จารึกช่องสระแจง

จารึก

จารึกช่องสระแจง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 11:27:08 )

ชื่อจารึก

จารึกช่องสระแจง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกบ้านช่องสระแจง, จารึกอักษรใต้ ภาษาสันสกฤต, Khau Sra Chèng (K. 969), ปจ. 5, K. 969

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

คล้ายใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 56 ซม. สูง 92 ซม. หนา 20 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 5”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VII กำหนดเป็น “Khau Sra Chèng (K. 969)”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2511) กำหนดเป็น “คำอ่านจารึกอักษรใต้ ภาษาสันสกฤต”
4) ในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม 2527) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกบ้านช่องสระแจง”
5) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกช่องสระแจง”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2503

สถานที่พบ

ปราสาทเขาช่องสระแจง บ้านตาพระยา ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา (เดิมคือ บ้านช่องสระแจง ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี) จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

นายเสรี แน่นหนา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (บันทึกข้อมูลวันที่ 7/11/63)

พิมพ์เผยแพร่

1) The Journal of the Siam Society vol. XLIX part 2 (November 1961), 109-111.
2) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 152.
3) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2511) : 99-100.
4) วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม 2527) : 64-67.
5) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 40-43.
6) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 92-94.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ เดิมเรียกว่า “จารึกมเหนทรวรมัน” ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน The Journal of the Siam Society เมื่อปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) โดยบทความชื่อว่า “Bangkok Museum Stone Inscription of Mahendravarman” โดย B. Ch. Chhabra ซึ่งได้เล่าว่า เมื่อครั้งที่ได้เดินทางมาเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นผู้นำชมนั้น นาย Chhabra ได้เกิดความประทับใจในจารึกหลักหนึ่งที่จารด้วยภาษาสันสกฤตที่สวยงามจำนวน 4 บรรทัด จึงได้ลงมืออ่านและแปล ต่อมาก็ได้มีการสอบถามเกี่ยวกับที่มาของจารึกหลักนี้ ก็ได้ความว่า จารึกนี้เดิมพบอยู่ที่บริเวณปราสาทเขาช่องสระแจง ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันเป็น จังหวัดสระแก้ว) โดยนายเสรี แน่นหนา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งต่อมาจึงได้มีการเคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑถานแห่งชาติ พระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ท่านศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ติดต่อกับนาย อเล็กซานเดอร์ บี กริสวอลด์ จึงทราบเรื่องว่ามีจารึกที่ถูกนำมาจากตาพระยา ท่านจึงได้ศึกษาและนำมาตีพิมพ์รวบรวมไว้ในหนังสือ Inscription du Cambodge vol. VII โดยให้ชื่อเรื่องว่า “Dalle de Khau Sra Chèng (K. 969)” ต่อมาจึงได้มีการศึกษาอีกครั้งและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาไทยครั้งแรกในวารสารศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยให้ชื่อเรื่องว่า “คำอ่านศิลาจารึกอักษรอินเดียใต้ภาษาสันสกฤต” ต่อมาได้มีการพิมพ์ครั้งที่ 2 ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 กรกฏาคม 2527 ให้ชื่อเรื่องว่า “อันเนื่องมาจากศิลาจารึกบ้านช่องสระแจง”

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกหลักนี้ เป็นจารึกที่บันทึกเรื่องราวของการขุดบ่อน้ำ ซึ่งในจารึกเรียกว่า “ศังกร ตฏาก” โดยพระเจ้า มเหนทรวรมัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีหลักฐานว่า พระเจ้ามเหนทรวรมันพระองค์นี้ คือกษัตริย์พระองค์เดียวกับพระเจ้ามเหนทรวรมันของอาณาจักรกัมพูชาหรือไม่

ผู้สร้าง

พระเจ้ามเหนทรวรมัน

การกำหนดอายุ

นาย Chhabra ให้ข้อสังเกตว่า ลักษณะของตัวอักษรเป็นแบบปัลลวะ-คฤนถ์ ของอินเดียใต้ ซึ่งกำหนดอายุได้ราว คริสตศตวรรษที่ 7 หรือ ราวพุทธศตวรรษที่ 12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) B. Ch. Chhabra, “Bangkok Museum Stone Inscription of Mahendravarman,” The Journal of the Siam Society XLIX, 2 (November 1961) : 109-111.
2) George Cœdès, “Dalle de Khau Sra Chèng (K. 969),” in Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 152.
3) ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร, “อันเนื่องมาจากศิลาจารึกบ้านช่องสระแจง,” ศิลปวัฒนธรรม 5, 9 (กรกฎาคม 2527) : 64-67.
4) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “คำอ่านจารึกอักษรใต้ ภาษาสันสกฤต,” ศิลปากร 12, 1 (พฤษภาคม 2511) : 99-100.
5) ประสาร บุญประคอง, แสง มนวิทูร และชูศักดิ์ ทิพย์เกษร, “จารึกช่องสระแจง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 40-43.
6) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “จารึกช่องสระแจง,” ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 92-94.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-02, ไฟล์; PJ_002)
2) ภาพจำลองอักษร : พงศธร บัวคำปัน
3) ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 30.
4) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565