อายุ-จารึก พ.ศ. 2403, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดเหนือ มหาสารคาม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองท่าขอนยาง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองท่าขอนยาง-พระสุวรรณภักดี, บุคคล-พระสุวรรณภักดี, บุคคล-หัวครูหลักคำ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดเหนือ (วัดมหาผล) |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมอีสาน |
ศักราช |
พุทธศักราช ๒๔๐๓ |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๑ บรรทัด บรรทัดที่ ๑๐-๑๑ อักษรหายไป (หินกระเทาะ) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๓๗ ซม. สูง ๔๘ ซม. หนา ๗.๕ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดเหนือ (วัดมหาผล)” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดเหนือ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดเหนือ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (สำรวจเมื่อ ๒๔-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙) |
พิมพ์เผยแพร่ |
ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๒๔-๔๒๕. |
ประวัติ |
เดิมปักอยู่ที่ประตูด้านหลังของอุโบสถเก่า ในราว พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕ สร้างอุโบสถใหม่ได้นำมาไว้ที่กุฏิของเจ้าอาวาส ปัจจุบันจารึกหลักดังกล่าวถูกนำมาตั้งไว้ด้านขวาของพระอุโบสถหลังใหม่ และมีใบเสมาขนาดเล็กปักไว้ด้านหน้า ทำให้อ่านข้อความจารึกได้เพียง บรรทัดที่ ๑ -๗ เท่านั้น |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง และบรรยาท้าวพระยาพร้อมด้วยหัวครูหลักคำได้สร้างวัดเหนือ |
ผู้สร้าง |
พระสุวรรณภักดี, หัวครูหลักคำ |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ จ.ศ. ๑๒๒๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก : |