เว้าน์ เพลงเออ
เอกสารจากการทำงานวิจัยภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ ผศ.ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ จำนวนทั้งหมด 217 ระเบียน ประกอบด้วยภาพถ่าย 211 ระเบียน และ แถบบันทึกภาพ 6 ระเบียน เอกสารชุดนี้มาจากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มคือ ลาวโซ่ง ที่ ต.หนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี และมอญ ที่ อ.บ้านม่วง จ.ราชบุรี ในระหว่างปี พ.ศ.2532 ถึง 2542 โดยประเด็นที่ ดร.ฉวีวรรณ สนใจศึกษาคือเรื่องความเชื่อดั้งเดิมและพิธีกรรม
เอกสารบันทึกภาคสนามของ ศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา จำนวน 144 ระเบียน เป็นแถบบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์ชาวบ้านในชนบทและในเมืองท้องถิ่น จาก 4 ภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2526 จำแนกเป็น ภาคกลาง 41 ระเบียน ภาคเหนือ 20 ระเบียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48 ระเบียน และภาคใต้ 35 ระเบียน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์บอกเล่า ในเรื่องเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน ความเป็นอยู่ อาชีพ ความเชื่อ เป็นต้น แถบบันทึกเสียงชุดนี้ ศ.ฉัตรทิพย์ ได้นำมาประกอบการเขียนหนังสือเรื่อง เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต
เอกสารของ ศ.ชิน อยู่ดี เป็นเอกสารที่บันทึกในช่วงชีวิตการทำงานในฐานะนักโบราณคดีของ ศ.ชิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505-2528. จำแนกออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ เอกสารที่เกิดจากการทำงานขุดค้นทางโบราณคดี เอกสารราชการเมื่อครั้งรับราชการที่กรมศิลปากร และเอกสารส่วนตัว รวมทั้งหมด 403 ระเบียน ประกอบด้วย สมุดบันทึกและกระดาษบันทึก ภาพถ่าย เอกสารรายงาน จดหมาย หนังสือ และบัตรบันทึก
ภาพถ่ายจำนวน 1903 ระเบียน เป็นภาพจากทำงานภาคสนามของ ศ.ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2511 ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เอกสารชุดนี้ได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้โครงการ Digital Archive Research on Thailand ระหว่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ฐานข้อมูลให้บริการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวเอกสาร หากต้องการดูภาพเอกสารต้นฉบับในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ และข้อมูลโดยละเอียด สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://digital.lib.washington.edu/researchworks/
เอกสารบันทึกภาคสนามของ รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค ประกอบด้วย สไลด์ จำนวน 2082 ระเบียน เป็นภาพจากการทำงานภาคสนามในช่วงทศวรรษ 2520-2540 ภาพถ่ายจำแนกตามประเด็นการศึกษา 5 ประเด็น ได้แก่ การศึกษาเรื่องผ้าทอ วิถีชีวิตพื้นบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ นิเวศวิทยาวัฒนธรรม และการศึกษาจ้วง โดยแต่ละประเด็นจำแนกตามจังหวัดที่ลงไปทำงานภาคสนาม ภาพทั้งหมดมาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั่วทั้งภูมิภาคของประเทศไทย
เอกสารจากการทำงานภาคสนามของ ดร.ชาร์ล อัลตัน เป็นเอกสารจากการทำวิจัยในประเทศไทย ประเทศลาว และเอกสารส่วนตัวบางส่วน จำนวน 387 ระเบียน
เอกสารชุดนี้ประกอบไปด้วยภาพถ่ายจำนวน 126 ระเบียน ซึ่งถ่ายโดย อาจารย์ประเสริฐ ชัยพิกุสิต เมื่อครั้งทำงานวิจัยภาคสนาม ช่วงปี พ.ศ. 2511-2513, 2517-2520, 2527-2528, และ 2541. เป็นภาพถ่ายชาวลีซอ กะเหรี่ยง อาข่า มูเซอ และ มลาบรี ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และอุทัยธานี ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนบนพื้นที่สูงแต่ละกลุ่ม อาทิ สภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาหาร การแต่งกาย เทศกาลงานฉลอง การทำเกษตรกรรม รวมไปถึงความเชื่อและพิธีกรรมการเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษ
เอกสารบันทึกภาคสนามของ ศ.ไมเคิล มอร์แมน บันทึกในระหว่างการเข้ามาทำงานภาคสนามในประเทศไทย ในสองประเด็น ได้แก่ การศึกษาชุมชนไทลื้อที่บ้านแพด อ.เชียงคำ จ.พะเยา และการศึกษากระบวนการยุติธรรมและศาลในเขตจังหวัดภาคเหนือ เอกสารจำนวน 5655 ระเบียน ประกอบไปด้วยสไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ แผนที โปสการ์ด และแถบบันทึกภาพ โดยจำแนกตามปีที่ ศ.มอร์แมนได้เข้ามาทำงานภาคสนามในประเทศไทย ได้แก่ ปี พ.ศ. 2501-2532
บันทีกภาคสนามจากการทำงานของ ดร. ไมเคิล วิกเคอรี ประกอบไปด้วยฟิล์มเนกาทีฟ ภาพถ่าย สไลด์ และบันทึกส่วนตัว จากการทำงานสนามใน 9 ประเทศได้แก่ กัมพูชา ไทย ลาว อินโดนีเซีย เมียน์มาร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย และศรีลังกา ในช่วงปี พ.ศ. 2503-2545 ภาพถ่ายของ ดร.วิกเคอรี ถูกถ่ายขึ้นภายใต้ความสนใจส่วนตัวและเพื่อการศึกษาและวิจัย โดยเฉพาะ กัมพูชาศึกษา ภาพถ่ายทั้งหมดแสดงให้เห็นกิจกรรมเกี่ยวกับพิธีกรรม ชีวิตประจำวัน เทศกาล การแสดงวัฒนธรรม โบราณสถาน วัด สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และกลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ
เอกสารของ รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช เป็นเอกสารที่บันทึกการทำงานการศึกษาวิจัยทางด้านโบราณคดีโดยจำแนกออกเป็น 2 ชุดได้แก่ เอกสารการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ เอกสารส่วนตัว ประกอบด้วย สไลด์ ภาพถ่าย จดหมาย สมุดบันทึก แผนที่ แผนผัง ภาพวาด แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หนังสือ ภาพยนตร์สั้น และสารคดี
เอกสารของแฮงส์ประกอบด้วย เอกสาร บทความ รายงาน 101 ระเบียน จดหมาย 4 ระเบียน หนังสือ 13 ระเบียน และภาพถ่าย 1 ระเบียน ซึ่งบันทึกโดยลูเซียนและเจน แฮงส์ ระหว่างการทำงานภาคสนามทางชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทยจาก 2 พื้นที่ ได้แก่ การศึกษาชุมชนบางชัน กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2491และการศึกษากลุ่มชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2506
เอกสารชุดนี้เป็นบันทึกภาคสนามเมื่อครั้ง วิลเลียมส์ เจ.คลอสเนอร์ เข้ามาศึกษาสังคมชนบทที่บ้านหนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในช่วงปี พ.ศ.2498-2500 การศึกษาวิจัยของคลอสเนอร์นั้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยเน้นไปยังแรงต้านทางวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย สิ่งที่คลอสเนอร์จดบันทึกจึงเกี่ยวกับศาสนาทั้งทางพิธีกรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งที่เกี่ยวพันไปถึงไสยศาสตร์ รวมทั้งโหราศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านบ้านหนองขอน
ภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม จำนวน 4814 ระเบียน
or reload the browser
ภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ รศ.สุมิตร ปิติพัฒน์ จำนวน 1031 ระเบียน เป็นภาพจากโครงการเพื่อศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของคนไทนอกเขตประเทศไทย และครอบคลุมถึงพื้นที่ที่มีคนไทอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ตั้งแต่ในเกาะไหหลำ มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลยูนนาน ในประเทศจีน ภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม แขวงเชียงขวาง แขวงหัวพัน แขวงหลวงน้ำทา และแขวงหลวงพระบาง ในประเทศลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2547
ภาพถ่ายจากทำงานภาคสนามของอาจารย์สุริยา สมุทคุปติ์ ช่วงปี พ.ศ. 2529-2539 จำนวน 813 ภาพ เป็นภาพจากการทำงานภาคสนามในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน กลุ่มภาพแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ 1).กลุ่มภาพก่อนปี 2535 จำนวน 110 ระเบียน ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานและเก็บข้อมูลทางมานุษยวิทยาในลักษณะที่เรียกว่า ชาติพันธุ์วรรณนาแบบองค์รวม ซึ่งเน้นการเก็บข้อมูลชุมชนแบบรอบด้านและหลายแง่มุม เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปตอบโจทย์ปัญหา 2). กลุ่มภาพหลังปี 2535 จำนวน 703 ระเบียน เกิดขึ้นหลังจากที่อาจารย์สุริยkทำงานสอนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาเป็นสำคัญ ภาพถ่ายต่างๆ เกิดขึ้นจากการวิจัยและการเก็บข้อมูลที่สะท้อนลักษณะที่เรียกว่า การตอบโจทย์เฉพาะ
เอกสารจากการทำงานภาคสนาม หลังสนาม และการเผยแพร่ จำนวน 268 รายการ สามารถแยกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ได้แก่ เอกสารงานวิจัยชนชาติจ้วง และเอกสารงานวิจัยชนชาติเย้า แบ่งกลุ่มเอกสารตามกลุ่มชนชาติ ประกอบด้วย (1) บริบทเอกสารงานวิจัยชนชาติจ้วง (2) บริบทเอกสารงานวิจัยชนชาติเย้า
เอกสารบันทึกภาคสนามของ ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ประกอบด้วยรูปภาพจำนวน 754 ระเบียน เป็นภาพจากการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในหัวข้อ “The partial commercialization of rice production in Northern Thailand (1900-1981)” โดยภาพชุดนี้เป็นการเก็บข้อมูลที่บ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2523-2524 นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายพิธีเลี้ยงผีปู่ย่า จ.แพร่ ปี พ.ศ. 2529 และ จ.ลำปาง ปี พ.ศ. 2530 พิธีไหว้ผีอารักษ์ และพิธีแต่งงานของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2530
ชุดเอกสารของ ดร.โอโตเม ไกล์น ฮัทธิซิง เป็นเอกสารจากการทำงานวิจัยในประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วยภาพถ่ายจากหมู่บ้านลีซูในภาคเหนือของประเทศไทย บ้านดอยล้าน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในช่วง พ.ศ. 2525-2527 และสมุดบันทึกสนามที่เกี่ยวกับการทำวิจัยในหมู่บ้านดอยล้านและหมู่บ้านชาติพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเอกสารส่วนตัว ได้แก่ จดหมาย ไปรษณียบัตร และบันทึกส่วนตัวในวัยเด็ก
ชุดเอกสารประกอบด้วยภาพถ่าย 804 ระเบียน จากการทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ ศ.ฮันส์ มานดอร์ฟ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ช่วงปี พ.ศ. 2504-2505 และ พ.ศ.2506-2508 ภาพถ่ายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อ ของกลุ่มชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่ม ได้แก่ ลีซู ละหู่ อาข่า ม้ง กะเหรี่ยง และเย้า