เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

อานิสงส์เวสสันตระ
วัดใหม่นครบาล อานิสงส์เวสสันตระ
RBR003-345อานิสงส์เวสสันตระ
ธรรมคดี

หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อานิสงส์” และสีแดง “เวสันตะระ” หน้ารองหน้าต้น 1 ระบุ “หน้าทับต้นอ[า]นิสงส์มห[า]เวสสันตระแล  นาตํนอะนิสํงม่หาเวษสันต่ระแลทารเอย ฯ ” (ตัวเอียง จารอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “ นาตน” หน้ารองหน้าต้น 2 ระบุ “ไมงามเลยทารเอย ไมดีเลยทารเอย ” (ตัวเอียง จารอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนาอานิสงฺสมหาเวสฺสนฺตรกณฺเฑสกฺเข แต่กริยาอันกล่าว อ[า]นิสงฺสผล อันได้บูชา มหาเวสฺสนฺตรชาตก ก็บรมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛” หน้าปลาย ระบุ “ส่วนกุศลบุญอันข้าได้เขียน ขอหื้อนำเอาตนตัวข้าไปเกิดในดวงแก้วที่ข้ามานั้นเทอะ ๛ / หน้าทับอานิสงส์มหาเวสสันตรแล ๛”

อานิสงส์สรรพทาน
วัดใหม่นครบาล อานิสงส์สรรพทาน
RBR003-347อานิสงส์สรรพทาน
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าทับเค้า อานิสงส์สรรพทานต่างๆ มีผูกเดียวแลนายเหย ฯฯ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อานิสงส์สัพพทาน” ท้ายลาน ระบุ “สพฺพทานํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังผลอานิสงส์อันได้หื้อทานยังสรรพวััตถุทั้งหลายเป็นทานนั้น ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ จารแล้ววันที่ ๑๘ เดือนยี่ กงกันกับวันเสาร์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ๚ มี ๔๕ ลานแล รัสสภิกขุไหว เป็นผู้จารหื้อโยมสุกข พร้อมไปด้วยลูกเต้า เพื่อว่าจักทานไปหาโยมเพศ (เพชร?) ผู้อันตายไปสู่ปรโลกภายหน้า ขอส่วนกุศลนาบุญอันนี้ จุ่งจักไปรอดไปเถิงโยมเพศ (เพชร?) คันว่าได้ไปสู่ทุคติแล้ว ขอหื้อได้พ้นจากทุกข์ ได้เถิงสุข ๓ ประการนั้นแด่เทอะ ด้วยอำนาจผลทานอันนี้ ขอหื้อได้เป็นนิสัยประจัยไปในภายภาคหน้านั้นเทอญ ฯฯ๛”

อานิสงส์สร้างระฆัง
หอวัฒนธรรมลาวเวียง วัดโบสถ์ อานิสงส์สร้างระฆัง
RBR004-160อานิสงส์สร้างระฆัง
ธรรมคดี

อานิสงส์สร้างระฆังฉบับนี้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการยกนิทานขึ้นมาเล่าให้แก่พุทธบริษัทได้ฟัง ความว่า อดีตกาลนั้นนานมาแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสร้างระฆัง เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่งที่พึ่งพาพระภิกษุและขออาหารประทังชีวิตมาตลอด ได้พบมหาโจรกลุ่มหนึ่งหมายเอาชีวิต เขาต้องการเอาตัวรอดจึงพาโจรไปยังอารามของพระภิกษุและสามเณรเพื่อให้โจรฆ่าพระภิกษุแทนตัวเอง เมื่อไปถึงไม่พบใครจึงตีระฆัง เหล่าพระภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่ได้ยินเสียงระฆังจึงปรากฏตัว สามเณรวัย ๗ ปี ชื่อ สํกิจจํ อาสาเสียสละตนเองเพื่อช่วยชีวิตคนที่เหลือ แต่ความอัศจรรย์เกิดขึ้นจังหวะที่ดาบฟาดลงที่คอดาบก็แตกหักกระจัดกระจาย เหล่าโจรเห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตนของบวช และหมั่นเพียรฝึกกรรมฐาน เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะระฆังจึงเป็นปฐมเหตุ เสียงระฆังเป็นเสียงมงคล และเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา ผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างระฆัง ผู้นั้นจะมีอานิสงส์มาก มีเสียงอันไพเราะ และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ครั้นสิ้นชีวิตจะได้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยสมบัติอันมาก และมีเสียงไพเราะกว่าเทวดาทั้งปวง ครั้นได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะมีชีวิตสุขสบาย ทรัพย์สมบัติมหาศาล

อ้ายร้อยขอด
วัดพระธาตุหลวงจอมคำ เมืองเชียงตุง อ้ายร้อยขอด
CMRU-CT-02-B-0103อ้ายร้อยขอด
ชาดก

พระพุทธเจ้าทรงนำชาดกเรื่องนี้มาแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ดังนี้ ณ เมืองอินทปัฏฐนคร มีพระญาสีวิมติมหาราชเป็นกษัตริย์ปกครอง มเหสีพระนามว่านางคันธวดี มีพระโอรส 6 พระองค์ และธิดาคนสุดท้องชื่อนางแก้วรัตนพิมพา ซึ่งมีสิริโฉมงดงามยิ่ง ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นทุคคตะกุมาร ครอบครัวยากจนมากต้องไปรับจ้างทำงานเลี้ยงชีพ ได้ผ้ามาผืนหนึ่งจึงใช้ผ้านั้นเป็นเครื่องนุ่งห่มให้บุตรชายของตน ต่อมาบิดาและมารดาได้เสียชีวิตไปตามลำดับ ปล่อยให้ทุคคตะกุมารได้รับความทุกข์ยากลำบากและกำพร้า ต้องไปขอทานตามบ้านต่างๆ เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ก็ขาดวิ่น เมื่อส่วนไหนขาดหรือเป็นรูก็จะนำมาขอดหรือมัดไว้ เมื่อนานเข้าขอดนั้นจึงมีจำนวนมาก ชาวบ้านต่างๆ จึงมานับดูจำนวนขอดหรือมัดไว้พบว่ามีมากมายถึง ๑๐๐ ขอด ชาวบ้านจึงเรียกกุมารน้อยนั้นว่า “อ้ายร้อยขอด” อยู่มาวันหนึ่งพระญาเจ้าเมืองอินทปัฏฐนครจะทำบุญถวายผ้าและอัฏฐบริขารแก่ภิกษุสงฆ์ นางแก้วรัตนาได้เดินทางล่วงหน้าพระบิดาไปถึงวัดก่อน ขณะเดียวกันนั้นชายทุคคตะเมื่อทราบข่าวการทำบุญครั้งนั้นจึงไปในวัดนั้นด้วย เพื่อจะได้ขอข้าวปลาอาหารจากพระภิกษุสามเณรเมื่อเสร็จงานแล้ว แต่ครั้นเมื่อนางแก้วรัตนาเห็นอ้ายร้อยขอดอยู่ในวัดนั้น จึงเกิดความสงสารและอยากให้ได้ร่วมทำบุญด้วยเพื่อจะได้เกิดมาในชาติต่อๆ ไปจะไม่ต้องกลับมาเป็นเช่นปัจจุบันอีก จึงมอบผ้าและบริขารที่จะถวายทานนั้นให้อ้ายร้อยขอดอนุโมทนา.. ฝ่ายพระญาสีวิมติราชามาถึงแล้วจึงได้ทำบุญถวายทาน เมื่อจะเสด็จกลับพระโอรสได้กราบทูลให้ทราบว่านางแก้วรัตตาได้เอาของที่จะถวายนั้นไปให้อ้ายร้อยขอดร่วมอนุโมทนาด้วย ทำให้พระบิดาไม่พอพระทัยอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นการทำเสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงขับไล่ให้นางแก้วรัตนาไปอยู่กินกับอ้ายร้อยขอดที่นอกกำแพงเมือง ต่อมาเมื่อถึงฤดูกาลทำนา พระโอรสทั้ง 6 จึงไปไถนาและหว่านกล้า ฝ่ายอ้ายร้อยขอดเห็นเช่นนั้นจึงไปขอแบ่งที่เพื่อทำนาด้วย แต่ได้รับที่นาส่วนที่อยู่ไกลออกไป อ้ายร้อยขอดจึงให้นางแก้วรัตนาไปขอพันธุ์ข้าวและเครื่องมือในการทำนาจากพระบิดา เมื่อได้แล้วอ้ายร้อยขอดก็เอาควายไปไถนา ครั้นไถไปได้เล็กน้อยไถก็ไปโดนก้อนหินจนคันไถหัก อ้ายร้อยขอดจึงเอาไถนั้นให้นางแก้วรัตนาเอากลับไปคืนแลให้ขอยืมเตาและเส่า เพื่อจะมาเผาให้ก้อนหินนั้นแตก.. รุ่งขึ้นอ้ายร้อยขอดจึงเอาอุปกรณ์ต่างๆ ไปขัดและทำการเผาหินก้อนนั้นให้ร้อน แล้วเอาน้ำราดลงไปพร้อมกับทุบหินก้อนนั้นให้แตก แต่กลับพบว่าในหินก้อนนั้นมีแก้วมณีลูกหนึ่งสดใสงดงามและเปล่งรัศมีออกมา เขาจึงไปยืมไหจากเพื่อนมามาแล้วเอาใส่ไว้ในนั้นแล้วจึงนำไปเก็บไว้ที่กระท่อมของตน และบอกว่านั่นเป็นไหทธิ (นมส้ม ?) ต่อมาพระญาสีวิมติราชได้สั่งให้พระโอรสทั้ง 6 และอ้ายร้อยขอดที่เป็นราชบุตรเขยไปค้าขายที่เมืองจัมปานคร อ้ายร้อยขอดที่ทำหน้าที่เป็นจ่าเลี้ยงวัวและพ่อครัวเมื่อเห็นว่าพระราชโอรสทั้ง 6 ได้ไปค้าขายและซื้อสินค้าใกล้เสร็จแล้วจึงขออนุญาตนำไหทธิของตนที่นำติดตัวไปขาย เมื่ออ้ายร้อยขอดเดินไปในตลาด ชาวเมืองเห็นผ้านุ่งที่มัดขอดไว้จำนวนมากจึงมามุงดูด้วยความสงสัยและสงสาร จนเสียงร่ำลือเข้าไปถึงพระญาเจ้าเมืองจัมปานครๆ จึงให้นำตัวไปเข้าเฝ้า เมื่ออยู่ในท้องพระโรงแล้วอ้ายร้อยขอดก็นำไหออกมา แล้วบอกว่าต้องการขายไหใบนี้ พระญาเจ้าเมืองก็สงสัยว่าในไหนั้นมีอะไร อ้ายร้อยขอดจึงขอให้เอาผ้ามากั้นท้องพระโรงไว้ 7 ชั้น แล้วเปิดให้ดูเฉพาะพระญาเจ้าเมืองเท่านั้น เมื่อเปิดไหออกมารัศมีของแก้ววิเศษก็เปล่งแสงสุกใสไปทั่วท้องพระโรง พระญาเมืองจัมปานครเห็นเช่นนั้นจึงมีพระประสงค์ที่จะซื้อแต่ทั้งอ้ายร้อยขอดและพระญาเจ้าเมืองไม่สามารถกำหนดราคาได้ จึงให้ช่างแก้วประจำเมืองมากำหนด ช่างแก้วกราบทูลว่าแก้ววิเศษนี้มีค่ามาก มีค่าเท่าเงิน ๑ หมื่นกหาปณะ ทอง ๑ พันกหาปณะ และข้าทาสบริวาร ช้างม้าวัวควายอย่างละ ๑๐๐ พระญาเจ้าเมืองจึงตกลงซื้อตามนั้น ฝ่ายพระโอรสทั้ง ๖ เมื่อรออ้ายร้อยขอดนานหลายวันแล้วไม่เห็นกลับมา จึงพากันกลับเมืองอินทปัฏฐนครก่อน เมื่ออ้ายร้อยขอดขายแก้ววิเศษได้แล้วจึงยกขบวนตามไปทีหลัง ครั้นเมื่อใกล้ถึงแล้วจึงหยุดขบวนไว้หน้าประตูเมือง ฝ่ายพระญาสีวิมติราชได้ทราบข่าวว่ามีขบวนผู้คนจำนวนมากมาตั้งอยู่ที่นั่น ดำริว่าคงเป็นข้าศึกมาประชิดเป็นแน่แท้ จึงสั่งเตรียมทหารไว้ป้องกันเมือง ฝ่ายนางแก้วรัตนาก็ได้ออกไปดูจึงรู้ว่าเป็นสามีของตน จึงไปกราบทูลให้พระบิดาทราบความจริง... เมื่อพระญาสีวิมติราชทราบความจริงทั้งหมดจึงให้อ้ายร้อยขอดเข้ามาในเมือง แล้วมอบเมืองให้อ้ายร้อยขอดเป็นเจ้าเมืองแทนเพราะเป็นผู้มีบุญบารมีมาก เมื่ออ้ายร้อยขอดได้เป็นเจ้าเมืองก็ได้ทำบุญให้ทานเสมอ ปกครองบ้านเมืองด้วยทศราชธรรม และชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุขตั้งแต่นั้นมา...

อิสสีสิง
วัดใหม่นครบาล อิสสีสิง
RBR003-362อิสสีสิง
ธรรมคดี

RBR_003_362 อยู่ใน “เลขที่ ๕๘ อิสสิสิง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ๒ ผูก” ลานแรก หัวลาน ระบุ “อิสสีสิง ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังอิสสีสิง ผูกโทน ก็บรมวลแก่กาลเท่านี้ก่อนแลนา ı๏ı บริบูรณ์เสด็จแล้วยาวเมื่อเช้า เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันอาทิตย์แลนายเหย ยังมีทุพี่เหือนเอาใบลานมาหื้อรัสสภิกขุสมบูรณ์ อยู่วัดนาหนองแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ใจบ่ดี สติบ่ตั้งแลนายเหย นิมนต์ค่อยพิจารณาหื้อถี่เทอะ อย่าไปแช่งด่าผมเนอ ทุพี่เหย ขอบุญสมภาร ผู้สร้างผู้เขียนขอหื้อได้อย่างคำนึกคำปรารถนา ขอหื้อได้บุญหลายๆ แลนายเหย ที่ผู้สร้างผู้เขียนญาติการพี่น้อง ขอบุญหื้อได้เท่ากันแลนายเหย ı มีศรัทธาหนานจันทา อยู่บ้านดอนชาด สร้างไว้ในพระศาสนา ๕ พันพระวัสสา นปจฺจโย โหตุ เม สา ๆ ธุ ๆ ıı แล ๛” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อิสสีสิง”

อิสสีสิง
วัดใหม่นครบาล อิสสีสิง
RBR003-361อิสสีสิง
ธรรมคดี

RBR_003_361 อยู่ใน “เลขที่ ๕๘ อิสสิสิง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ๒ ผูก” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้า อิสฺสีสิง แล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อิสสีสิง” ลานแรก หัวลาน ระบุ “อิสิสิง ผูกโทนแล มีผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยัง อิสสีสิง ผูกโทน ก็บรมวล ควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้วตาวันบ่ายหน้อย ๑ หั้นแล รัสสภิกขุแก้ว แล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ หื้อข้าได้เถิงเนรพานเป็นยอดแด่เทอะ อันข้าได้สร้างหนังสือคำสอนแห่งพระพุทธเจ้านี้เกิดมาภาวะชาติใด พยาธิในตนตัวแห่งข้าอย่าหื้อมีสักภาวะชาติเทอะหื้อตนตัวข้างามยิ่งกว่าในพื้นฟ้าเหนือหน้าแผ่นดิน หาผู้จักเผียบเทียมบ่ได้ ปากต้านเจียรจาอันใดก็เป็นอันม่วนมากนัก ปากก็หอมเหมือนโอชารสดอกไม้อันหอมยิ่งกว่าหอม ” / ด้านหลัง ระบุ “๏ หน้าทับปลาย อิสสีสิง ผูกโทนแล” / “อาวหนานปอ บ้านนาหนองสร้างแล นายเหย นายเหย” หน้าปลาย ระบุ “ศรัทธาอาวหนานปอ พร้อมกับด้วยภริยาชื่อว่า นางอม อยู่บ้านนาหนอง ก็มีใจชมชื่นนินดีในศาสนาแล้ว ก็มาสร้างธรรมพระเจ้าอันชื่อว่า อิสสีสิง นี้ขอหื้อได้เถิงสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ฯ” / ด้านหลัง ระบุ “อิสสีสิง ม่วนสะหน้อยแลนายเอย”

อุณหัสสวิชัย
วัดใหม่นครบาล อุณหัสสวิชัย
RBR003-360อุณหัสสวิชัย
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า หนังสืออุ[ณ]หัสสวิชัยใหญ่แล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อุนหะสะวิไส” หน้ารอง หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “นายเภิ่มมันฆารบํดี” ท้ายลาน ระบุ “อุณหสฺสวิเชยฺยา นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวห้องอุณหัสสวิชัย อันวิเศษก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ แลแลแล พระสูตร พระวินัย เป็นร่ม หาใจข้าจริงบ่ตายข้าจริงเขียนแล” หน้าปลาย ระบุ “ข้าขอกุศลนาบุญตัวข้านี้ ฟันข้าบ่หื้อหัก เขี้ยวข้าบ่หื้อหล้อนเสียจากกัน เท่าอยู่เช่นเฒ่าเต็มที่พู้นเนอเจ้า บุญค้ำบุญชู ป้องกันตัวบาปไว้หื้อดีแท้ ๆ แลนายเหย เจ็บใจๆ บ่ดีตัวหนังสือมันบ่ดีเหมือนกัน ทุอาวเหยข้าอยากได้บุญเต็มทีจิ่มแล”