โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:51:13 )
ชื่อจารึก |
จารึกปราสาทหินพนมวัน 4 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Inscriptions de Nom Văn (K. 391), จารึกปราสาทหินพนมวัน 4, K. 391, นม. 5 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1625 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
หลืบประตูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 46 ซม. สูง 180 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 5” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2444 |
สถานที่พบ |
หลืบประตูชั้นในด้านทิศใต้ ฟากตะวันตก ติดอยู่กับตัวปราสาทชั้นใน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีม |
ผู้พบ |
พระรังสรรค์สารกิจ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ประตูด้านใต้ ปราสาทหินพนมวัน บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 20/1/2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 298. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้มีข้อความสืบเนื่องจากจารึก นม. 1 แต่เส้นอักษรลบเลือนมาก อ่านจับใจความได้เพียงเล็กน้อย เมื่อหันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาท จารึก นม. 1 จะอยู่ฟากซ้ายมือของหลืบประตูและจารึก นม. 5 จะอยู่ฟากขวามือของหลืบประตูเดียวกัน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงจำนวนสิ่งของและสัตว์ที่ถวาย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพิจารณาจากรูปอักษรที่มีรูปแบบเดียวกับจารึกปราสาทหินพนมวัน 3 คือ “ภ” “ว” และ “ศ” มีศกขนาดใหญ่ 1 ศก อยู่ด้านบนตัวอักษร และในส่วนของอักขรวิธี เมื่อมีการประสมรูปพยัญชนะกับรูปสระบนได้แก่รูปสระอิ จะมีการตัดศกออกแล้วเพิ่มสระลงไปแทนที่ศก เช่น “ปิ” (บรรทัดที่ 2) นอกจากนั้นข้อความในจารึกยังสืบเนื่องจากจารึกปราสาทหินพนมวัน 3 อีกด้วย ดังนั้นจารึกทั้งสองหลักนี้จึงน่าจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 17 เหมือนกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-06, ไฟล์; NM_039) |