จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 2

จารึก

จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2550 13:54:13 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 03:25:31 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อด. 2

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2169

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 13 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 46 ซม. สูง 110 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อด. 2”
2) ในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 (มิถุนายน 2528) กำหนดเป็น “จารึกวัดสุวรรณคูหา หลักที่ 2”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 2”
4) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 3”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527

สถานที่พบ

วัดถ้ำสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู (แยกตัวมาจากจังหวัดอุดรธานี)

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดถ้ำสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู (แยกตัวมาจากจังหวัดอุดรธานี)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 (มิถุนายน 2528) : 114-127.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 239-242.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 308-309.

ประวัติ

จารึกวัดสุวรรณคูหานี้ มี 2 หลัก ตั้งอยู่บนซีเมนต์ภายในถ้ำ เจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี เป็นผู้พบเมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่นทราบเรื่อง จึงติดต่อให้กองหอสมุดแห่งชาติ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำสำเนาจารึกทั้งสองหลักนั้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เพื่อนำสำเนาจารึกมาเก็บรักษาไว้ ที่หอพระสมุดวชิรญาณ ในกองหอสมุดแห่งชาติ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงนามของพระยาสุรเทพเจ้า ว่าได้สร้างไว้เมื่อปี จ.ศ. 988 และได้กล่าวถึงการอุทิศเลกวัด ถึง 5 ครัว ในจำนวนนี้มีขุนนางผู้ใหญ่ถึง 2 ครัว คือ แสนนันทสงคราม และ เทพอาสา ในตอนท้ายได้กล่าวคำสาปแช่งไว้ด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 988 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2169 อันเป็นสมัยที่พระบัณฑิตโพธิสารปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2165-2170)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “ประวัติศาสตร์ สังคมและการเมืองอีสาน จากจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา อุดรธานี,” ศิลปวัฒนธรรม 6, 8 (มิถุนายน 2528) : 114-127.
2) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกถ้ำสุวรรณคูหา 3,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 308-309.
3) บุญนาค สะแกนอก, “จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 239-242.
4) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 114.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)