โพสต์เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2558 09:22:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:33:34 )
ชื่อจารึก |
จารึกตำราฉันท์มาตราพฤติ แผ่นที่ 4 (อุปคีติฉันท์) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
บาลี, ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 482-483. |
ประวัติ |
ฉันท์มาตราพฤติ เป็นประเภทบังคับมาตรา เรียกว่า “มาตราพฤติ” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงอาราธนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ทรงนิพนธ์ เมื่อ ปีขาล จุลศักราช 1204 (พ.ศ. 2385) พร้อมกับตำราฉันท์วรรณพฤติ เพื่อจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
แสดงลักษณะบังคับของ “อุปคีติฉันท์” กล่าวคือ ลหุปลายบาทนับเป็นครุ มีบทบังคับว่า บาท1 หรือบาท 2 และบาท 3 หรือ บาท 4 ก็มีลักษณะเหมือนบาท 3 หรือบาท 4 แห่งอริยชาติทั้งสิ้น |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการติดจารึกฉันท์มาตราพฤติบนเสาพะเนกประตูทางเข้าพระระเบียงชั้นนอกทั้ง 8 ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2558, จาก : |