จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกวัดนางหมื่น

จารึก

จารึกวัดนางหมื่น

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 09:57:33 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดนางหมื่น

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 6, ศิลาจารึกอักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย, พย. 6 จารึกวัดนางหมื่น พ.ศ. 2036, พย. 6 จารึกพระเป็นเจ้าเมืองเชียงราย

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2036

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยมปลายมน

ขนาดวัตถุ

กว้าง 32 ซม. สูง 156 ซม. หนา 25 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 6”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2516) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 6 จารึกวัดนางหมื่น พ.ศ. 2036”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 6 จารึกพระเป็นเจ้าเมืองเชียงราย”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดร้าง ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2516) : 105-110.
2) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 111-113.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 134-139.

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2036 เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นจุลาพยาว และเจ้าพันพ่อน้อยได้ให้คนมาฝังจารึกไว้ที่วัดนางหมื่น เพื่อประกาศรายชื่อข้าพระที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลพระสงฆ์และวัด

ผู้สร้าง

เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นจุลาพยาว และเจ้าพันพ่อน้อย

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 855 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2036 อันเป็นสมัยที่พระเจ้ายอดเชียงรายปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2030-2038)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 6 จารึกวัดนางหมื่น พ.ศ. 2036,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 111-113.
2) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย ได้มาจากบ้านแม่นาเรือ ต. แม่นาเรือ อ. พะเยา จ. เชียงราย,” ศิลปากร 17, 4 (พฤศจิกายน 2516) : 105-110.
3) ประสาร บุญประคอง, “พย. 6 จารึกพระเป็นเจ้าเมืองเชียงราย,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 134-139.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-24, ไฟล์; PY 6 side 1+.copy 1 และ PY 6 side 2.copy 1)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566