จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2049, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เชียงราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-การปกครองสงฆ์, บุคคล-สมเด็จพระมหาสวามีศรีมงคลโพธิญาณเจ้า, บุคคล-มหาเถรชัยบาลรัตนปัญญา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา,

จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก)

จารึก

จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 14:17:18 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 22, ศิลาจารึก ลพ./22 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย, จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก), จารึกวัดวิสุทธาราม

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2049

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 48 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 32 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 50 ซม. สูง 156 ซม. หนา 11 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 22”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./22, พช. 9, 330”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2516) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ลพ./22 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก)”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน กำหนดเป็น “จารึกวัดวิสุทธาราม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดวิสุทธาราม (วัดร้าง) ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2516) : 92-96.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 59-60.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 265-272.

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกหลักนี้ได้กล่าวถึงเรื่อง
ก. สมเด็จพระมหาสวามีศรีมงคลโพธิญาณเจ้า ผู้เป็นอธิบดีในป่าแดงหลวง ให้มหาเถรชัยบาลรัตนปัญญาขออนุญาตมหาธรรมราชาธิราช เพื่อฝังจารึก ณ วัดวิสุทธาราม ณ เมืองพะเยา เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ถาวร 5,000 ปี
ข. กล่าวถึงสมเด็จพระเป็นเจ้าทั้งสองพระองค์ ให้อนุญาตแก่มหาสวามีเจ้า
ค. กล่าวถึง แสนญาณ ตนกินเมืองพะเยา
ความที่ได้จากจารึกหลักนี้ เป็นการแน่ชัดว่า จารึกหลักนี้เป็นของวัดวิสุทธาราม ในจังหวัดพะเยา นอกจากนั้นยังได้รู้จักด้วยว่า วัดป่าแดงหลวงในเมืองพะเยาโบราณนั้น มีท่านพระสมเด็จมหาสวามีศรีวิมลโพธิญาณเจ้าเป็นอธิบดีสงฆ์ในวัดนั้น หรือไม่ก็อาจจะเป็นสังฆราชาปกครองพระสงฆ์ทั้งมวล ในเมืองพะเยา แสดงให้เห็นว่า ฐานะของวัดป่าแดงหลวงนั้น เป็นวัดสำคัญสูงสุดแห่งเมืองพะเยา ในปี พ.ศ. 2049 ส่วนที่จารึกอ้างถึงสมเด็จพระเป็นเจ้าทั้งสองพระองค์นั้น อาจหมายถึง พระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์ก็ได้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 868 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2049 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, ”จารึกวัดวิสุทธาราม (ฝังจารึก),” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 59-60.
2) เทิม มีเต็ม, “ชร. 22 จารึกวัดวิสุทธาราม,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 265-272.
3) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลา ลพ./22 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย พ.ศ. 2049 ได้มาจากวัดวิสุทธาราม อ. พะเยา จ. เชียงราย,” ศิลปากร 17, 1 (พฤษภาคม 2516) : 92-96.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538)