โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 13:24:43 )
ชื่อจารึก |
จารึกมงคลบนรอยพระพุทธบาท |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
กท. 57 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 20 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
เงิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 26 ซม. ยาว 40 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กท. 57” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 120-130. |
ประวัติ |
จารึกมงคลบนรอยพระพุทธบาทนี้ เป็นจารึกแผ่นเงิน เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ สำรวจและคัดจำลองอักษร เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2526 เนื่องจากจารึกแผ่นนี้เส้นอักษรบางมาก การอ่านและจำลองเส้นอักษรจึงทำได้ยากอย่างยิ่ง อีกทั้งเวลาการทำงานมีจำกัด ส่วนผิดพลาดในเรื่องของรูปสัณฐานแห่งเส้นอักษรจึงต้องมีอยู่อย่างแน่นอน แต่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการรวบรวมจารึกเพื่อจัดพิมพ์ในครั้งนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจารึกแผ่นนี้ในภาพถ่ายมองไม่เห็นเส้นอักษร จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคัดจำลองเส้นอักษรจากจารึก โดยพยายามคัดจำลองเส้นอักษรในเหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงเรื่องมงคล 108 ที่ปรากฏบนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จากลักษณะเส้นอักษรที่ปรากฏในจารึกทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า จารึกแผ่นนี้น่าจะจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้สังเกตได้จากลักษณะเส้นอักษรส่วนใหญ่จะเหมือนกับเส้นอักษรในจารึก ชน. 13 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529) |