จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกวัดกลางพยาว

จารึก

จารึกวัดกลางพยาว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2568 16:15:26 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดกลางพยาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./33, พช. 14, 337, ลพ. 33 จารึกวัดกลางพยาว, ลพ. 33

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2042

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 19 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43 ซม. สูง 69 ซม. หนา 7.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 33”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./33, พช. 14, 337”
3) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “จารึกวัดกลางพยาว”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “ลพ. 33 จารึกวัดกลางพยาว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 74.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 234-239.

ประวัติ

นายประสาร บุญประคอง และนายเทิม มีเต็ม เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เดินทางขึ้นไปสำรวจตามหลักฐานบัญชีเดิมเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดลำพูน เมื่อเดือนมีนาคม 2515 พบศิลาจารึกหลักนี้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 บรรทัดแรก ได้กล่าวถึง เดชานุภาพในศิริมงคลจงมีแด่พระศาสนาแห่งพระศากยะบุตรโคตมต่อเท่า 5,000 ปี กล่าวถึงการไว้ข้าพระเพื่อรักษาพระวัดกลางพะเยา และกล่าวถึงพระมหาสามีธรรมเสนาพระเกิด จากเนื้อความที่จารึกนี้แสดงว่า เป็นเรื่องของวัดกลางเมืองพะเยา ในปี พ.ศ. 2042 ซึ่งจารึกได้บ่งบอกศักราชไไว้เป็นจุลศักราช 861 ตรงกับรัชกาลพระเมืองแก้วนั่นเอง สำหรับนามของพระมหาเถระที่จารึกบันทึกไว้ว่า “พระมหาสามีธรรมเสนาพระเกิด” สงสัยว่า “พระเกิด” นั้นควรจะเป็นชื่อวัดที่ท่านครองอยู่ในฐานะเจ้าอาวาสก็ได้ และวัดในจังหวัดเชียงรายก็มีอยู่วัดหนึ่งเรียกว่า “วัดศรีเกิด” หรือ “วัดเกิดศรี” หากไม่เช่นนั้น ก็น่าจะเป็นนามเดิมของท่าน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 3 ระบุ จ.ศ. 861 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2042 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068) ครองเมืองเชียงใหม่

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดกลางพยาว,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 74.
2) เทิม มีเต็ม, “ลพ. 33 จารึกวัดกลางพยาว,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 234-239.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 3 มกราคม 2567