จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกถ้ำอาจารย์พา (ถ้ำผาเก)

จารึก

จารึกถ้ำอาจารย์พา (ถ้ำผาเก)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 10:17:07 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 14:58:35 )

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำอาจารย์พา (ถ้ำผาเก)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สน. 3, จารึกถ้ำอาจารย์พา ภูอ่างกุ้ง ตำบลเหล่าโพ้นค้อ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (สน. 3)

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2443

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 94 ซม. สูง 105 ซม. หนา 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สน. 3”
2) ในวิทยานิพนธ์ อักษรธรรมอีสาน (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525) กำหนดเป็น “จารึกถ้ำอาจารย์พา ภูอ่างกุ้ง ตำบลเหล่าโพ้นค้อ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (สน. 3)”
3) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกถ้ำอาจารย์พา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

เพิงผาถ้ำผาเกบนภูยางอึ่ง (ภูอ่างกุ้ง) บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

เพิงผาถ้ำผาเกบนภูยางอึ่ง (ภูอ่างกุ้ง) บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

พิมพ์เผยแพร่

1) อักษรธรรมอีสาน (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525), 218-219.
2) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 431-433.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ ได้เคยมีการอ่านและพิมพ์เผยแพร่ใน เพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์, วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525 จากการสำรวจเมื่อต้นปี พ.ศ. 2529 ไม่สามารถที่จะขึ้นไปถึงบริเวณถ้ำได้ แต่จากการสอบถามชาวบ้านได้ความว่า จารึกยังคงปักอยู่อยู่ที่ปากถ้ำและยังคงสภาพเดิม อยู่ ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้อ่านจากภาพถ่ายสำเนาจารึกของงานหนังสือและเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้อ่านแตกต่างไปจากการอ่านครั้งแรกบ้างบางส่วน

เนื้อหาโดยสังเขป

อาจารย์พา พร้อมด้วยพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาได้มีศรัทธาสร้างพระพุทธรูปนอนด้วยหินไว้ ณ ที่นี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 7 ระบุ จ.ศ. 1262 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2443 อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2411-2463)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกถ้ำอาจารย์พา,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 431-433.
2) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 361-410.
3) เพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์, “อักษรธรรมอีสาน,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2525 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525), 218-219.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)