จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 21 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2046, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-พระศรีอาริยเมตไตรย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างองค์พระธาตุ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายทองคำ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-หล่อพระพุทธรูป, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ปิดทององค์พระธาตุ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง-สีทัตถะมหาสุรมนตรี, บุคคล-สีทัตถะมหาสุรมนตรี,

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1

จารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 15:34:59 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 2, ศิลาจารึกที่วิหารพระธาตุลำปางหลวง, หลักที่ 70 ศิลาจารึกที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง, 1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046, ลป. 2 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2046

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 29 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 48 ซม. สูง 109 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 2”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม 2495) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกที่วิหารพระธาตุลำปางหลวง”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 70 ศิลาจารึกที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 7 กำหนดเป็น “1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 2 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2504) : 73-79.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 179-184.
3) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 7 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2547), 33-46.
4) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 :จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,2551), 202-205.

เนื้อหาโดยสังเขป

ในปี พ.ศ. 2046 เจ้าเมืองนครสีทัตถมหาสุรมนตรีได้ขึ้นครองเมืองนครนี้มาแล้ว 6 เดือน ทรงร่วมกับพระสงฆ์ ข้าราชการ และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก่อสร้างวิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง ข้อความในจารึกกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องวัสดุ และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโดยละเอียด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุข้อความ “ศักราชได้ 865 ตัว” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2046 อันเป็นสมัยที่พญาแก้วปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 2 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 202-205.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,2551), (29)-(59).
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านศิลาจารึกที่วิหารพระธาตุลำปางหลวง จ. ลำปาง (จ.ศ. 854 พ.ศ. 2039),” ศิลปากร 4,5 (มกราคม 2504) : 73-79.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 70 ศิลาจารึกที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 179-184.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)