จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 18 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2393, อายุ-จารึก พ.ศ. 2393-2411, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อนสีขาว, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พระตำหนักปั้นหย่า, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 1

จารึก

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 19:42:49 )

ชื่อจารึก

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 168 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2393-2411

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 49 ซม. สูง 32 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 168 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 68-69.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 168 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า” ปัจจุบันอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ข้อความที่ปรากฏบนจารึกหลักนี้มีความสัมพันธ์กับจารึกที่พระตำหนักปั้นหย่าอีก 2 หลักซึ่งอยู่บริเวณด้านซ้ายและขวาของตำหนักโดยมีเนื้อหาเดียวกัน แต่หลักที่ 1 นี้ให้รายละเอียดต่างๆมากกว่า (ดูเพิ่มเติมใน “จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 2 และ 3”)

เนื้อหาโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศห้ามผู้หญิงขึ้นไปบนพระตำหนักปั้นหย่าอย่างเด็ดขาด ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือคนชรา อีกทั้งสัตว์ตัวเมียก็ห้ามนำมาเลี้ยงในบริเวณดังกล่าว เพื่อรักษาให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับปฏิบัติธรรมดังเช่นที่เคยเป็นมาตั้งแต่ตำหนักนี้สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2379 ในสมัยรัชกาลที่ 3

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) แห่งราชวงศ์จักรี

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกซึ่งทำให้ทราบว่าผู้สร้างจารึกนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) (ครองราชย์ พ.ศ. 2393-2411) ดังนั้นจารึกนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร,โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548,จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 168 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 68-69.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558