จารึกใบเสมาบ้านพันนา

จารึก

จารึกใบเสมาบ้านพันนา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2550 11:49:33 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:57:53 )

ชื่อจารึก

จารึกใบเสมาบ้านพันนา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สน. 10, M.51, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 2/2552, จารึกบ้านพันนา

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14-15

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา หรือทรงกลีบบัว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 75 ซม. หนา 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สน. 10”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2550) กำหนดเป็น “จารึกใบเสมาบ้านพันนา”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2538

สถานที่พบ

บริเวณบ้านเลขที่ 28 หมู่ 1 บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ผู้พบ

นายหนาย กินเตียม

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 6 กุมภาพันธ์ 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2550) : 52-57.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 139-140.

ประวัติ

นายหนาย กินเตียม ราษฎรบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้ขุดพบจารึกใบเสมาบ้านพันนานี้ เมื่อ พ.ศ. 2538 ในที่ดินบริเวณหลังบ้าน ลึกลงไปจากผิวดินประมาณ 60 เซนติเมตร ขณะปลูกสร้างห้องส้วม ต่อมา เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น ได้ออกปฏิบัติการสำรวจแหล่งโบราณคดี และโบราณสถาน ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้ทราบเรื่องการพบแผ่นศิลาจารึกดังกล่าวข้างต้น คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการฯ จึงได้ขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่อำเภอสว่างแดนดิน ให้ช่วยเจรจากับเจ้าของและราษฎรในพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของโบราณวัตถุอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีที่ทางเจ้าหน้าที่ของอำเภอสว่างแดนดิน และราษฎรบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของศิลาจารึกใบเสมาบ้านพันนา ยินดีมอบให้ราชการ ซึ่งได้นำไปมอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อำเภอบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะทำงานโครงการสำรวจจารึกในประเทศไทย สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้เดินทางไปสำรวจจัดทำสำเนาจารึกที่พบใหม่นี้ และได้ลงทะเบียนเป็นจารึกใบเสมาบ้านพันนา ทะเบียนประจำวัตถุ สน. 10

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกระบุถึงผู้อยู่ในตระกูลมิปสุรยะว่าได้ร่วมกันสร้างดาลประตูหน้าต่างวิหาร (วัด) นี้

ผู้สร้าง

คนในตระกูลมิปสุรยะ

การกำหนดอายุ

อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะรูปอักษร ภาษา และข้อความที่ปรากฏในจารึกโดยละเอียดแล้ว สรุปได้ว่า เป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกใบเสมาบ้านพันนา,” ศิลปากร 50, 2 (มีนาคม-เมษายน 2550) : 52-57.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2550)