การซ่อมสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

การซ่อมสงวนรักษาเอกสาร หมายถึง วิธีการที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเอกสาร โดยทำให้สภาพเอกสารกลับคืนสู่สภาพเดิม หรือใกล้เคียงเดิมมากที่สุด ทั้งในเรื่องของความแข็งแรง รูปแบบ และเนื้อของวัสดุ ทั้งนี้ วิธีการที่นำมาใช้จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับเอกสาร และสามารถแก้ไขกลับไปเหมือนก่อนดำเนินการได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความประณีต ช่างสังเกตและมีไหวพริบในการแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่งานที่มีคุณภาพ มีความคงทน แข็งแรง ตลอดไป

ศมส.รับมอบหนังสือและเทปบันทึกเสียงอันมีคุณค่าด้านวรรณกรรมกลุ่มชาติพันธุ์

ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมด้วยผู้จัดการฝ่ายบริการสารสนเทศ และนักวิชาการคลังข้อมูล ได้รับมอบเอกสารและเทปบันทึกเสียง จาก Mr. Vagn Plenge บรรณาธิการและเจ้าของสำนักพิมพ์ Forlaget Hjulet ชาวเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญงานวรรณกรรมในประเทศเขตร้อน ( Warm Countries) อาทิ วรรณกรรมในภูมิภาคแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกา

General Assembly, Rome, Italy, 2022

The 2022 Ordinary and Extraordinary General Assemblies of the International Council on Archives will take place in Rome, Italy, within the framework of the ICA Biennial Conference. The meeting will be held on Wednesday, 21 September 2022 from 17:30 to 19:30 (Rome time) in the Auditorium Platea at the Auditorium Antonianum.

แนะนำหนังสือออกใหม่ Archiving Cultures: Heritage, community and the making of records and memory

Archiving Cultures: Heritage, community and the making of records and memory . แต่งโดยอาจารย์ Jeannette A. Bastian จากมหาวิทยาลัย Simmons College สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องเอกสารจดหมายเหตุประเทศอาณานิคมและการปลดแอกจดหมายเหตุจากประเทศเจ้าอาณานิคม . หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการของ "จดหมายเหตุด้านวัฒนธรรม (cultural archives)" ว่าด้วยแนวคิด เหตุผล และวิธีที่กลุ่มชนต่าง ๆ บันทึกและแสดงออกถึงความทรงจำร่วมของคนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ปรากฏในรูปแบบของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ . เนื้อหาของหนังสือครอบคลุมถึงคำนิยามของมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกด้านจดหมายเหตุ โดยเน้นที่มุมมองจากการศึกษาวิเคราะห์มรดกทางวัฒนธรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประเพณีมุขปาฐะ ศิลปะการแสดง บันทึกความทรงจำ ฯลฯ ว่ามีจุดยืนอย่างไรในสาขาวิชาการจัดการเอกสารและจดหมายเหตุ ในฐานะที่เป็นความทรงจำร่วมกันของชุมชน . หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 6 บท ได้แก่ 1. มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage), มรดกด้านจดหมายเหตุ (Archival Heritage) 2. องค์ประกอบของเอกสารจดหมายเหตุ (The Anatomy of an Archival Record) 3. ประเพณีมุขปาฐะ (Oral Traditions) และบันทึกความทรงจำ (Memory Texts) 4. งานเทศกาลในฐานะจดหมายเหตุ ศิลปะการแสดงในฐานะเอกสาร (Carnival in the Archives: Performance as Record) 5. ความทรงจำ ชุมชน และเอกสาร (Memory, Community and Records) 6. จดหมายเหตุด้านวัฒนธรรม (In the Cultural Archives) . #culturalheritage #archives #culturalarchives #intangibleheritage #oralhistory https://www.routledge.com/.../Bastian/p/book/97