จารึกปราสาทตาเมือนธม 1

จารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 10:27:58 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกปราสาทตาเมือนธม 1 (เลขที่ สร. 13), จารึกปราสาทตาเมือนธม 1, สร. 13

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

หินบนพื้นภูเขาบริเวณตัวปราสาท

ขนาดวัตถุ

กว้าง 170 ซม. ยาว 357 ซม. แต่กรมศิลปากรระบุขนาด กว้าง 90 ซม. สูง 20 ซม. (2559ก: 282)

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สร. 13”
2) ในหนังสือ ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์ กำหนดเป็น “จารึกปราสาทตาเมือนธม 1 (เลขที่ สร. 13)”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทตาเมือนธม 1 สร. 13”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จารึกบนพื้นภูเขาอยู่กลางลานค่อนมาทางทิศตะวันออก ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอกาบเชิง) จังหวัดสุรินทร์

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 6

ปัจจุบันอยู่ที่

ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ (จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559) แต่จากการสำรวจเมื่อ 17 มกราคม 2563 ไม่พบจารึกดังกล่าว

พิมพ์เผยแพร่

1) ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538), 145.
2) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2542) : 71-72.
3) นิตยสาร ศิลปากร ปีที่ 51 ฉบับที่ 5 (กันยายน 2551) : 72-81.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 282-284.

ประวัติ

ชะเอม แก้วคล้าย (2542ข: 70-71) ไม่ได้ระบุว่าจารึกหลักนี้พบในบริเวณจุดใดของปราสาทตาเมือนธม แต่ กรมศิลปากร (2538: 145) ระบุว่าพบบริเวณลานทิศตะวันตก ส่วน อนงค์ หนูแป้น (2535: 9) ระบุว่า อยู่ที่ลานทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่า ข้อมูลจากเอกสารทั้งสามนี้ ระบุตำแหน่งของจารึกไว้ไม่ตรงกัน
กรมศิลปากร (2559ก: 282) ระบุว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรได้ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณปราสาทตาเมือนธมให้ดูงามพื้นปราสาทราบเรียบแผ่นหินพื้นภูเขาส่วนที่มีอักษรจารึกจึงถูกปูทับด้วยดินและหญ้าไปด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกชำรุดขาดหายไป จับความได้เพียงว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย แต่อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า บรรทัดแรกเป็นการแนะนำว่า พึงให้ผู้ใดผู้หนึ่งทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทพ ด้วยความภักดีในพระศิวะ บรรทัดที่ 2 เป็นการแนะนำชนทั่วไป โดยใช้สรรพนามว่า ท่านทั้งหลายพึงถึงพระศิวะ โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทพเจ้า . . . ตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรหลังปัลลวะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 (2559ก: 282) เดิมระบุว่าเป็นอักษรปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 แต่เมื่อมีการตรวจสอบใหม่จึงระบุว่าเป็นอักษรหลังปัลลวะ

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., 2547, ปรับปรุงข้อมูล 28 ตุลาคม 2558, จาก :
1) จตุพร ศิริสัมพันธ์, “จารึกที่พบในจังหวัดสุรินทร์,” ใน ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 3 จังหวัดสุรินทร์ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538), 145.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทตาเมือนธม,” ศิลปากร 42, 2 (มีนาคม-เมษายน 2542), 70-92.
3) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, "อารยธรรมที่ปราสาทตาเมือนธมจากหลักฐานจารึก," ศิลปากร 51, 5 (กันยายน 2551), 72-81.
4) สมบัติ มั่งมีสุขศิริ และกังวล คัชชิมา, "จารึกปราสาทตาเมือนธม 1," จารึกในประเทศไทย เล่ม 1, (พิมพ์ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2559, 282-284.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-13, ไฟล์; SR_001)