จารึกเจ้าธรรมรังสี

จารึก

จารึกเจ้าธรรมรังสี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 13:56:50 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าธรรมรังสี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 98 ศิลาจารึกวัดเชตุพน, ศิลาจารึกเจ้าธรรมรังสี พุทธศักราช 2057, สท. 43

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 2057

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 12 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยมปลายแหลมแบบปลีพระเจดีย์ จำหลักรูปพุทธปฏิมากร มีเดือยสำหรับสวม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 6 ซม. สูง 59 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 43”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 98 ศิลาจารึกวัดเชตุพน”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกเจ้าธรรมรังสี พุทธศักราช 2057”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพน (หรือ เชตพน) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

หลวงรัตถรักษา

ปัจจุบันอยู่ที่

บ้านหลวงนรัตถรักษา หน้าสนามบิน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 77-80.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 361-366.

ประวัติ

ศิลาจารึกเจ้าธรรมรังสี เป็นแท่งหินชนวน ลักษณะสี่เหลี่ยมปลายแหลมแบบปลียอดพระเจดีย์ มีเดือยสำหรับสวม ด้านที่ 1 จารึกอักษรขอม ภาษาบาลี จำนวน 12 บรรทัด และด้านที่ 2 จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จำนวน 22 บรรทัด จารึกเมื่อ พ.ศ. 2057

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ขึ้นต้นด้วย “อะมะอุ” และพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ต่อจากนั้นเป็นคำนมัสการพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอาจารย์ ซึ่งความเหมือนกับจารึกวัดตาเถรขึงหนัง สท. 16 ส่วนข้อความจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ได้กล่าวถึงเจ้าธรรมรังสี สร้างพระพุทธรูป อันกอรปไปด้วยอสีตานุพยัญชนะทั้ง 32 นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง แท่งศิลาจารึกนี้ว่า ได้มาจากพระขพงหลวง

ผู้สร้าง

เจ้าธรรมรังสี

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1 ระบุศักราช คือ พ.ศ. 2057

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “ศิลาจารึกเจ้าธรรมรังสี พุทธศักราช 2057,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 361-366.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 98 ศิลาจารึกวัดเชตุพน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 77-80.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513)