เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

หมาหลุย ผูกต้น
วัดใหม่นครบาล หมาหลุย ผูกต้น
RBR003-118หมาหลุย ผูกต้น
ธรรมคดี

หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าหมาหลูย ผูกต้น”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หมาหลุย ผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มี ๒ ผูกกับกัน” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาแก้ไขยังสุนัขชาดก ผูกต้น ยังอันสลิดตีต่อกันไปมาภายหน้า ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลนายเหย เขียนบ่ดีสักน้อย ปูยาดหัวคันนานั้นแล้ว รัสสภิกขุอินสร ปางเมื่ออยู่วัดหนองปลาหมอ ขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดา พี่น้อง ครูบาอาจารย์ข้าจิ่ม กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ ธุวํ ๆ แก่ข้าแด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม อนาคเตกาเล ฯ เขียนจบวันภะหัต แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ นายเหย ฯ”

หมาหลุย ผูกปลาย(ผูก 2)
วัดใหม่นครบาล หมาหลุย ผูกปลาย(ผูก 2)
RBR003-119หมาหลุย ผูกปลาย(ผูก 2)
ธรรมคดี

ลานแรกด้านซ้าย ระบุ “หน้าต้น หมาหลุย ผูกปลาย มี ๒” ท้ายลาน ระบุ “สตฺถา อันว่า สัพพัญญูพระพุทธเจ้าแห่งเรา ก็เทศนาแก้ไขยังอติตธรรมเทศนาอันนี้มาหื้อแจ้งแก่จตุบริษัท ๔ จำพวกแล้ว ก็ควรจำไว้ในมโนทวารวิถีจิตหื้อมั่นแท้ อย่าได้ประมาทแก้วทั้ง ๓ ประการ แม้นชื่อดังฤๅก็ดี ก็จักได้เถิงสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นที่แล้วบ่อย่าชะแล || สุนขาชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันจักสังวรรณนาแก้ไขยังสุนัขขาชาดกอันยกมาแต่เค้าตราบต่อเท่ามารอดเถิงปลาย ย่อมเป็นนิยายหลายประการต่างหากปูนวอน ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้วตาวันใสน้ำแลงแล เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๒ เพราะว่าอยากกินมาอันทันประเดี๋ยวนี้แลนา รัสสภิกขุเริง สร้างหนังสือมาหหลุย ผูกปลาย มีกับกัน ๒ ผูกแลเจ้าเหย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ

หมูเถื่อน
วัดใหม่นครบาล หมูเถื่อน
RBR003-116หมูเถื่อน
ธรรมคดี

บันทึก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หมูเถื่อน” ลานแรกด้านซ้ายมือ “หมูเถือง(ควรเป็น หมูเถื่อน?)ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “มหาตุณฺฑิลชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันพรรณนาสักเสริญยังชาติปางเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดเป็นหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ชื่อว่า มหาตุณฑิละ ชาตกอันนี้อันถ้วน ๓ มีในศก ๕๐๐ ชาติ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ||๛||| เสด็จแล วันจันทร์ก่อนเพล เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ พร่ำว่าได้ วันจันทร์แลนายเหย ||๛๛ หน้าทับเค้าหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ผูกเดียวแลนายเหย ข้าขอสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ แล้วข้าขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้า พ่อแม่พี่น้อง XXX ครูบาอาจารย์แก่แด่เทอะ รัสสภิกขุขาว กะลังหัดเขียนใหม่ บ่ดี ทุพี่พระพี่ได้เล่าได้เรียน อย่าไปด่าหีแม่ข้าเทอะ อยากใคร่ได้บุญเต็มที สร้างธรรมผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าตราบต่อเท่าเข้าสู่พระ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ เป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

หอยสังข์ ผูก 2
วัดใหม่นครบาล หอยสังข์ ผูก 2
RBR003-217หอยสังข์ ผูก 2
ธรรมคดี

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” RBR_216-217 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หอยสังข์ผูกที่ ๒” และเขียนอักษรธรรมด้วยดินสอดำ “ผูกที่ ๒”, “ผูก ๒ วัดใหญ่” / ด้านหลัง เขียนอักษรขอมไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“ทฺทายถานิหิอํปตุพุทฺโธอํสุนาเมเหกฺนน” ลานแรก ด้านซ้ายมือ “สุวรรณหอยสังข์ ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราช นิฏฺฐฺตํ กิริยาสังวรรณนาสังขราช อันถ้วน ๔ ก็เสด็จบอระบวลควรแก่เท่านี้ก่อนแล ☼ เสด็จแล้วยามเมื่อตาวันบ่ายโมง ๑ แลนายเหย พร่ำว่าได้วันอังคารแลนายเหย ยามเมื่อเพิ่นเทศน์คาถาพันนั้นแลนายเหย เพราะชีนั้น ตัวบ่่บิด เพราะว่าหันอีนั้นมันนั่งอยู่ริมหัวขั้นได อี ๑ นั้นมันอยู่ทัดเสาหั้นหนาอาเหย รัสสภิกขุอยู่บ้านนาหนอง เขียนหนังสือนี้ไว้ค้ำชูศาสนา มีทุโทพร้อมกับโยมดี โยมมูน กับเอื้อยมี อีทิพย์ อีชำ บาเรือน บาเจียม บาเคียม กับทุุพี่โห อย่าไปด่าข้าเนอ ทุพี่โหเหย เพราะว่าใจบ่ดี หันสาวมันมาวัด วันเทศน์คาถานั้นหนาอาเหย แก้มอองตอง ทองบ่พอให้ เจ้ารอเอาให้พอเฟื้อง ทิพย์เหย ทิพย์เหย” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “โยมดี โยมมูน สร้างไว้กับศาสนา ๕๐๐๐ วัสสา” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒ วัดอ่างทอง”

หอยสังข์ ผูก 5
วัดใหม่นครบาล หอยสังข์ ผูก 5
RBR003-219หอยสังข์ ผูก 5
ธรรมคดี

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าสุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มีอยู่หกผูก๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หอยสังข์ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “เจ้าสุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มี ๕ ผูกกับกัน ฯ บ้านหนองผ้าขาวนามนาโพ ฯ วัดโพธิ” / ด้านหลัง ระบุ “หน้าทับเค้า สุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มีหกผูกกับกันแล” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราช นิฏฺฐิตา กิริยาอันจายังสุวรรณสังขราชกัณฑ์ถ้วน ๕ ก็เสด็จบอระมาลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้ววันเสาร์ ในเพล แลนายเหย || ที่นี้ || รัสสภิกขุอิน อยู่บ้านมะโก มีศรัทธา กับทั้งบิดา คือว่า พ่อ มารดา คือว่า แม่เห่งข้า กับทับพี่อ้ายพี่เอื้อยพร้อมกันมีศรัทธากับผู้ข้าสร้างหนังสือกับนี้ ชื่อว่า เจ้าสุวรรณสังข์ ผูก ๕ เสด็จแล้วปีจอ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ วัน ๖ ข้านี้หังว่าเขียนบ่งามสักน้อยแท้ใด ลางตัวเหงี่ยงหัวเข้า ลางตัวเหงี่ยงหัวออก คันว่าผิดที่ใด ใส่หื้อข้าเทอะเนอ ๛”

หอยสังข์ ผูก 6
วัดใหม่นครบาล หอยสังข์ ผูก 6
RBR003-222หอยสังข์ ผูก 6
ธรรมคดี

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “หนังสือหอยสังข์ ผูกถ้วน ๖ แลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขชาตกํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ เสด็จแล้ว จบเมื่อเพลแล ขึ้นสิบ ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพุธ แล ทุโห หาใบลานมาหื้อทุมูน ขี้ร้ายไร้ เขียนบ่ดีสักหน้อย เหมือนปูยาดคันนาแลนายเหย บ่เคยสักคำเทื่อ กะลังหัดใหม่แลเจ้าข้าเหย อย่าไปติเทอะเนอ กะลังเป็นเขยใหม่ ซันตัวก็ใหญ่ ซันตัวก็น้อย บ่เหมือนกันดอก ค่อยดูไปหื้อถี่เนอ ผู้ข้าเขียนอย่าไปใคร่ได้บุญเต็มทีแล ทุโห กับโยมดี โยมมูน เอื้อยมี อีทิพย์ อีจำ บาเรือน บาจูย บาเฅียม แลนายเหย มาพร้อมกับกัน จิ่งได้สร้างหนังสือหอยสังข์ ผูกถ้วน ๖ แล ผู้เขียนขอหื้อได้บุญเท่ากันเนอนายเอย ข้าขอไปอยู่บ้านดอนชาดได้เก่า ทุโหเหย เพราะชีนั้น ข้าชั่งได้เขียน ฯ ฯ แล ฯ ฯ งำหานี้ อ้ายก็มาหาน้อง บ่ใช่มาด้วยง่าย มีทั้งภูผาขันหนีตันก็ได้สวี คนทั้งหลาย พืนก็สวี ไม่ตัวอ้ายสวีหนี เอิอย หิ้ก เหย หัวแท้ ฯ ฯ ชำหานี้ อ้ายก็ไปตีเผิ้ง มีแม่น้ำน้อยสั้น กันถ่อได้ทางออกไปจักคดจักเรียวมีแม่น้ำเกี้ยวกัน เมืองสีพันดอน คอนสวรรค์ มีแจ้งจักบ่อน น้ำแต่ก่อนไหลแบ่ง จักค้อนเป็นดอนทรายอยู่ใสเด เจ้าให้เจ้าเว้าสูตรต้นสูตรปลาย อีแม่สิจำปลาสังมาเจตนาอยู่แท้น้อย ฯ หลอนหล้าน้อยเจ้าละหล้าเต็มที มาภี้สิแก้ผ้าห่ม ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ข้อยผู้ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดปิตตามารดาจิ่ม ผู้ข้าทั้งหลาย ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๖ วัดนาหนองเซิง” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน และดินสอดำ

หอยสังข์ ผูกต้น
วัดใหม่นครบาล หอยสังข์ ผูกต้น
RBR003-216หอยสังข์ ผูกต้น
ธรรมคดี

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” RBR_216-217 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หอยสังผูกที่ ๑” “มี ๖ ผูกกับกัน” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “นายเรียน เรียนที ๑ แล้ว บ้านดอนชาติ”(ดอนชาก) /ด้านหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “อ่านออกแล้วหนา” หน้ารอง หน้าทับต้น จารไม่ลงหมึก “นายทองอยู่ มันเรียนที หนึ่งแล้ว” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ผูกต้น หอยสังข์” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราชาชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังสุวรรณสังขราชชาผูกต้น ก็เสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแลนา ฯ อย่าไปด่าผมเนอขุนท้าวเหย รางตัวก็ใหญ่ ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอ ระบุ “ผูกต้นวัดคอนบ้าน หอยสังข์ผูกต้น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ