จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกวัดพระญาร่วง

จารึก

จารึกวัดพระญาร่วง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 16:54:03 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระญาร่วง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 9, พย. 9 จารึกวัดพระญาร่วง พ.ศ. 2041

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2041

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 19 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 12 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา ชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 31 ซม. สูง 63 ซม. หนา 4.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 9”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 9 จารึกวัดพระญาร่วง พ.ศ. 2041”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 9 จารึกวัดพญาร่วง”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2513

สถานที่พบ

วัดป่าแดงบุญนาค บ้านป่าแดง ตำบลท่าวังทอง (ข้อมูลเดิมว่า วัดบุนนาค ตำบลดงเจน) อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 122-123.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 228-233.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี พบที่วัดบุนนาค จังหวัดพะเยา เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดบุนนาค สันนิษฐานว่า มีต้นบุนนาคขึ้นอยู่ก่อน แต่ตำนานซึ่งเขียนในสมัยพระครูศรีวิลาสวชิรปัญญา ว่าชื่อวัดพญาร่วง ต่อมานายบุญรัตน์ ทิพย์มณี ได้นำมามอบแก่พระโสภณธรรมมุนี (ปัจจุบัน คือ พระธรรมวิมลโมลี รองเจ้าคณะภาค 6) รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร สำรวจเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2513

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2041 มหาเถรติกขะประหญาอารามาธิบดี วัดพระญาร่วง ได้ชักชวนให้ร่วมกันบูชาพระพุทธรูปด้วยทองคำ น้ำ ที่ดิน และสิ่งของอื่นๆ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ พ.ศ. 2042 ซึ่งเป็นการนับแบบลังกา ถ้านับแบบรัตนโกสินทร์ต้องเป็น พ.ศ. 2041 เพราะถ้านับแบบลังกาจะมากกว่าแบบรัตนโกสินทร์ 1 ปี อันเป็นสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) (ข้อความส่วนที่ระบุอายุจารึกที่ปรากฏในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 นี้ ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็นด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1 ซึ่งสลับกับที่พิมพ์เผยแพร่ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 9 จารึกวัดพระญาร่วง พ.ศ. 2041,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 122-123.
2) เทิม มีเต็ม, “พย. 9 จารึกวัดพญาร่วง,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 228-233.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-25, ไฟล์; PY 9 side 1.photo 1 และ PY 9 side 2.photo 2)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566