จารึกบ้านพุทรา

จารึก

จารึกบ้านพุทรา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 21:37:22 )

ชื่อจารึก

จารึกบ้านพุทรา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stèle de Ban Phŭtsa (K. 396), หลักที่ 123 จารึกที่บ้านพุทรา จังหวัดนครราชสีมา, นม. 9

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 15

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 9”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VI กำหนดเป็น “Stèle de Ban Phŭtsa (K. 396)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 123 จารึกที่บ้านพุทรา จังหวัดนครราชสีมา”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกบ้านพุทรา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บ้านพุดซา (ข้อมูลเดิมเขียนเป็น บ้านพุทรา) ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดปรางค์ บ้านพุดซา ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (สำรวจเมื่อ 21 มกราคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 99.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 253.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 82-83.

ประวัติ

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงจารึกนี้ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge ว่า พบที่วัดตะวันตกในหมู่บ้านพุทรา ราว 10 กิโลเมตร ทางทิศเหนือของเมืองนครราชสีมา เป็นแผ่นหินหรือใบเสมาซึ่งข้างบนนั้นมีจารึกภาษาสันสกฤตสั้นๆ จารึกนี้ดูจะเป็นการฝึกหัดของนักจารึกยิ่งกว่าเป็นข้อความอนุสรณ์อย่างแท้จริง ตัวอักษรที่ใช้จะอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-16

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึง พระรุทรโลก อันเป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 2 ได้ระบุพระนาม “รุทรโลเก” อันเป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้ายโศวรมัน และครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1455-1465 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะถูกสร้างขึ้นภายหลังช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Goerge Cœdès, “Stèle de Ban Phŭtsa (K. 396),” in Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 99.
2) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 123 จารึกที่บ้านพุทรา จังหวัดนครราชสีมา,” แปลโดย ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และฉ่ำ ทองคำวรรณ จาก Stèle de Ban Phutsa (K. 396), ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 253.
3) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกบ้านพุทรา,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 82-83.

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)