โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2566 19:50:14 )
ชื่อจารึก |
จารึกอุทิศสิ่งของ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 295 จารึกอุทิศสิ่งของ, พร. 3 จารึกอุทิศสิ่งของ พุทธศตวรรษที่ 21-23, พร. 3 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 19 (ตอนปลาย) |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวนสีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นชิ้นส่วนที่ชำรุดแตกหัก |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 17 ซม. สูง 16.5 ซม. หนา 7 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พร. 3” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 249. |
ประวัติ |
จารึกหลักที่ 295 (จารึกอุทิศสิ่งของ) และจารึกหลักที่ 296 (จารึกพระปิฏก) นั้นใช้ตัวอักษรที่คล้ายคลึงกันมาก กับตัวอักษรในศิลาจารึกจากแพร่อีกหลักหนึ่ง คือ หลักที่ 107 (จารึกวัดบางสนุก) ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลักที่ 107 (จารึกวัดบางสนุก) ใช้ตัวอักษรใกล้เคียงกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มากยิ่งกว่าจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ เมื่อได้พิจารณาแล้ว เห็นได้ว่า จารึกอุทิศสิ่งของ และจารึกพระปิฎก เป็นจารึกสมัยเดียวกับ จารึกวัดบางสนุก อายุราว 1882 และเป็นหลักฐานประกอบว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ใช้ตัวอักษรรูปเดิม ซึ่งวิวัฒนาการกลายมาเป็นรูปอักษรสมัยพระเจ้าลิไทย ตัวอักษรรูปเดิมนี้หลายตัวยังปรากฏอยู่ในจารึกจากจังหวัดแพร่ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความจารึกไม่ชัดเจน เนื่องจากศิลาจารึกหลักนี้ เป็นชิ้นส่วนของแผ่นจารึกที่แตกชำรุด แต่ข้อความที่ยังคงเหลืออยู่น่าจะเป็นเรื่องการอุทิศสิ่งของ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
พยัญชนะและอักขรวิธีที่ใช้ในศิลาจารึกหลักนี้ ลักษณะยังปรากฏอิทธิพลของพยัญชนะ และอักขรวิธีที่ใช้ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง อาทิ ใช้พยัญชนะตัว ข, ง, ด, น, พ, ฟ, ย และ ห ส่วนของอักขรวิธี “อัน” ใช้เป็น “อนน” ระยะกาลจารึก ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-30, ไฟล์; พร.1.สำเนา2) |