จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1

จารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 19:13:10

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 2, ศิลาจารึกที่วิหารพระธาตุลำปางหลวง, หลักที่ 70 ศิลาจารึกที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง, 1.6.1.1 วัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046, ลป. 2 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2046

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 29 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 858 = พ.ศ. 2039
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีรวายสี, ปีระวายสี = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะโรง อัฐศก ตามจุลศักราช
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 6 = เดือน 6 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 4 ของไทยฝ่ายใต้
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : รวงไส้ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : ฤกษ์ = เวลาที่เป็นมงคล
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อัทรา = ชื่อฤกษ์ที่ 6 ได้แก่ ดาวฉัตร
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ตูดซ้าย = ร่วมบ่าย
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : ชาวเจ้า = พระภิกษุ
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าหมื่น = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือกว่าตำแหน่งพันขึ้นไป
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าพัน = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือนายร้อย
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีเปลิกสง้า, ปีเปิกซง้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะเมีย สัมฤทธิศก ตามจุลศักราช
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 7 = เดือน 7 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 5 ของไทยฝ่ายใต้
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : รวงเม้า, รวงเหม้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พาด = เช้า
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ชู่ = ทุก
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกัดเม็ด = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะแม เอกศก ตามจุลศักราช
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 4 = เดือน 4 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือนยี่ของไทยฝ่ายใต้
19. โครงการวิจัยฯ (2534) : เปลิกสัน, เปิกสัน = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
20. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ฤกษ์ 15 ชื่อว่า สวาติ ได้แก่ ดาวช้างพัง
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : 19 วาอก = 19 วา 2 ศอก
22. โครงการวิจัยฯ (2534) : อ้าย = ลูกชายคนที่หนึ่ง, ลูกชายคนโต
23. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เกลือก = ไล้
24. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกาไก๊ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีกุน เบญจศก ตามจุลศักราช
25. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 5 = เดือน 5 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 3 ของไทยฝ่ายใต้
26. โครงการวิจัยฯ (2534) : เพ็ง = วันเพ็ญ คือ วันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
27. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : รอม =รวม
28. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สะ หรือ สวะ = สละ หรือ บริจาค
29. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีรวงเร้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีระกา ตรีศก ตามจุลศักราช
30. โครงการวิจัยฯ (2534) : เต่าสง้า, เต่าซง้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
31. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ตูดเช้า = เวลาเช้า
32. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปลก = ปลูก