จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว

จารึก

จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2557 10:19:20 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 11:15:33 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 5 จารึกกานโถมเวียงกุมกาม, 1.2.1.1 วัดหลวง พ.ศ. 2103, ชม. 5 จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว (พ.ศ. 2102)

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2102

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 46 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 35 ซม. สูง 142 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 5 จารึกกานโถมเวียงกุมกาม”
2) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 กำหนดเป็น “1.2.1.1 วัดหลวง พ.ศ. 2103”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 5 จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว (พ.ศ. 2102)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดช้างค้ำเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 127-149.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 19-22.

ประวัติ

ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 ระบุไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2484 จารึกหลักนี้อยู่ที่วัดกองทราย ต. หนองผึ้ง อ. สารภี จ. เชียงใหม่ และในปี 2495 เจ้าอาวาสวัดกองทราย ได้มอบให้พุทธสถานเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าทางพุทธสถานเชียงใหม่ ได้มอบจารึกหลักนี้ให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2514 พร้อมกับวัตถุชิ้นอื่นๆ หลายชิ้น และได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 พ.ศ. 2543 และพิมพ์ครั้งต่อมาในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อ พ.ศ. 2102 เจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้วและเจ้าพวกดาบเรือนลอนพญาได้ไหว้พระเป็นเจ้า ณ โรงคำ บ้านหลอง กราบทูลเรื่องการถวายทานของชาวบ้านบ้านออกแพ และมีการให้ประดิษฐานแผ่นศิลาจารึกรายนามผู้บริจาคและสักขีพยาน หากผู้ใดมายักยอกลักเสียซึ่งของบริจาคเหล่านี้ขอให้ตกนรกอเวจี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนาคำนวณศักราชจากข้อความจารึกบรรทัดที่ 1-2 ที่ระบุว่า “ปีกัดเม็ด เดือน 5 ออก 3 ฅำ เมงวัน 2 ไทกัดไส้” ได้ตรงกับ พ.ศ. 2102 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1988 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2101-2107)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 5 จารึกเจ้าแสนดาบเรือนหน่อแก้ว พ.ศ. 2102,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 19-22.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) ฮันส์ เพนธ์, “1.2.1.1 วัดหลวง พ.ศ. 2103,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 127-149.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28-31 มีนาคม 2561
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566