ระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2505 ฮันส์ มานน์ดอร์ฟ (Hans Manndorff) นักมานุษยวิทยาชาวออสเตรีย และต่อมาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาในกรุงเวียนนา ทำงานในนามขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการวิจัยและโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย โครงการ “สำรวจสภาพสังคมและเศรษฐกิจของชาวเขาบางกลุ่มทางภาคเหนือของประเทศไทย” โครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล สำหรับการศึกษา “กลุ่มชาวเขา” ตามที่ได้รับเรียกขานในประเทศ ภายใต้การดำเนินการของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่สนับสนุนในด้านงบประมาณ เช่น มูลนิธิเอเชีย (Asia Foundation)
ในระหว่างงานวิจัยดังกล่าว (พ.ศ. 2504-2508) มันน์ดอร์ฟ บันทึกภาพในรูปแบบสไลด์ประมาณ 800 ภาพ เพื่อบันทึกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่ม ภาพชุดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพยนตร์สารคดีที่จัดทำโดยสถาบันสื่อโสตทัศน์ทางวิชาการ (IWF) ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นหมู่บ้านอันห่างไกลและพื้นที่สูง และความอุตสาหะของคณะทำงานที่จะต้องบรรทุกเครื่องมือการถ่ายทำภาพยนตร์
ชุดเอกสารประกอบด้วยภาพถ่าย 804 ระเบียน จากการทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ ศ.ฮันส์ มานดอร์ฟ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ช่วงปี พ.ศ. 2504-2505 และ พ.ศ.2506-2508 ภาพถ่ายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อ ของกลุ่มชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่ม ได้แก่ ลีซู ละหู่ อาข่า ม้ง กะเหรี่ยง และเย้า