ลูเซียน เมสัน แฮงส์ ( Lucien Mason Hanks) เกิดเมื่อปี 1910 ที่รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ลูเซียนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 1936 และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย ตั้งแต่ปี 1937-1942 ต่อมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และทำงานให้กับวิทยาลัยเบนนิงตัน, the Washington Office of Strategic Services, มูลนิธิเพื่อการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย และศูนย์คอแนลในกรุงเทพฯ ปลายปี 1938 เขาได้สมรสกับ เจน ริชาร์ดสัน (Jane Richardson)
เจน เกิดเมื่อปี 1908 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 1939 ภายหลังต่อมาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกับลูเซียน แฮงส์ และทำงานให้กับวิทยาลัยเบนนิงตันและมหาวิทยาลัยคอแนล ลูเซียน แฮงส์ เสียชีวิตเมื่อปี 1989 ส่วนเจน แฮงส์ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่
งานของลูเซียนและเจน แฮงส์ มีอิทธิพลต่อการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยของลูเซียน แฮงส์ เรื่อง “Merit and Power in the Thai Social Order” ปี 1962 (บุญและอำนาจในลำดับชั้นทางสังคมของไทย) เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผลสะท้อนของความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดด้านจักรวาลวิทยาและระดับชั้นทางสังคมของสังคมชาวพุทธนิกายเถรวาท ยิ่งไปกว่านั้นลูเซียนได้พัฒนาและแสดงให้เห็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของผู้อุปถัมภ์และผู้ตาม บนแนวคิดที่เรียกว่า “Entourage” ส่วนงานของเจน แฮงส์ “Maternity and Its Rituals in Bang Chan” ปี 1963 ยังเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาบทบาทของผู้หญิงและเพศในสังคมชาวพุทธนิกายเถรวาท ทั้งสองคนเป็นผู้บุกเบิกกระบวนการและเริ่มต้นทำการศึกษาบางชัน ปี1948. หมู่บ้านแรกของประเทศไทยที่มีนักวิจัยชาวต่างชาติลงไปศึกษาอย่างจริงจัง รวมถึงเข้าไปศึกษาความสัมพันธ์ของคนพื้นที่ราบและพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ปี 1963
ทั้งสองยังได้สร้างคุณูปการณ์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ นิเวศวิทยาทางวัฒนธรรม และการกลายไปสู่สังคมเมือง งานของแฮงส์ทำให้นักวิจัยรุ่นต่อมาได้เข้าใจสังคมและวัฒนธรรมไทย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้อีกด้วย
*ข้อมูลจาก เวบไซต์พิพิธภัณฑ์เกลนโบว์ (http://www.glenbow.org/collections/search/findingAids/archhtm/hanks.cfm)
เอกสารของแฮงส์ประกอบด้วย เอกสาร บทความ รายงาน 101 ระเบียน จดหมาย 4 ระเบียน หนังสือ 13 ระเบียน และภาพถ่าย 1 ระเบียน ซึ่งบันทึกโดยลูเซียนและเจน แฮงส์ ระหว่างการทำงานภาคสนามทางชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทยจาก 2 พื้นที่ ได้แก่ การศึกษาชุมชนบางชัน กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2491และการศึกษากลุ่มชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2506