จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดวิชัยอาราม

จารึก

จารึกวัดวิชัยอาราม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2568 15:47:15 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดวิชัยอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ขก. 8, ศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม ขก./9 อักษรไทย และธรรมภาคอีสาน ภาษาไทย และภาษาบาลี จ.ศ. 991, ขก. 8

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย, ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2172

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 23 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 63 ซม. สูง 135 ซม. หนา 10 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 8”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2521) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม ขก./9 อักษรไทย และธรรมภาคอีสาน ภาษาไทย และภาษาบาลี จ.ศ. 991”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดวิชัยอาราม”
4) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม (ขก. 9)”

ปีที่พบจารึก

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

สถานที่พบ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 21 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2521) : 58-63.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 387-392.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 310-314.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดวิชัยอารามนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ขณะทำการสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 จารึกหลักนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า คำอ่านศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม ขก./9 อักษรไทย และธรรมภาคอีสาน ภาษาไทย และภาษาบาลี จ.ศ. 991 การนำจารึกมารวมพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 ได้ปรับปรุงทะเบียนวัตถุและชื่อจารึกใหม่ เป็นเลขที่ ขก. 8 จารึกวัดวิชัยอาราม

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นพระบรมราชานุญาตให้ขุนนางสร้างวัด กัลปนาที่ดิน แก่วัดวิชัยอาราม เมื่อ พ.ศ. 2171 ภายหลังต่อมา พระสังฆราชาจตุปาริสุทธิศีลบวรญาณอริยวงศามหาวนาลี ได้อุทิศข้าโอกาสแก่วัด 5 ครัว เมื่อ พ.ศ. 2172 พร้อมกับสาปแช่งผู้ที่มาทำลายทานวัตถุเหล่านั้น

ผู้สร้าง

พระมหาอัครวรราชครูวินัยธรชิโนรส

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 23 ระบุ จ.ศ. 991 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2172 อันเป็นสมัยที่พระหม่อมแก้วปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2170-2181)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม ขก./9 อักษรไทย และธรรมภาคอีสาน ภาษาไทยและภาษาบาลี จ.ศ. 991” ศิลปากร 21, 5 (มกราคม 2521) : 58-63.
2) เทิม มีเต็ม, “จารึกวัดวิชัยอาราม,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 387-392.
3) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดวิชัยอาราม,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 310-314.
4) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 114-116.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566