จารึกระฆังในถ้ำเชียงดาว

จารึก

จารึกระฆังในถ้ำเชียงดาว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 10:37:09 )

ชื่อจารึก

จารึกระฆังในถ้ำเชียงดาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 66 จารึกระฆังในถ้ำเชียงดาว, จารึกที่ระฆังในถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2157

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2158

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด (รอบองค์ระฆัง)

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

ระฆัง

ขนาดวัตถุ

สูง 69 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 66 จารึกระฆังในถ้ำเชียงดาว”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2518) กำหนดเป็น “จารึกที่ระฆังในถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2157”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ถ้ำเชียงดาว ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ถ้ำเชียงดาว ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2518) : 122-124.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกบอกเวลาสร้าง ชื่อผู้สร้าง และวัตถุประสงค์ที่สร้างระฆัง ชื่อผู้บริจาคโลหะ น้ำหนัก และคำชักชวนผู้บริจาคไทยทานให้ตั้งความปรารถนา

ผู้สร้าง

พระสงฆ์นามว่า พละปัญโญ ร่วมกับอุบาสกอุบาสิกา

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 976 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2158 (นับแบบลังกา) อันเป็นปลายรัชสมัยของพระช้อย (ช่วงครองราชย์ครั้งที่ 2) (พงศาวดารโยนก; พ.ศ. 2154-2157, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่; พ.ศ. 2156-2158, โคลงมังทรารบเชียงใหม่; พ.ศ. 2156-2157) ถึงต้นรัชสมัยที่เจ้าเมืองน่านปกครองเมืองเชียงใหม่ (พงศาวดารโยนก; พ.ศ. 2157-2174, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่; พ.ศ. 2158-2174)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2544), 254.
2) ฮันส์ เพนธ์, “คำอ่านจารึกที่ระฆังในถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่,” ศิลปากร 19, 3 (กันยายน 2518) : 122-124.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2518)