จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2038, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พญายอดเชียงราย, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดศรีโคมคำ พะเยา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระวิหาร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พญาสามฝั่งแกน, บุคคล-พญาสามฝั่งแกน, บุคคล-เจ้าเมืองพิง, บุคคล-เจ้าสี่หมื่นพยาว,

จารึกวัดอารามป่าญะ

จารึก

จารึกวัดอารามป่าญะ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 13:58:01 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดอารามป่าญะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 7, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย วัดศรีโคมคำ อ. พะเยา จ. เชียงราย, หลักที่ 103 ศิลาจารึก วัดศรีโคมคำ, พย. 7 จารึกวัดอารามป่าญะ พ.ศ. 2038

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2038

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 36 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 50 ซม. สูง 97 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 7”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2508) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย วัดศรีโคมคำ อ. พะเยา จ. เชียงราย”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 103 ศิลาจารึก วัดศรีโคมคำ”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 7 จารึกวัดอารามป่าญะ พ.ศ. 2038”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 7 จารึกวัดป่าญะ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดป่าญะ (อารามป่าญะ) ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2508) : 58-63.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 105-110.
3) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 114-117.
4) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 165-172.

ประวัติ

คณะกรรมการค้นคว้าประวัติศาสตร์แห่งสหภาพพม่าได้อัดสำเนามาให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2038 ณ วัดอารามป่าญะ อันเจ้าเหนือหัวปู่หม่อนพระเป็นเจ้าเจ้าเมืองแม่ใน (หมายถึง พระเจ้าสามฝั่งแกน) ให้สร้างไว้ สมเด็จบพิตรพระเป็นเจ้าเจ้าเมืองพิงจึงใด้ให้คนนำพระราชโองการมามอบแก่พระเป็นเจ้าเจ้าสี่หมื่นพยาว ให้พระเป็นเจ้าเจ้าสี่หมื่นพยาวพิจารณามอบหมายข้าพระจำนวนมากไว้ดูแลวัดและพระสงฆ์ โดยประกาศรายชื่อข้าพระเหล่านั้นไว้ในศิลาจารึก

ผู้สร้าง

พระราชครู, พระเป็นเจ้าเจ้าสี่หมื่นพยาว, เจ้าพันหนังสือนนต่างเมือง และเจ้าล่ามดาบน้อยพระเป็นเจ้า

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 857 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2038 อันเป็นปลายรัชสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย (พ.ศ. 2030-2038) หรือต้นรัชสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 7 จารึกวัดอารามป่าญะ พ.ศ. 2038,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 114-117.
2) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก อักษรและภาษาไทย ได้มาจากวัดศรีโคมคำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย),” ศิลปากร 9, 4 (พฤศจิกายน 2508) : 58-63.
3) ประสาร บุญประคอง, “พย. 7 จารึกวัดป่าญะ,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 165-172.
4) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 103 ศิลาจารึก วัดศรีโคมคำ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 105-110.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-25, ไฟล์; PY 7 side 1.photo 1 และ PY 7 side 2.photo 2)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566