จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 7

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 7

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 17:22:17 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 7

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

143 วัดดอกคำ, ชม. 117

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2435

ภาษา

บาลี, เขมร, ไทย

ด้าน/บรรทัด

มีอักษรจารึก 4 บรรทัด รอบฐานพระพุทธรูป

วัตถุจารึก

มุกข้าวชีวิต

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 10 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 117”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “143 วัดดอกคำ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดดอกคำ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

จากการสำรวจโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ไม่ปรากฏพระพุทธรูปองค์นี้ที่วัดดอกคำ

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 155-156.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่รอบฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน 4 บรรทัด พระพุทธรูปดังกล่าวทำจากข้าวที่พระสงฆ์และลูกศิษย์เก็บไว้โดยไม่ฉันภายใน 1 วัน ซึ่งจะเรียกว่า “ข้าวชีวิต” นำมาเผาเป็นเถ้า (ภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า “มุก”) จึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า พระพุทธรูปมุกข้าวชีวิต

เนื้อหาโดยสังเขป

จุลศักราช 1254 อภิชัยทิพพรหมภิกขุ, ลูกศิษย์, นางอุสา, นางคำทองและลูกทุกคน ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปด้วยมุกข้าวชีวิต

ผู้สร้าง

อภิชัยทิพพรหมภิกขุ, ลูกศิษย์, นางอุสา, นางคำทองและลูกทุกคน

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1254 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2435 ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2416-2439)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “143 วัดดอกคำ,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 155-156.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)