จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยลักษณะจักษุโรค แผ่นที่ 10 ต้อเนื้อ)

จารึก

จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยลักษณะจักษุโรค แผ่นที่ 10 ต้อเนื้อ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2559 17:27:19 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 15:13:56 )

ชื่อจารึก

จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยลักษณะจักษุโรค แผ่นที่ 10 ต้อเนื้อ)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปวงรี

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ฝาผนังศาลา 7 (โรงเรียน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ตำรายา ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร (พระนคร : โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ, 2516), 292-293.
2) ตำรายา ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ดร. กมล ชูทรัพย์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 4 มิถุนายน 2527 ([ม.ป.ท.], 2527), 274-275.

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้พระยาบำเรอราชแพทยา  นำตำรายามาจารึกบนแผ่นหินแล้วติดไว้ตามศาลารายหลังต่างๆ  ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ความตอนหนึ่งว่า  
๏   พระยาบำเรอราชผู้            แพทยา  ยิ่งฤๅ
รู้รอบรู้รักษา                         โรคฟื้น
บรรหารพนักงานหา                โอสถ  ประสิทธิ์เอย 
จำหลักลักษณะยาพื้น              แผ่นไว้ทานหลัง

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงลักษณะ ‘ต้อเนื้อ’ หนึ่งในจักษุโรค 18 จำพวก ตามคัมภีร์อภัยสันตา รวมถึงสมุนไพรและตัวยาต่างๆ สำหรับรักษาโรคดังกล่าว

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)