อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21-22, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 17:12:45 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดทงแสง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
พย. 37, พย. 37 จารึกวัดทงแสง พุทธศตวรรษที่ 21-22, ลพ. 30 จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 21-22 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 13 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย สีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นยาว |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 52 ซม. สูง 66 ซม. หนา 7 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 37” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 174-175. |
ประวัติ |
ปรากฏอยู่ในทะเบียนบัญชีเดิม แต่จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่พบจารึกหลักนี้ ต่อมา คณะโบราณคดีได้นำจารึกหลักหนึ่ง ซึ่งให้ชื่อว่า “จารึกวัดทงแสง” มาพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 และระบุว่าเป็นจารึกที่มีบัญชี/ทะเบียนวัตถุที่ พย. 37 ในการรวบรวมเพื่อจัดพิมพ์จารึกของจังหวัดพะเยาครั้งนี้ได้พบว่า “จารึกวัดทงแสง” ของคณะโบราณคดีนั้น มีข้อความตรงกันกับจารึกหลักหนึ่งซึ่งเป็นจารึกจากจังหวัดพะเยา เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน มีบัญชี/ทะเบียนวัตถุที่ ลพ. 30 เรียกชื่อจารึกว่า “จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า” ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำลงพิมพ์ไว้แล้วในลำดับที่ 106 โดยระบุเลขบัญชี/ทะเบียนวัตถุ ที่ ลพ. 30 ใช้ชื่อว่า “จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า” ตามที่ปรากฏในทะเบียนจารึกจังหวัดลำพูน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความไม่สมบูรณ์ เนื่องจากจารึกท่อนบนหักหายไป จับความได้เพียงว่า กล่าวถึงการแต่งตั้งข้าพระให้ปฏิบัติดูแลวัดและพระสงฆ์ ตามบัญชาของพระมหาเทวี |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้จารึกหลักนี้เป็น จารึกอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21-22 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-22, ไฟล์; PY 37 side 1.photo 1 และ PY 37 side 2.photo 1) |