ชาร์ลส์ คายส์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มานุษยวิทยาและสากลศึกษา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และอดีตประธานสมาคมเพื่อเอเชียศึกษา คายส์เริ่มงานวิจัยในประเทศไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ประเด็นการวิจัยเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและความทันสมัย ชาติพันธุ์สัมพันธ์และวัฒนธรรมชาติ และวัฒนธรรมกับ “การพัฒนา” ท่านทำหน้าที่อาจารย์ให้กับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ต่อมาเป็นประธานภาควิชามานุษยวิทยา (1985-1990 และ 2007) และหัวหน้าศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (1986-1997) นอกจากนี้ รับตำแหน่งศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ในเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
ศาสตราจารย์คายส์ เขียนและเป็นบรรณาธิการหรือบรรณาธิการร่วม หนังสืออีกกว่า 14 เล่ม งานชาติพันธุ์วรรณนาหรือวารสารฉบับพิเศษและตีพิมพ์บทความอีกกว่า 80 เรื่อง อาทิ
- Isan: Regionalism in Northeastern Thailand (1967, in Thai translation, 2009, On the Margins of Asia: Diversity in Asian States (ed., 2006) [แนวคิดท้องถิ่นภาคอีสานนิยมในประเทศไทย / ชาร์ลส์ เอฟ คายส์ ; รัตนา โตสกุล, แปล. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง].
- Cultural Crisis and Social Memory: Modernity and Identity in Thailand and Laos (edited with Shigeharu Tanabe, 2002) [วิกฤตวัฒนธรรมและความทรงจำทางสังคม: ความทันสมัยและอัตลักษณ์ในประเทศไทยและประเทศลาว].
- The Golden Peninsula: Culture and Adaptation in Mainland Southeast Asia (reprinted, 1995) [สุวรรณภูมิ: วัฒนธรรมและการปรับตัวในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้].
- Asian Visions of Authority: Religion and the Modern States of East and Southeast Asia (edited with Laurel Kendall and Helen Hardacre, 1994) [วิสัยทัศน์อำนาจเอเชีย: ศาสนาและรัฐสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้].
- “Northeastern Thai Ethnoregionalism Updated,” in Anthropological Traces: Thailand and the Work of Andrew Turton., ed. by Nicholas Tapp (in preparation) [อีสานนิยม – ข้อมูลใหม่ ใน ร่องรอยมานุษยวิทยา: ประเทศไทยและงานของแอนดรู เทอร์ตัน].
- “Buddhism, Human Rights, and Non-Buddhist Minorities,” in Religion and the Global Politics of Human Rights ed. by Tom Banchoff and Robert Wuthnow (in press) [พุทธศาสนา, สิทธิมนุษยชน, และชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ใน ศาสนาและการเมืองโลกาภิวัตน์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน].
- “Ethnicity and the Nation-States of Thailand and Vietnam,” in Integration, Marginalization and Resistance: Ethnic Minorities of the Greater Mekong Subregion, edited by Prasit Leepreecha, Kwanchewan Buadaeng and Don McCaskill (2008) [ชาติพันธุ์สัมพันธ์และรัฐชาติของประเทศไทยและประเทศเวียดนาม” ใน บูรณาการ การกีดกัน และการต่อต้าน: ชนกลุ่มน้อยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง].
- “Monks, Guns and Peace: Theravada Buddhism and Political Violence,” in Belief and Bloodshed, edited by James Wellman (2007) [พระ ปืน และสันติภาพ: พุทธเถรวาทและความรุนแรงทางการเมือง ใน ความเชื่อและการนองเลือด].
- “‘The Peoples of Asia’: Science and Politics in Ethnic Classification in Thailand, China and Vietnam,” Journal of Asian Studies (2002) [ผู้คนในเอเชีย: วิชาการและการเมืองการจัดบางชาติพันธุ์ในประเทศไทย ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม].
เมื่อ ค.ศ. 2003 ศาสตราจารย์คายส์ ได้รับรางวัล Graduate Mentoring award จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสำหรับการเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์นักศึกษาในระดับปริญญาเอก จำนวน 41 คน และนักศึกษาปริญญาโท จำนวน 20 คน (นักศึกษาจำนวนหนึ่งในสามมาจากประเทศไทยและประเทศเวียดนาม) ท่านยังได้รับทุนและเกียรติประวัติ รวมทั้งปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 2004 และการได้รับเลือกเป็นองค์ปาฐกในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาถึง 3 ครั้ง (ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เมื่อ ค.ศ. 1999, ที่จังหวัดนครพนม ประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 2003, และที่กรุงเทพ เมื่อ ค.ศ. 2008) และผู้บรรยายดีเด่นทางมานุษยวิทยา รางวัลเดวิด สคอมป์ (David Skomp distinguished lecturer) ของมหาวิทยาลัยอินเดียนา (ค.ศ. 2001).
ภาพถ่ายจำนวน 1903 ระเบียน เป็นภาพจากทำงานภาคสนามของ ศ.ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2511 ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เอกสารชุดนี้ได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้โครงการ Digital Archive Research on Thailand ระหว่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ฐานข้อมูลให้บริการข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวเอกสาร หากต้องการดูภาพเอกสารต้นฉบับในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ และข้อมูลโดยละเอียด สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://digital.lib.washington.edu/researchworks/