ้าย วันขึ้น ๕ ค่ำ วัน ๓ หน้าต้น หนานแจ้งสร้างไว้ในศาสนา พระพุทธเจ้า ธรรมเจ้า สังฆเจ้า แลนา ๛๛”

ยโสธราพิมพา ผูก 3
วัดใหม่นครบาล ยโสธราพิมพา ผูก 3
RBR003-314ยโสธราพิมพา ผูก 3
ธรรมคดี

RBR_003_312-317 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๒ ยโสธรา พิมพา ผูก ๑ – ๖ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ๖ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ท ı หน้าต้น ยโสธราพิมพา ı ผูกถ้วน ๓ มีกับกัน ๖ ผูก แลนา ı หนังสือหนานแจ้งสร้างไว้ในศาสนา ı แล / รัสสภิกขุเงิน อยู่บ้านต้นม่วง / เขียนดี ” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ยะโสธรา ผูก ๓” ท้ายลาน ระบุ “ยโสธราชาตกํ นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวห้อง ยโสธราพิมพาเถรีภิกขุณี ผูกถ้วน ๓ แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ เสด็จแล้ววัน ๕ เดือน ๑๒ ศีล ปีมะเมียแล หนังสือหนานแจ้ง บ้านหัวนา สร้างไว้ในศาสนาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระพสังฆเจ้า ıı หน้าต้น พิมพา ıı”

ยโสธราพิมพา ผูก 4
วัดใหม่นครบาล ยโสธราพิมพา ผูก 4
RBR003-315ยโสธราพิมพา ผูก 4
ธรรมคดี

RBR_003_312-317 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๒ ยโสธรา พิมพา ผูก ๑ – ๖ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ๖ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ยโสธราพิมพา ผูก ๔ มี ๖ ผูก” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ยะโสทะลา แบบที่ ๔ พ:ศ ๒๔๕๙ ๓” และเขียนอักษรขอมไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ยโสทฺธลา แบฺบทฺธี ๔ ฯฯ” ท้ายลาน ระบุ “ยโสธราชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าว ยโสธรา ผูก ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้วยามเย็นตาวันตกแล้วนา / ยโสธราพิมพา ผูก ๔ ı ๔ ๛ มีซาว๑๙ ใบทั้งนี้ ๛” (ตัวเอียง จารเป็นตัวเลขไทย)

ยโสธราพิมพา ผูก 6
วัดใหม่นครบาล ยโสธราพิมพา ผูก 6
RBR003-317ยโสธราพิมพา ผูก 6
ธรรมคดี

RBR_003_312-317 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๓๒ ยโสธรา พิมพา ผูก ๑ – ๖ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ๖ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าต้น ยโสธราพิมพา ผูกถ้วน ๖ แล มี ๖ ผูกกับกันแลขอ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ยะโสธรา ผูก ๖” ท้ายลาน ระบุ “เทสนายโสธรปรินิพฺพานวตฺถุํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังห้อง ยโสธราปรินิพพาน ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนแล ı สุทินฺนํ วตฺตเม ทานํ / ร อรฺิยเมตฺเตยฺย์ สพฺพญูตญาณ อรหนฺตามคฺคญาณํ ทินฺนํ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ı หนังสือหนานแจ้ง สร้างไว้ค้ำในพระศาสนา ı แลนา”

ยอพระกลิ่น
วัดดอนขนาก ยอพระกลิ่น
NPT002-005ยอพระกลิ่น
วรรณคดี

ยอพระกลิ่น หรือมณีพิชัย เป็นกลอนบทละครนอก เนื้อเรื่องคือ พระอินทร์พานางเกษณีที่เป็นมนุษย์ไปอยู่ด้วยที่เมืองสวรรค์ และได้ให้กำเนิดธิดาชื่อ ยอพระกลิ่น และได้นำไปใส่ไว้ที่ปล้องไม้ไผ่ในเมืองมนุษย์ จนยอพระกลิ่นเติบโตขึ้นก็ได้พบกับมณีพิชัยจึงได้แต่งานกัน แต่พระมารดามารดาไม่โปรดยอพระกลิ่น จึงหาวิธีต่างๆ นานา มาแกล้ง ครั้งหนึ่งเคยใส่ร้ายยอพระกลิ่นว่าเป็น ภูติผีปีศาจ มากินแมว สุดท้ายพระอินทร์ผู้เป็นพ่อจึงลงมาช่วยคลี่คลายปัญหา จนในที่สุดยอพระกลิ่นและมณีพิชัยจึงได้ครองรักกันอย่างมีความสุข

ยันต์ คาถาและตำรายา
วัดใหม่นครบาล ยันต์ คาถาและตำรายา
RBR003-072ยันต์ คาถาและตำรายา
ตำราไสยศาสตร์,ตำราเวชศาสตร์

สมุดไทยบันทึกตำรายา คาถา และยันต์ ต่าง ๆ เช่น คำไหว้พระบาทพระธาตุ(แบบภาคเหนือ), ตำราดูนักษัตร, คาถาเสกชายผ้า, คาถาพาหุงเหนียว, คาถามนต์สรรพ, คาถาเสกไม้เสกดาบฟัน, คาถานกแขกเต้า, คาถาเสกสุรา, คาถาภาวนากันตัว, คาถาคลาดแคล้ว, คาถาเสกขี้นผึ้งสีปาก, คาถาเสกหมาก, คาถาเสกเหล็กภาวนาข่าม, ยันต์มณีโชติข่ามละเมาะ, ยันต์หอกแสนด้ามข่ามหน้าไม้, ยันต์สงครามสินาดบ่จับ, ยันต์คลาดแคล้ว, ยันต์ลำเวียง ๕ ชั้น, ยันต์ใส่ผ้าหมาบ่เห่า, ยันต์มณีโชติเข้าสงครามปราบแพ้, ยันต์หัวใจพระยาข่มสงครามชนะ, ยันต์ข่ามกล้าผี, ยันต์ใส่ผ้าหมาบ่เห่า, ยันต์ใส่คอกล้าตู้, ยันต์ใส่เรือท่านรัก, ยันต์ใส่เรือนจำเริญสวัสดี, ยันต์ใส่ขุมพิชชะปลูกลูกเป็นดกใส่ท้างนาดีงาม, ยันต์แม่กำเดือน, ยาแม่กำเดือน, ยาเขียวสรรพ, ยาทราง, ยาเกี่ยว, ยาเขียวแก้ไข, ยาแก้กานในอก, ยาริดสีดวง, ยากลอน, ยาตา, ยาหลุเลือด, ยาสันนิบาต, ยาเลือด ยามะเร็งคุด ฯลฯ

ยันต์และตำราทำขวัญข้าว
วัดท่าพูด ยันต์และตำราทำขวัญข้าว
NPT001-015ยันต์และตำราทำขวัญข้าว
ตำราไสยศาสตร์,ตำราเบ็ดเตล็ด

ในตอนต้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมคาถาอาคมที่ใช้ท่องเสกกำกับเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคาถาภาษาบาลีที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเช่น พุทฺโธเมตตา ธมฺโมกรุณา สงฺโฆเอ็นดู นโมรักใคร่ เป็นต้น นอกจากที่ยังมีภาพยันต์ต่างๆ ที่นำไปเขียนบนผ้าหรือกระดาษเพื่อประกอบการทำเครื่องรางของขลังเช่น ตระกรุด ด้ายมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องรางที่ใช้ป้องกันภัยอันตรายทั้งมวลที่น่าสนใจคือ ยันต์มงกุฏพระเจ้า ที่ใช้ประกอบกับผ้าประเจียด ซึ่งยันต์นี้ได้ระบุว่าเป็นของ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าพูด ต่อมาเป็นเรื่องการทำขวัญข้าว เนื้อหากล่าวถึงกำเนิดพระแม่โพสพ แต่ไม่จบเรื่อง สุดท้ายมีสูตรยาสมุนไพรอีก ๒ อย่างคือ ยาเครื่อง และยาดอง