โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2566 13:25:23 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดพระฝางสวางคบุรี |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อถ. 4 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช - |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวนสีเขียว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 84 ซม. สูง 25.5 ซม. หนา 1.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "อถ. 4" |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ |
ผู้พบ |
กรุงเทพมหานคร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 60 - 61. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า "หลักที่ 162 ศิลาจารึกวัดพระฝางสวางคบุรี" ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ บ้านพระฝาง หมู่ที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของ "เจ้าฝาง" ซึ่งเป็นภิกษุที่ตั้งตนเป็นเจ้า โดยมีการซ่องสุมผู้คนเพื่อกอบกู้เอกราชเมื่อคราวเสียกรุง ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการบรรจุพระธาตุและบูรณะปฏิสังขรณ์วัด |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกนี้ไม่ปรากฏศักราชในการสร้าง แต่เมื่อพิจารณาจากรูปแบบอักษรและอักขรวิธี ซึ่งใน ประชุมศิลาจารึก ระบุว่าเป็นอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบกับราชทินนามที่ปรากฏในจารึกแล้ว สันนิษฐานได้ว่า อาจถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจาก "พระครูสวางคบุรี" ที่ปรากฏในจารึก น่าจะเป็นบุคคลเดียวกับพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระครูชั้นพิเศษ นอกจากนี้ ตามประวัติแล้ว วัดพระฝางสวางคบุรียังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยดังกล่าวอีกด้วย |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก: |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517) |