เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

สุภาษิตสอนสตรี
วัดบางช้างใต้ สุภาษิตสอนสตรี
NPT005-004สุภาษิตสอนสตรี
วรรณคดี

สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)

สุรินทชาดก ผูก 5
วัดใหม่นครบาล สุรินทชาดก ผูก 5
RBR003-152สุรินทชาดก ผูก 5
ธรรมคดี

มัดรวมกัน มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน ระบุ “เรื่องสุริน มี ๕ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “สุริน ผูกที่ ๕” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “สุรินท ผูกถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “สุรินฺทชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนาอันวิเศษเทศนาห้องเหตุสุรินทชุมพู ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || หน้าทับปลาย สุรินท ผูกปลาย แลนายเหยแล ก็มีโยมฅุ้ม โยมดวง ก็พร้อมกับด้วยลูกเต้าชู่ผู้ชู่คน ก็มีศรัทธาเอาใบลานมา ข้าเขียนบ่งามสักน้อยแลนายเหย อย่าได้ด่าข้าเนอ บ่ช่างสักคำเทื่อแล รัสสภิกขุจันทสอนบ่เคยสักน้อยแล อย่าไปเล่าขวัญข้า อย่าไปด่าข้อยเทอะ บ่ช่างแท้แท้แล ตั้งแต่วันนี้ไปขอหื้อข้าดีเหลือนี้ไปจนเท่าวันตายแล ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ” ลานหน้าทับ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีม่วง “นายสุรินต๊ะจุมปูผูกห้านายเฮย” มีรอยแก้ไข้ด้วยดินสอดำ

สุรินทชุมพู ผูก 5
วัดใหม่นครบาล สุรินทชุมพู ผูก 5
RBR003-162สุรินทชุมพู ผูก 5
ธรรมคดี

มัดรวมกัน มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน ระบุ “เรื่องสุรินตะจุมพู มี ๕ ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๚ หน้าทับเค้าสุรินทชุมพู ผูกถ้วน ๕ แลนายเหยฯ” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “๕” ท้ายลาน ระบุ “สุรินฺทชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนาอันวิเศษเทศนาห้องเหตุสุรินทชุมพู ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ วัน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ เท่านี้แล” หน้าทับปลาย ระบุ “เมื่อจักเทศนาหื้อตั้งเครื่องต่างๆ คือว่า ช่อหื้อพอร้อยผืนแล ทุงก็ร้อย ข้าวก็ร้อยก้อน ฯ เทียนก็ร้อยเล่ม ฯ ประทีบก็ร้อยดวง ดอกไม้ก็ร้อยดอก ฯ หื้อบอระมวลแล้ว จิ่งเทศนาธรรมหื้อแม่นอย่างในคัมภีร์แล้วก็จักสมฤทธีดังเทศนามาแล” และ “สุรินทชุมพูปราบทีปจุ่งกระทำบุญไปไจว้ๆ อย่าได้ขาด ฯ มูลศรัทธาเลยออกเจ้า ฟังแต่เค้าเถิงปลายเทอะ”

สุวรรณเหนคำ
วัดใหม่นครบาล สุวรรณเหนคำ
RBR003-131สุวรรณเหนคำ
ธรรมคดี

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เห็นคำ”, ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “เหนฅำ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวรรณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ เสด็จแล้วจบบ่าย ๒ โมงแลนายเหย ปีวอก เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ วัน ๗ แลนายเหย รัสสภิกขุฅำ อยู่วัดนาหนอง บ้านอยู่นาหนอง ข้าได้สร้างธรรมเหนฅำผูกนี้ ข้าขอสุข ๓ ประการแด่เทอะ ขอหื้อไปรอดพ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ใจบ่ตั้งเหตุว่าใคร่สิกข์เต็มทีแลเจ้าเหย ตัวใหญ่ก็ใหญเท่าช้าง น้อยก็น้อยเท่าหิ่งห้อย บ่เท่ากัน ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด เสียหลายแลนายเหย บ่อเคยสักคำเทื่อแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าหีแม่ข้อยเนอ ทุพี่พระพี่เหย ผิดที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ข้าขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอด ธุวํ ธุวํ แด่เทอะ หน้าทับเค้าหนังสือเหนฅำผูกเดียวนี้ม่วนหลายแท้เนอ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน สีแดง และดินสอดำ

สุวรรณเหนคำ
วัดใหม่นครบาล สุวรรณเหนคำ
RBR003-128สุวรรณเหนคำ
ธรรมคดี

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “สุวณฺณเหนฅำ”, หน้าทับเค้า ระบุ “สัทธานายชูกับเอื้อยต่วสร้างหนังสือนี้  หน้าทับเค้าสุวรรณเหนฅำ”, จารอักษรไทย “นายูนางต่วนบ้านหินกองสร้างไว้จ๊ะ” และจารอักษรขอมไทย “๑๕ ลานทานแล้ว” หน้าทับเค้าใบที่ ๒ ระบุ “๚ ศรัทธาหนานจูนางต่วน นางธีม หนานแดง พ่อฅุณอินสร้างหน้าสือไปถึงพ่อเนตรแม่นางลุงซื่น ป้าภุม พ่อแดง ปู่ถี น้อยเพียะ ถึงครูบาอาจารย์ อิมํ นาม รูปํ ผญานาบุญมีพระยาอินทร์เป็นยอดแผ่ไปรอดไปเห็นอวิจี แม่นางธรณีผู้เป็นแก่แผ่ไปรอดสรรพสัตว์ทั้งหลาย สพฺเพ สตฺตา (อ)เวรา โหนฺตุ” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ๛ เขียนบ่ดีบ่งามสักน้อยข้อยเขียนตามง่าวตามโง่ข้อยเขียน”

สู่ขวัญข้าวในเล้า
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สู่ขวัญข้าวในเล้า
NPH001-036สู่ขวัญข้าวในเล้า
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม

พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.

สู่ขวัญควาย
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สู่ขวัญควาย
NPH001-060สู่ขวัญควาย
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม

คัมภีร์ใบลานเรื่องที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็นเอกสารที่เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้รับบริจาคมาจากนายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ คัมภีร์ใบลานเรื่อง NPH001-060 สู่ขวัญควาย เป็นใบลานขนาดสั้นเรียกว่า ใบลานก้อม สภาพเอกสารชำรุดเล็กน้อย ขอบลานขาดแหว่งแต่ไม่มีผลกระทบต่อการอ่าน ตัวอักษรชัดเจน จารด้วยตัวอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน พิธีกรรมสู่ขวัญควาย เป็นการปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ ตลอดจนเป็นการขอขมาโทษต่อควายที่ได้ใช้งานหนักหรือเฆี่ยนดีมาโดยตลอดในช่วงของการทำไร่ไถนาที่ผ่านมา โดยเนื้อหากล่าวถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปจนถึงขั้นตอนในการประกอบพิธี ------ ข้อมูลอ้างอิง “สู่ขวัญควาย : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4778-4782.

สู่ขวัญพ่อแก่บูชาพระยาแถน, ตำราพรหมชาติ
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สู่ขวัญพ่อแก่บูชาพระยาแถน, ตำราพรหมชาติ
NPH001-056สู่ขวัญพ่อแก่บูชาพระยาแถน, ตำราพรหมชาติ
ตำราโหราศาสตร์,ประเพณีและพิธีกรรม

แถน พระยาแถน หรือ ผีฟ้าผีแถน เป็นชื่อที่ชาวอีสาน และประชาชนในอาณาจักรล้านช้างใช้เรียก “เทพเจ้า” ผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก พระยาแถน อาจจะเทียบได้กับเทพเจ้าสำคัญทั้งสามของอินเดีย คือ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/56 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “แถน, พระยา.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 1534-1536.