นักมานุษยวิทยาทำงานอย่างไร

หัวใจสำคัญของการศึกษาทางมานุษยวิทยาคือ การทำงานภาคสนาม (Fieldwork) นักมานุษยวิทยามีวิธีวิจัยหลายแบบในการทำงานเพื่อศึกษาสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือวิธีวิจัยที่เรียกว่า การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation)

ศูนย์มรดกชาติพันธุ์ลีซู: คลังข้อมูลชุมชนบ้านดอยล้าน

ศูนย์มรดกชาติพันธุ์ลีซู (Lisu Cultural Heritage Center - LCHC) ตั้งอยู่หลังวัดเกตุการาม วัดสำคัญของเมืองเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นเรือนไม้หลังเล็กอยู่ภายในบริเวณบ้านพักของ ดร.ไมเคิล วิกเคอรี (Michael Vickery) และ ดร.โอโตเม ไกลน์ ฮัทธิซิงค์ (Otome Klein Hutheesing) สามี-ภรรยา นักวิชาการคนสำคัญด้านประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 30 ปี

หอจดหมายเหตุประวัติศาสตร์: แรงบันดาลใจการตกแต่งร้าน H&M

กลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย H&M เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าและของตกแต่งบ้าน Arket ได้รีโนเวทพื้นที่ราว 1,000 ตารางเมตรของทาวน์เฮาส์เก่าแก่กลางกรุงโคเปนเฮเกนที่สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2276 และเคยเป็นสำนักงานใหญ่ของการไปรษณีย์แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์กให้เป็นร้าน Arket สาขาโคเปนเฮเกน ที่ตกแต่งภายในด้วยแผ่นไม้สีเทาทั้งหมด โดยได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศอันมีเสน่ห์ของหอจดหมายเหตุประวัติศาสตร์

ภาพถ่ายจากสนาม: งาน ชีวิต และความทรงจำ ดร.ไมเคิล วิกเคอรี

ข้อความจากจากคุณอะมีมะ แซ่จู (มิมี่) บุตรบุญธรรมของ ดร.ไมเคิล วิกเคอรี ทำให้ผู้เขียนยิ้มในประโยคแรก เมื่อทราบว่าการจัดการภาพถ่ายภาคสนามของ ดร.วิกเคอรี่ ในขั้นแรกสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขณะเดียวกันก็ต้องตกใจกับประโยคที่ตามมา ดร.วิกเคอรี ได้เสียชีวิตลงแล้ว

สำรวจบันทึกภาคสนาม Dr.Michael Vickery และ Dr.Otome Klein Hutheesing

ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปสำรวจภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนามของ ดร.ไมเคิล วิกเคอรี่ และ ดร. โอโตเม่ ไกลน์ ฮัทธิซิงค์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้พูดคุยกับคุณอะมีมะ แซ่จู ผู้จัดการและผู้ก่อตั้งศูนย์มรดกชาติพันธุ์ลีซู และเป็นบุตรสาวของอาจารย์ทั้งสองท่าน คุณอะมีมะเล่าว่า ดร.วิกเคอรี่ และ ดร.ฮัทธิซิงค์ มีภาพถ่ายจำนวนมากจากการลงพื้นที่ทำงานวิจัย ทั้งถ่ายภาพที่เกี่ยวกับพื้นที่ลงไปสำรวจ ผู้คน และภาพกิจกรรมต่าง ๆ

Guidelines for Digital Curation for the Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre’s (SAC) Digital Repository, Thailand.

In the last two decades, the development of information technology has impacted on the work process of academic institutions (e.g. universities, research institutions, museums, and archives). The general publics have preferred to search information on websites instead of visiting those institutions. As a result, the academic institutions have changed their roles from storing documents to digital repositories. They have aimed to be the hub of learning, teaching and researching for global audience (Jain, 2011). They have begun classifying and converting their materials such as documents, photographs, videos, and sound recordings to the digital items.

กระบวนการคืนชีวิตให้ชุดเอกสารจดหมายเหตุ ศ.ชิน อยู่ดี

สำหรับผู้สนใจศึกษาในประเด็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแล้ว ผลงานทางวิชาการของ ศ.ชิน อยู่ดี (2455-2529) ถือเป็นเชิงอรรถสำคัญในการนำไปใช้อ้างอิงเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ เพราะผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ของท่าน ถือเป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ที่สำคัญในการศึกษางานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยยุคแรกเริ่ม อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว ยังมีเอกสารส่วนบุคคลของ ศ.ชิน ที่ไม่เคยได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อนอยู่ด้วย

"ยา" เรื่องเล่าจากบันทึกภาคสนาม

บันทึกภาคสนามของ ศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาชุมชนชาติพันธุ์ไทลื้อที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคของคนในชุมชนไว้มากมาย จากบัตรบันทึกแบบเจาะที่บันทึกช่วงปี พ.ศ. 2502-2503 ได้กล่าวถึงประเด็นของการรักษาโรค เช่น ยา การบำบัดรักษา โรคระบาด หมอพื้นบ้าน ฯลฯ

อเล็กซานเดอร์สตรีทเพรสเปิดตัว “Anthropological Fieldwork Online” ฐานข้อมูลบันทึกภาคสนามทางมานุษยวิทยา

เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์สตรีทเพรส (Alexander Street Press) ผู้เผยแพร่ฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกทางด้านวิชาการ ได้ประกาศเปิดให้บริการดรรชนีฉบับเต็ม ฐานข้อมูลเอกสารชั้นต้น ที่ชื่อ “Anthropological Fieldwork Online” โดยได้ทำการแปลงสภาพเอกสารจากการทำงานภาคสนามไปสู่รูปแบบดิจิทัล และรวบรวมงานจากภาคสนามที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อนของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาคนสำคัญในช่วยต้นศตวรรษที่ 20

สุรินทร์สโมสร Digital Gallery

ห้องภาพเมืองสุรินทร์ ภายใต้คณะทำงานของสุรินทร์สโมสร ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวม “ภาพเก่า” และ “เรื่องเล่า” ของเมืองสุรินทร์ เพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสำหรับการค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้นี้ให้กับผู้คนในท้องถิ่นและผู้คนในวงกว้าง อีกทั้งเป็นการสร้างคุณค่าของ “ภาพเก่า” และ “เรื่องเล่า” อันเป็นรากเหง้าและภูมิหลังของท้องถิ่น ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่น

คลังจดหมายเหตุและมรดกชุมชน

กลุ่มคลังจดหมายเหตุและมรดกชุมชน (The Community Archives and Heritage Group -CAHG) เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายให้การสนับสนุนและส่งเสริมคลังจดหมายเหตุชุมชนที่อยู่ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ คลังจดหมายเหตุชุมชนแห่งนี้ได้พยายามสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเอกสารสำคัญของชุมชน ให้กับบุคคลหรือองค์กร อีกทั้งจัดให้มีเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น

Data curator นักจัดการข้อมูลคือใคร?

ในโลกของข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน ความรวดเร็วและสะดวกสบายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ข้อมูลปรารถนา โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลดิจิทัลที่อยู่รายล้อมผู้ใช้มีจำนวนมหาศาล การที่มีใครสักคนมาคัดสรร รวบรวม หรือช่วยอำนวยให้การค้นหาเป็นไปได้สะดวกย่อมเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้น คลังข้อมูลดิจิทัลที่กำลังผุดขึ้นมากมาย จึงต้องรู้จักวิธีจัดการข้อมูลและจัดการเนื้อหาในรูปแบบที่ดี เหมาะสม และทันสมัย เพื่อให้การค้นคืนข้อมูลและนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่เกิดประสิทธิภาพ

Data Curation. มาจัดการข้อมูลกันเถอะ!

ในการสร้างคลังข้อมูลดิจิทัลนั้น การมีข้อมูลครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้อง เชื่อถือได้นับเป็นเรื่องที่ดี แต่การจัดการข้อมูลที่ดีเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งสองสิ่งนี้ทั้งข้อมูลและการจัดการจึงเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ข้อมูลมากมายมหาศาลจะไม่มีความหมายเลยหากเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย ผู้ใช้เข้าถึงไม่ได้ เมื่อไม่มีการนำไปใช้ ก็เท่ากับข้อมูลนั้นกำลังตายไปอย่างช้าๆ

หนึ่งปีในหมู่บ้านอีสานกับวิลเลียม เจ. คลอสเนอร์

ปี พ.ศ. 2498 ศาสตราจารย์วิลเลียม เจ. คลอสเนอร์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเก็บข้อมูลภาคสนามที่บ้านหนองขอน จ.อุบลราชธานี จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จนถึงวันนี้ ศ.คลอสเนอร์ ได้ใช้ชีวิตในบ้านหลังที่สองแห่งนี้เกินกว่าครึ่งชีวิตแล้ว ศ.คลอสเนอร์ ได้มอบบันทึกประจำวันเมื่อครั้งเก็บข้อมูลในปี 2498-2499 ให้กับศูนย์ฯ เพื่อเก็บรักษาและเผยแพร่ ตลอดหนึ่งปีของการเก็บข้อมูลภาคสนามที่บ้านหนองขอน คลอสเนอร์ได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของหมู่บ้าน จากความเข้าใจและสายตาที่มองผ่านการทำงานและวงจรชีวิตของชาวบ้านลงในบันทึกประจำวันของตนเอง 32 เล่ม

เข้าใจวัฒนธรรมผ่านสิ่งของในชีวิตประจำวันจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี

หากเราอยากทำความเข้าใจวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง เราสามารถมองผ่านอะไรได้บ้าง? เราอาจจะศึกษาจากภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ ประเพณี งานศิลปะ ทัศนคติ พฤติกรรม รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

เสียงจากเจ้าของวัฒนธรรม สะสม – ส่งคืน – ส่วนร่วม - ส่วนตัว – สาธารณะ

นิทรรศการชุดนี้ นำเสนอกระบวนการ “สะสม” ข้อมูลเพื่อสร้างคลังข้อมูลดิจิทัล จากนั้น “ส่งคืน” ข้อมูลกลับไปสู่แหล่งที่มา เพื่อให้ชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมได้ใช้ประโยชน์ กระตุ้นให้เจ้าของวัฒนธรรมมี “ส่วนร่วม” แสดงความคิดเห็นในการเผยแพร่ข้อมูล “ส่วนตัว” และข้อมูล “สาธารณะ” อีกทั้ง นำเสนอเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งของชุมชนไทลื้อ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ที่มีต่อการเผยแพร่ข้อมูลของชุมชนผ่านฐานข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยา

การบันทึกภาคสนามด้วยภาพถ่าย (A Photographic memoir)

การบันทึกภาคสนามนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การบันทึกเสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือการถ่ายภาพนิ่ง ผู้เขียนขอแนะนำหนังสือที่เรียกว่าเป็นการบันทึกภาคสนามด้วยภาพถ่าย ซึ่งเป็นภาพถ่ายในอดีตของประเทศบราซิล ประเทศที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ผ่านมา กว่าจะมาเป็นบราซิลที่เห็นในทุกวันนี้ ภาพในอดีตและพัฒนาการของประเทศนี้เป็นอย่างไร

บันทึกภาคสนาม: ความรู้ ความลับ และความทรงจำ

“บันทึกภาคสนาม” ของนักมานุษยวิทยาเปรียบเสมือนกล่องสมบัติที่เต็มไปด้วยข้อมูลระหว่างการทำงานภาคสนาม บันทึกภาคสนามไม่ได้ทำหน้าที่แค่เพียงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นคลังความรู้ที่สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ของงานวิจัยมานุษยวิทยา กระบวนการทำงานภาคสนาม อีกทั้งเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงการเป็นแหล่งข้อมูลในการค้นคว้าสำหรับชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม

โปสการ์ดอวยพรปีใหม่จากพระยาอนุมานราชธนถึงมอร์แมน พ.ศ. 2506

ในบรรดาเอกสารจดหมายเหตุของ ศ.ไมเคิล มอร์แมน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน จำนวนกว่า 5000 รายการ ที่อยู่ในคลังจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นอกจากเอกสารที่เป็นบันทึกและข้อมูลจากการทำงานภาคสนามเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่บ้านแพด อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ระหว่าง พ.ศ. 2501-25029 ยังมีเอกสารจำนวนหนึ่งที่เป็นเอกสารส่วนบุคคลของมอร์แมน ได้แก่ ภาพถ่ายส่วนตัวและจดหมายติดต่อกับบุคคลต่างๆ

การอนุญาตและข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

"Traditional Knowledge Licenses and Fair-Used Label (TK)" คือ การอนุญาตและข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเข้าใช้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนพื้นเมือง เนื่องจากตระหนักว่าชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมมีระเบียบปฏิบัติในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน สัญลักษณ์ที่กำหนดก็เพื่อแสดงให้ผู้ใช้ทราบว่าเอกสารและข้อมูลแต่ละชิ้นมีการใช้ภายใต้ข้อกำหนดใดบ้างของชุมชน

ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม

ระเบียบปฎิบัติทางวัฒนธรรม (Cultural Protocols) คือ แนวทางในการปฏิบัติของกลุ่มวัฒนธรรม ระเบียบปฏิบัตินี้หมายรวมถึงจารีตประเพณีในอดีตและปัจจุบัน แบบแผนปฏิบัติ ความรู้ดั้งเดิม และกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัตรปฏิบัติทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒนธรรม ระเบียบปฏิบัติเหล่านี้เป็นแนวทางให้ผู้คนปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติตัวในแนวทางที่เหมาะสม

ISAD(G) มาตรฐานในการจัดระบบเอกสารจดหมายเหตุ

จากบล็อคที่แล้วผู้เขียนได้เล่าถึงที่มาที่ไปคร่าวๆ ของการพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาจนออกมาเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน ครั้งนี้จะขอขยายความเบื้องหลังของการเกิดฐานข้อมูลอีกสักนิดว่า หลังจากที่ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาได้เปิดให้บริการมาครบ 5 ปี เราได้ทบทวนการทำงาน ระบบการจัดการข้อมูลต่างๆ ตลอดจนเสียงสะท้อนจากผู้ทำงานและผู้ใช้ พบว่าฐานข้อมูลของเรามีปัญหา 3 ประเด็นใหญ่ๆ